สรุปการแท็กทีม Tuya Smart - T3 Technology - SCG กับพันธมิตร จะผลักดันสินค้าและตลาด 'นวัตกรรมอัจฉริยะ' ได้อย่างไร | Techsauce

สรุปการแท็กทีม Tuya Smart - T3 Technology - SCG กับพันธมิตร จะผลักดันสินค้าและตลาด 'นวัตกรรมอัจฉริยะ' ได้อย่างไร

มาดูกันว่า การผสานจุดแข็ง ผนวกพันธมิตร ผลักดัน 'นวัตกรรมอัจฉริยะ' ของ Tuya Smart - T3 Technology - SCG พันธมิตรสายเทคโนโลยี ที่แท็กทีมมากับภาครัฐและเอกชน เปิดทางสร้างความร่วมมือและ Synergy นวัตกรรมอัจฉริยะข้ามพรมแดนไทย - จีน ใครมีศักยภาพอะไร และการขับเคลื่อนตลาด IoT เชื่อมใครกับใครจะก่อเกิดประโยชน์ต่อ Digital Economy และ Creative Economy อย่างไร ต้องอ่าน!

ข้อสรุปจากการไปดูนวัตกรรม Tuya Smart -T3 Technology - SCG ที่จัดขึ้นภายใต้แนวคิด Connected Technology, Connecting the Opportunities

Tuyaตัวอย่างการอยู่อาศัยในสมาร์ทโฮมที่ควบคุมด้วยเทคโนโลยีที่ชื่อ mind ของ SCG จากความร่วมมือกับ Tuya Smart และ T3 Technology

การใช้ AI กับอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ช่วยเหลือผู้พิการให้สามารถหยิบจับสิ่งต่างๆ ได้สะดวกขึ้น

Tuya Smart -T3 Technology - SCG กับทีมพันธมิตรสาย Tech จากภาคเอกชน-ภาครัฐจากไทยและจีน Synergy กันครั้งใหญ่ ผ่านแนวคิด “Connected Technology, Connecting the Opportunities” เชื่อมโอกาสข้ามประเทศเพื่อขับเคลื่อน Digital Economy และ Creative Economy โดยงานที่เกิดขึ้นมีประเด็นหลักที่น่ารู้ ดังนี้

  • เป็นอีเวนต์ดึงดูด 'ผู้ประกอบการจีน' ทั้งรายใหญ่อย่าง Tuya Smart และ T3 Technology และนักลงทุนหรือผู้สนใจรายอื่นๆ จากจีน ให้เข้ามาตั้งโรงงานผลิต Smart Device ในประเทศไทย 

  • จากการคัดสรรของ SCG กับการคัดเลือกบริษัทที่มีศักยภาพสูง เช่น Tuya Smart ผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม IoT ระบบนิเวศ Smart Home ระดับโลก โดย SCG พัฒนาแบรนด์ mind ต่อยอดให้สามารถใช้งานกับอุปกรณ์ IoT ข้ามแบรนด์ได้ ไม่ว่าจะเป็น Huawei, Samsung, Xiaomi, Lenovo เมื่อผสานกับศักยภาพของ T3 Technology ที่ทำงานร่วมกับโอเปอเรเตอร์ไทยทั้ง 3 ค่าย ได้แก่ AIS, TRUE-DTAC และ NTT ทั้งยังรองรับการใช้งานได้ทั้งระดับครัวเรือนและอุตสาหกรรม จึงเป็นการยกระดับการพัฒนานวัตกรรมอัจฉริยะแบบไม่จำกัดขอบเขตหรือแบรนด์ ผ่านการผนึกความแข็งแกร่งของแต่ละองค์กรกับเหล่าพันธมิตรอย่างแท้จริง

  • หากมีการลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ก็จะนำมาซึ่งการจ้างงานและตำแหน่งงานที่เหมาะกับคนรุ่นใหม่ และที่สำคัญ จะช่วยเพิ่มทักษะดิจิทัลให้แก่คนไทยได้ตรงกับที่ตลาดแรงงานต้องการ

  • เป็นงานที่ผนึกกำลังการพัฒนานวัตกรรมที่ใส่ใจการส่งออกงานคราฟต์ในลักษณะของ Craft Tech จากไอเดียของดีไซเนอร์ไทย ถือเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้า (Value Added) ที่หลายฝ่ายร่วมกันผลักดันไปสู่ตลาดแมส และเป็นการส่งเสริม Soft Power ในอีกมิติหนึ่ง

  • ภาคเอกชนอย่าง SCG ต้องการนำร่องบุกตลาดจีน พร้อมกับดันตลาด Smart Home ไทยให้ทะยานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่ใช่แค่ในตลาดประเทศจีนเท่านั้น แต่เป็นตลาดระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงระดับเอเชียแปซิฟิก

Tuya Smart บริษัทที่เชี่ยวชาญการพัฒนาแพลตฟอร์ม IoT ระดับโลก ที่รองรับการทำงานแบบคัสตอมได้

720

Tuya

Mr. Holmes Chen, Senior PR Director, Tuya Smart กล่าวถึงประเทศไทยว่า เป็นประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโตของตลาด Smart Home ค่อนข้างสูง Tuya Smart จึงมองเห็นโอกาสในการ ผนึกกำลังเชื่อมกับพันธมิตรผู้พัฒนาพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลอย่าง T3 Technology และ SCG ภายใต้แนวคิด Connected Technology, Connecting the Opportunities โดยนำความแข็งแกร่งด้านการพัฒนาแพลตฟอร์มและอุปกรณ์ Smart Home ของบริษัท มาผสานหรือ Synergy ร่วมกัน เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมที่อยู่อาศัยอัจฉริยะรูปแบบใหม่ๆ รองรับความต้องการด้าน Smart Home ที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง

T3 Technology ทำงานข้ามแดนกับ 3 โอเปอเรเตอร์ในไทย

T3

T3 Technology บริษัทที่เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี WiFi ของคนจีน ซึ่งเลือกเข้ามาจดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท ทีทรี เทคโนโลยี จำกัด ในประเทศไทยเมื่อปี 2560 และเดินหน้านำความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีโทรคมนาคมขยายสู่การดูแลที่ครอบคลุมทั้งที่อยู่อาศัย โดยมี ทรูออนไลน์ เข้ามาผนึกกำลังในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเราเตอร์ที่รองรับ WiFi 6E บนความถี่ 6GHz ซึ่งจัดเป็นเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าอย่างมากในขณะนี้ 

Mr. Kevin Guo,  Deputy CEO, T3 Technology กล่าวถึงโอกาสในการพบปะและเชื่อมโยงความร่วมมือด้าน IoT ว่า นับเป็นโอกาสดีที่บริษัทได้จับมือร่วมกับพันธมิตร ต่อยอดแนวคิด 'Own the Household' ในการสร้าง Network-Centric Smart-Home หรือ ระบบบ้านอัจฉริยะที่มีเครือข่ายภายในบ้านเป็นศูนย์กลาง

"บริษัทมองว่า การออกแบบและวางระบบเน็ตเวิร์กที่ดี มีความเสถียร เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ Smart Home ทำงานได้แบบเรียลไทม์และเต็มประสิทธิภาพ ดังนั้น การพัฒนา Network Infrastructure ให้แข็งแกร่ง เชื่อมต่อได้รวดเร็ว จะช่วยเชื่อม IoT Smart Home Ecosystem ให้สมบูรณ์แบบได้มากขึ้น" Mr.Kevin Guo กล่าว

SCG ร่วมกับแบรนด์จีน ดึงผู้ประกอบการจีนมาไทย ขยายนวัตกรรมอัจฉริยะไทยไปตลาดจีน

mind

คุณอภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer, SCG กล่าวว่า "ความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยผลักดันตลาด Smart Home ไทยให้เติบโตยิ่งขึ้น ไม่ได้ส่งผลดีเฉพาะผู้พัฒนานวัตกรรมดิจิทัลรายใหญ่เท่านั้น แต่ยังสร้าง IoT Smart Home Ecosystem ไทยให้แข็งแกร่ง เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามาช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรม เพื่อขยายการเติบโตทางธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถให้กับ SMEs และ Startup สัญชาติไทย" 

SCG พร้อมเป็นอีกหนึ่งแรงสนับสนุน ทั้งเครือข่ายพันธมิตรและการแบ่งปันโนว์ฮาวการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย ทั้งนี้ ยังได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรด้านเทคโนโลยี ทั้งจากภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน ได้แก่ 

  • สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA)
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
  • ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
  • สมาคมไทยไอโอที (Thai IoT Association)
  • บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด (TOSHIBA) 
  • ซี-ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ อินฟลูเอนเซอร์สายไอทีชื่อดังและซีอีโอ Social Lab

SCG นำบูธ MRX (Kubota) และ Drone Conner โดรนสำหรับงานบริการ (DAAS: Drone as a Service) จากงาน Techsauce Global Summit 2023 มาจัดแสดงให้สื่อไทยและจีนได้รับชมอีกครั้ง ณ Termsuk Studio

หน้าจอแสดงผลจากการใช้โดรนตรวจจับความร้อน

“การเปลี่ยนบ้านให้เป็น Smart Home เป็นเมกะเทรนด์ที่กำลังมาแรง และมีบทบาทสำคัญในการดูแลที่อยู่อาศัย ทั้งความปลอดภัย ความสะดวกสบาย และในมิติอื่นๆ เราจึงต้องฝากบ้านทั้งหลังไว้กับระบบที่ไว้วางใจได้ ดังนั้น การเลือกอุปกรณ์ Smart Home ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตทุกรูปแบบ มีดีไซน์หลากหลายรองรับไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกันของผู้ใช้งาน รวมถึงให้บริการโดยผู้พัฒนาที่มีความน่าเชื่อถือนั้นเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญ ซึ่งทาง SCG เองได้มีการพัฒนา Smart Home Solutions แบรนด์ mind ที่สามารถ integrate การทำงานร่วมกับอุปกรณ์ได้หลายค่าย เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในส่วนนี้เช่นกัน และเราเชื่อมั่นว่าการ Synergy กันของผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมดิจิทัล และเทคโนโลยีภายในที่อยู่อาศัยในครั้งนี้ จะช่วยสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้กับอุตสาหกรรมนวัตกรรมดิจิทัล และสร้างมิติใหม่ให้กับการอยู่อาศัยของทุกคนในสังคม” คุณอภิรัตน์กล่าวเพิ่ม

mind

วงเสวนาที่มากด้วย 'ศักยภาพและโอกาส' ในการพัฒนานวัตกรรมอัจฉริยะและขยายตลาดร่วมกัน

ที่ต้องรู้เพิ่มเติมคือ การ Synergy ร่วมกันในการสร้างศักยภาพให้กับอุตสาหกรรมนวัตกรรมดิจิทัลในครั้งนี้ จะเป็นตัวขับเคลื่อน Digital Economy และ Creativ Economy ให้ประเทศไทย โดยจะเกิดขึ้น 2 มิติ คือ  

  1. Inbound ดึงดูดผู้ประกอบการจีนให้เข้ามาลงทุนและตั้งโรงงานผลิต Smart Device ในเมืองไทย

    สอดคล้องกับนโยบายพัฒนา Thailand Digital Valley ของภาครัฐ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานในประเทศ รองรับคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะว่าที่ Tech Talent ที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงาน ทั้งยังช่วยให้คนไทยสามารถเข้าถึงนวัตกรรมดิจิทัลได้ง่ายขึ้น 
  2. Outbound ผลักดันตลาด Smart Home ประเทศไทยให้เติบโตยิ่งขึ้น 

    ด้วยการส่งเสริม Craft Technology ผสมผสานนวัตกรรมดิจิทัลเข้ากับงานออกแบบจากดีไซเนอร์ไทย เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและขยายโอกาสในการส่งออกสินค้านวัตกรรมไปยังตลาดต่างประเทศ โดยคาดว่าจะนำร่องที่ตลาดจีนก่อน

และในวงเสวนาแบบ Panel Discussion ในหัวข้อ Connected Technology, Connecting the Opportunities ยังมีการพูดคุยเพื่อต่อยอด มองหาโอกาสและเสริมความแข็งแกร่งซึ่งกันและกัน โดยมีผู้ร่วมเสวนาจากหลากหลายภาคส่วน (เรียงลำดับตามบุคคลในภาพ) ดังนี้ 

  1. Mr. Ross Luo ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Tuya Smart 
  2. Mr. Kevin Guo รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารและทีมผู้ก่อตั้ง T3 Technology
  3. คุณซี - ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ อินฟลูเอนเซอร์สายไอทีและซีอีโอ บริษัท โซเชียลแล็บ จำกัด (Social Lab)
  4. คุณอภิรัตน์ หวานชะเอม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารหน่วยงานดิจิทัล เอสซีจี (SCG)
  5. คุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด (TOSHIBA
  6. คุณทิพวรรณ ตั้งจิตพิบูล ผู้อำนวยการสถาบันไอโอทีและนวัตกรรมดิจิทัล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA)
  7. ผศ.ดร.จรรยาพร สไตเลอร์ ประธานสาขาวิชาการออกแบบและการวางแผน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT)
  8. คุณนิติ เมฆหมอก นายกสมาคมไทยไอโอที (Thai IoT Association)

Mr. Ross Luo (Tuya)

Tuya

  • ความได้เปรียบของประเทศไทย : ข้อแรก เราเห็นการลงทุนเป็นเงินจำนวนมหาศาลด้านโครงสร้างพื้นฐาน 5G ของภาครัฐ ซึ่งเป็นการวางรากฐานเพื่อการพัฒนาประเทศไทยที่สำคัญ ข้อสอง เมืองไทยมีการจัดจำหน่ายอุปกรณ์ IoT จำนวนมาก ไม่ว่าจะสั่งซื้อสินค้าแบบออฟไลน์หรือออนไลน์ก็ทำได้ ทำให้ผู้บริโภคตระหนักถึงสินค้า IoT ที่นำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของสมาร์ทโฮม ข้อสาม รัฐบาลสนับสนุนเศรษฐกิจดิจิทัล ให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษี ให้ Incentive ซึ่งเอื้อให้เกิดการลงทุนด้าน IoT อีกทางหนึ่ง
  • การผนึกกำลัง : เมืองไทยมีดีไซเนอร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของการคิดอย่างสร้างสรรค์ หากผสาน (merge) กับเทคโนโลยีของ Tuya, T3 และเทคโนโลยีจาก SCG จะสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์ และสามารถขยายตลาดสู่ระดับภูมิภาคได้ไม่ยาก
  • Tuya : สร้างระบบนิเวศผู้ใช้งานที่ใหญ่มาก มีแพลตฟอร์มที่รองรับการทำงานหลากหลายรูปแบบ

Mr. Kevin Guo (T3)

  • ตลาด IoT : มีหลายส่วนประกอบกัน ทั้งด้านชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, ด้านแอปพลิเคชัน ด้านซัพพลายเออร์ ซัพพลายเชน
  • T3 ในตลาดโทรคมนาคม : T3 มุ่งจะเป็นสามารถพัฒนา Local Communication ได้ และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้บริโภค จากเดิมที่พัฒนาแบรนด์เพื่อใช้แบบออฟไลน์ก็ขยับมาเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศออนไลน์ นอกจากนี้ ก็มุ่งรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้บริโภคในเรื่องการใช้ประโยชน์จาก IoT ร่วมด้วย

คุณซี - ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ (Social Lab)

  • ความเห็นต่ออุปกรณ์ IoT : มองว่าแก็ดเจ็ตต่างๆ เป็นเหมือนสินค้าทางวัฒนธรรม และเวลาพูดถึง IoT ทำให้นึกถึง Internet of Things, Intelligence of Things และปีนี้ก็นึกถึง Metaverse of Things ด้วย
  • ปลดล็อกงานคราฟต์ เปิดประตูให้ซอฟต์พาวเวอร์ : เราสามารถปลดล็อกศักยภาพของเราได้ เพราะคนไทยมีมายด์เซ็ตด้านงานคราฟต์ ซึ่งจัดอยู่ในการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ 

คุณอภิรัตน์ หวานชะเอม (SCG)

mind

  • ในวิกฤตมีโอกาส : เมืองไทยเจอความท้าทายหลายด้าน ด้านหนึ่งคือ เมืองไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยแล้ว และอีกไม่กี่ปี ประชากร 1 ใน 3 ของประเทศจะกลายเป็นประชากรสูงวัย เราจึงต้องหยุดที่จะแข่งขันด้านแรงงาน แล้วเริ่มแข่งขันด้วยความคิดสร้างสรรค์ ด้วยนวัตกรรม จากสมองและสองมือของเราเอง

  • เทคโนโลยีพัฒนาประเทศ : เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะพาไปสู่เศรษฐกิจในรูปแบบใหม่ และสามารถทำให้คนไทยมีความสุขเพิ่มขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยีสมาร์ทโฮม เราจึงต้องการเรียนรู้จากองค์กรชั้นนำอย่าง Tuya และ T3 และสร้างระบบนิเวศร่วมกัน ทำให้ไทยเป็นฐานการผลิตด้าน Smart Things 

  • ชวนคิดเรื่องตั้งฐานการผลิตในไทย : ถ้าให้จีนเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าไปยังประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) จะดีกว่าไหมถ้ามาตั้งฐานการผลิตในไทยแล้วกระจายสินค้าออกสู่ SEA เพื่อบุกตลาดที่ใหญ่ขึ้น เช่น อินโดนีเซีย ซึ่งนอกจากการขนส่งที่สะดวกขึ้น รัฐบาลไทยยังออกมาตรการยกเว้นภาษีให้แก่ผู้ลงทุนอีกด้วย

  • mind แบรนด์ไทยในสายตาชาวโลก : ความต้องการของคุณอภิรัตน์ คือ ผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Maker Country และอยากทำให้ mind เป็นแบรนด์คนไทยที่ชาวโลกรู้จักเหมือนกับ ต้มยำกุ้ง หรือ มวยไทย 

คุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร (Toshiba)

  • เวลาที่ใช่ของตลาด IoT : ยืนยันว่าตอนนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับตลาด IoT กล่าวคือ ผู้คนมีความต้องการสินค้า IoT เพิ่มขึ้นแบบ 'Nice to have' ราคาสินค้าก็สมเหตุสมผลมากขึ้น กอปรกับการซื้อสินค้าในตอนนี้ไม่ต้องสนใจตัวสุดท้ายของ 4P อีกแล้ว นั่นคือเรื่อง สถานที่ (Place)

  • Thai Pheonix : ขณะที่ Tuya กับ T3 สร้าง Global Pheonix การเป็นพันธมิตรของ T3, Tuya และ SCG จะพาประเทศไทยก้าวไปอีกขั้นสู่ Thai Pheonix และจากการสร้างความร่วมมือ (Collaboration) ขององค์กรเหล่านี้จะแตกต่างจากการเป็นพันธมิตรโดยทั่วไป เพราะพาร์ตเนอร์ในไทยมักจะเน้นแพสชัน ทำด้วยความเชื่อ และทำเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

  • คิดและผลิตอย่างชาญฉลาด : ไม่ใช่แค่การสร้างสินค้าอัจฉริยะ หรือสินค้าที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ แต่เราต้องคิดร่วมกันว่า จะทำอย่างไรให้การผลิตสินค้า (Manufacture) ทำได้อย่างชาญฉลาด ซึ่งถ้าทำคนเดียวก็จะใช้เวลานานกว่าจะออกมาเป็นสินค้าเพื่อผู้บริโภค

  • ออกแบบสิ่งที่เชื่อมโยงโลก : เราพูดเรื่องคนที่มีทักษะความสามารถกันเยอะ แต่ที่จริง เราไม่ควรคิดว่า ทำสิ่งนี้เพื่อที่นี่ หรือเพื่อที่นั่น แต่ควรจะออกแบบให้โลกเชื่อมโยงกัน เพราะเราเป็นเพื่อนกัน โดยให้นำตัวตน นำเอกลักษณ์ของเรามาแบ่งปันกัน สร้างเศรษฐกิจยั่งยืนที่ทุกคนได้ประโยชน์ ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้คนดีขึ้น เหมือนสโลแกนโตชิบาที่ว่า ‘นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต’ เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เราสามารถทำได้ เพราะเราไม่ได้เป็น ‘นักฝัน’ แต่เราจะ ‘ลงมือทำ’

คุณทิพวรรณ ตั้งจิตพิบูล (DEPA)

  • IoT, AI และ 5G : เป็นสามเทคโนโลยีที่ DEPA ให้ความสำคัญ เราจึงพยายามดึงภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อมาร่วมกันสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ต่างๆ 

  • อัปเดตและเรียนรู้อยู่เสมอ : เราต้องอัปเดตความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจากรอบโลกและต้องเรียนรู้จากประเทศอื่น รวมถึงจีน แล้วต้องวิเคราะห์ถึงประโยชน์ ข้อจำกัด เงื่อนไข แล้วเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุดมาใช้ให้เต็มศักยภาพ

  • ยิ่งเทคโนโลยีก้าวหน้า ยิ่งต้องเสริมทักษะ : เทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้ามาก อาจเป็นสาเหตุให้ถูกดิสรัปต์ หรือทำให้เกิดช่องว่างด้านทักษะดิจิทัล เพิ่มความเหลื่อมล้ำในสังคม หรือทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมได้ เพื่อช่วยให้ผู้คนที่กลัวหรือหลีกเลี่ยงการใช้เทคโนโลยี เราจึงต้องเตรียมคนให้มี ทักษะด้านความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างชาญฉลาด (Digital Literacy) และทำให้เกิดขึ้นจริง (Make it Happen) พร้อมกับออกแบบการเรียนรู้ด้านศิลปะ เพื่อนำความรู้มาอินทิเกรตสร้างสรรค์สิ่งที่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น 

  • Thailand Digital Valley : ประเทศไทยมี EEC หรือ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่ตั้งของ Digital Valley เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมดิจิทัลในจังหวัดชลบุรี ซึ่งไม่ใช่พื้นที่เพื่อดึงดูดการลงทุนเท่านั้น แต่เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม พัฒนากำลังคน (Manpower) ให้มีทักษะด้านการใช้เทคโนโลยี สร้างคนให้เป็นนวัตกร ทั้งยังมี Sandbox พื้นที่สำหรับการทดลองอินทิเกรตนวัตกรรมและเทคโนโลยีก่อนการใช้งานจริง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศต่อไป

ผศ.ดร.จรรยาพร สไตเลอร์ (KMUTT)

  • การสอนและทำงานต้องทำในระดับภูมิภาค : แม้เป็นการเรียนการสอนด้านออกแบบผลิตภัณฑ์ เราก็ไม่ได้ให้ผู้เรียนคิดผลิตภัณฑ์สำหรับตลาดในไทย แต่คิดเพื่อการใช้งานในระดับภูมิภาค และเรายังทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์ทั้งในภูมิภาค ระดับนานาชาติ มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา ฯลฯ ฯลฯ ทำให้ได้เรียนรู้วัฒนธรรมข้ามพรมแดน (Cross Culture) เช่น การทำความเข้าใจผู้ใช้งานในยุโรปหรือในจีน ซึ่งสำคัญต่องานสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อย่างมาก ดังนั้น การเชื่อมโยงเครือข่ายเข้าด้วยกันในครั้งนี้จะสร้างโอกาสอีกมากเช่นกัน

คุณนิติ เมฆหมอก (Thai IoT)

  • สมาคม Thai IoT : ก่อตั้งเมื่อ 5 ปีที่แล้ว เพื่อทำให้คนไทยเข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยี IoT ในชีวิตจริงและ IoT ในโลกธุรกิจ 

  • พื้นฐานด้าน IoT : อาจกล่าวได้ว่า เริ่มจากเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ การวัดระยะ (ต้องเข้าใจก่อนว่า ต้องใช้ขอบเขตแค่ไหน) ทำให้ได้ Data มา และสามารถประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยี AI, Big Data, Cloud Computing ฯลฯ ได้อีกมาก ดังนั้น IoT จึงเป็นรากฐานของการใช้เทคโนโลยีในทุกๆ อุปกรณ์ได้

  • ความสำคัญที่ต้องมีการผนึกกำลัง : เรามีเทคโนโลยี แต่ไม่มีคนที่มีทักษะเพียงพอ ก็ไม่มีความหมายต่ออนาคต เราจึงต้องร่วมมือกัน แชร์ความรู้กันเพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศ

บทความนี้เป็น Advertorial

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

VC เผยวิธีมองสตาร์ทอัพให้ขาด ก่อน ORZON Ventures เข้าไปลงทุน

คุยกับ 'คุณณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล ผู้อำนวยการการลงทุน ORZON Ventures' เรื่องการทำงานระหว่าง OR กับ 500 TukTuks, เกณฑ์การพิจารณาสตาร์ทอัพที่น่าลงทุน, เหตุที่บางดีลเกิด/ไม่เกิด รวม...

Responsive image

ติววิชา Sustainability ก่อนมุ่งสู่ ‘ESG Report’ คอนเทนต์ที่สตาร์ทอัพควรอ่าน จากงาน ESG ESSENTIAL WORKSHOP

Key Messages เกี่ยวกับ Sustainability & ESG จากงานสัมมนา ESG ESSENTIAL WORKSHOP: Navigating Sustainability for Post-Revenue Startups ในโครงการ KATALYST by KBank โดย Beacon VC...

Responsive image

ปรับองค์กรสู่ Digital Future เริ่มที่ ‘คน’ หรือ ‘เทคโนโลยี’ ฟัง NTT DATA ผู้เชี่ยวชาญ Digital Transformation

บทความนี้ Techsauce จะพาไปหาคำตอบว่า…ทำไมทรัพยากรคนถึงมีผลต่อ Digital Transformation และองค์กรควรรับมืออย่างไร?...