Wisesight สรุปภาพรวมการใช้งานโซเชียลมีเดียเชิงธุรกิจปี 2022 นักการตลาดและเจ้าของธุรกิจควรรู้ | Techsauce

Wisesight สรุปภาพรวมการใช้งานโซเชียลมีเดียเชิงธุรกิจปี 2022 นักการตลาดและเจ้าของธุรกิจควรรู้

บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้จัดทำรายงานภาพรวมข้อมูลและสถิติการใช้งาน แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียในภาคธุรกิจกว่า 2,000 แบรนด์ชั้นนำ จาก 20 กลุ่มอุตสาหกรรม โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่  1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2565 โดยนำเสนอผ่าน 2 มุมมอง ได้แก่ ภาพรวมของการใช้งานโซเชียลมีเดีย 4 แพลตฟอร์ม (Facebook, Twitter, Instagram, และ YouTube) เช่น การเคลื่อนไหวระหว่างปี, อุตสาหกรรมที่ได้รับเอ็นเกจเมนต์สูง และบทวิเคราะห์เจาะลึกการใช้งานของอุตสาหกรรมที่โดดเด่นในแต่ละแพลตฟอร์ม โดยรายงานนี้จะเป็นประโยชน์แก่นักการตลาดหรือเจ้าของธุรกิจ ให้นำไปต่อยอดเพื่อวางกลยุทธ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อไป

โดย ไวซ์ไซท์ ขอสรุป 10 ข้อมูลและสถิติการใช้งานโซเชียลมีเดียของภาคธุรกิจในปี 2565 ดังนี้

  1. ในปี 2565 มีเอ็นเกจเมนต์จากบัญชีทางการ (Official Account) ของแบรนด์ทั้งสิ้น 389 ล้านครั้ง จาก 3.1 ล้านโพสต์ โดย 3 กลุ่มธุรกิจที่ได้รับเอ็นเกจเมนต์ สูงสุด คือ ธุรกิจบริการอาหารและคาเฟ่ (Restaurant), ธุรกิจอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้าง (Construction Material) และธุรกิจแพลตฟอร์มสำหรับการซื้อขายสินค้า (Marketplace & E-Commerce Platform)
  2. กลุ่มธุรกิจที่เอ็นเกจเมนต์เติบโตสูงสุด คือ ธุรกิจการโรงแรมและตัวแทนบริษัทนำเที่ยว (Hospitality & Travel Agency) และธุรกิจห้างสรรพสินค้า และศูนย์การค้า (Shopping Center & Department Store)
  3. กลุ่มธุรกิจที่โดดเด่นมากที่สุดบน Facebook คือ ธุรกิจอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้าง (Construction Material) และธุรกิจบริการอาหารและคาเฟ่ (Restaurant), บน Twitter คือ ธุรกิจแพลตฟอร์มสำหรับการซื้อขายสินค้า (Marketplace & E-Commerce Platform), ส่วน Instagram คือ ธุรกิจบริการอาหารและคาเฟ่ (Restaurant) และ YouTube คือ ธุรกิจเครื่องดื่ม (Beverage)
  4. สำหรับกลุ่มธุรกิจที่น่าสนใจคือ ธุรกิจบริการอาหารและคาเฟ่ (Restaurant) ที่เริ่มเข้ามาครองพื้นที่บน Instagram มากขึ้น (+61%) ในขณะที่บน YouTube เป็นธุรกิจทองคำและอัญมณี (Gold & Jewelry), ธุรกิจตกแต่งบ้าน (Home & Decoration) และธุรกิจบริการอาหารและคาเฟ่ (Restaurant) ก็มีการเติบโตขึ้นจากปีที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก
  5. 99% ของแบรนด์ยังคงใช้ Facebook เป็นแพลตฟอร์มหลักในการสื่อสาร แต่มีสัดส่วนการใช้ Twitter และ Instagram เพิ่มขึ้นกว่า 5% 
  6. เอ็นเกจเมนต์ของบัญชีทางการบน Facebook มีแนวโน้มลดลง ในขณะที่จำนวนโพสต์เพิ่มขึ้น ส่วนเอ็นเกจเมนต์ของบัญชีทางการบน Twitter มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่จำนวนโพสต์มีความสม่ำเสมอ ส่วนเอ็นเกจเมนต์ของบัญชีทางการบน Instagram มีจำนวนที่ลดลง ขณะที่จำนวนโพสต์มีความสม่ำเสมอ และยอดเข้าชมของบัญชีทางการบน YouTube มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่จำนวนโพสต์มีความสม่ำเสมอ

  1. โดยรวมแบรนด์มีบัญชีทางการอย่างน้อยสองแพลตฟอร์มขึ้นไป คิดเป็นสัดส่วน 84% ของแบรนด์ทั้งหมด โดยเพิ่มขึ้น 2% จากปี 2564 ส่วนมากแบรนด์มีบัญชีทางการอย่างน้อย 2 แพลตฟอร์มคิดเป็น 37% รองลงมาคือมีบัญชีทางการอย่างน้อย 3 แพลตฟอร์มคิดเป็น 27%, มีบัญชีทางการอย่างน้อย 4 แพลตฟอร์มคิดเป็น 20% และมีบัญชีทางการอย่างน้อย 1 แพลตฟอร์มคิดเป็น 16%
  2. ในส่วนของช่วงเวลาการโพสต์ แบรนด์มักมีการโพสต์ตามเวลาทำการ (Working Hours) คือ ในวันจันทร์ - ศุกร์ โดยเฉพาะช่วง 2-3 ชั่วโมงก่อนพักเที่ยง และก่อนเลิกงาน ส่วนเสาร์-อาทิตย์ เน้นโพสต์ช่วงครึ่งเช้า
  3. วิดีโอบน YouTube ที่ผู้บริโภคมักกด like ส่วนมากจะเป็นวิดีโอที่มีความยาว 5-20 นาที มีเนื้อหาน่าติดตาม ไม่ว่าจะเป็นรายการที่รวมศิลปิน ดนตรี หรือโฆษณาที่มีเรื่องราวคล้ายภาพยนตร์ 
  4. แบรนด์เน้นใช้รูปภาพมากกว่าวิดีโอบนช่องทาง Instagram ในส่วนของโพสต์ที่ได้รับยอด Love สูง ส่วนมากจะเกี่ยวกับอาหาร หรือการเตรียมอาหารและโพสต์กิจกรรมแจกรางวัลที่ร่วมกับพรีเซนเตอร์

ผู้ที่สนใจรายงานภาพรวมการใช้งานโซเชียลมีเดียเชิงธุรกิจในปี 2565 สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ฟรีที่ https://store.wisesight.com/product/business-usage-2022/


Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

AirAsia MOVE ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ สู่ผู้นำแพลตฟอร์มเดินทาง OTA แบบคุ้มครบจบในแอปเดียว พร้อมแพ็กเกจบินทั่วอาเซียนแบบไม่จำกัด

airasia Superapp ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ในชื่อ AirAsia MOVE พร้อมปรับโฉมแอปพลิเคชันใหม่ และเสริมกลยุทธ์ด้านธุรกิจเพื่อผลักดันให้ AirAsia Move เป็นผู้นำด้านแพลตฟอร์ม OTA (ตัวแทนด้านก...

Responsive image

คนไทยไปญี่ปุ่น เตรียมสแกนจ่ายได้ ผ่านระบบ QR Code คาดเริ่มเมษาปีหน้า

สำนักข่าว Nikkei Asia รายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นได้เริ่มพูดคุยกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อเปิดใช้งานบริการชำระเงินผ่าน QR Code ร่วมกัน ช่วยให้นักท่องเที่ยวใช้จ่ายสะดวกสบาย ไ...

Responsive image

Jitta ก้าวสู่ปีที่ 12 เดินหน้าแก้วิกฤตการเงิน หนุนคนไทยออมและลงทุนอัตโนมัติ

Jitta เข้าสู่ปีที่ 12 เติบโตอย่างแข็งแกร่งบนเป้าหมายที่จะสร้างนวัตกรรมทางการเงิน เพื่อช่วยให้คนไทยเข้าถึงการลงทุนที่ง่ายและสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า...