Technology for Trade Finance วิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีเพื่อการค้าระหว่างประเทศของธนาคารกรุงเทพ | Techsauce

ทำไม Trade Finance ต้องถูก Transform? Technology for Trade Finance วิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีเพื่อการค้าระหว่างประเทศของธนาคารกรุงเทพ

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการส่งออกสินค้า ซึ่งกระบวนการที่สำคัญคือ กระบวนการ Trade Finance หากขั้นตอนดังกล่าวมีการดำเนินงานได้อย่างราบรื่น การค้าขายระหว่างกันก็จะมีประสิทธิภาพนำไปสู่การพัฒนาด้านอื่นๆ ต่อไป

แต่ความเป็นจริงแล้ว กระบวนการ Trade Finance ยังมีอุปสรรคในการดำเนินงาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการส่งออก ขณะที่กระบวนการในขั้นตอนต่างๆ ให้ความสำคัญกับความถูกต้อง และความปลอดภัยของข้อมูล ดังนั้น ธนาคารกรุงเทพ หนึ่งในธนาคารไทยที่เป็นผู้นำด้าน Trade Finance ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาข้างต้น ด้วยการนำเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าอย่าง Blockchain มาประยุกต์ใช้ โดยผู้บริหารของธนาคารกรุงเทพ และ R3 ได้แสดงวิสัยทัศน์ ในการพัฒนา Blockchain Solution ที่งาน Techsauce Global Summit 2019

ความท้าทายของ Trade Finance ในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สำหรับประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การค้าขายระหว่างประเทศนับได้ว่าเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาค ดังนั้น การทำธุรกรรม Trade Finance จึงเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้การค้าขายระหว่างกันดำเนินไปได้อย่างราบรื่น

คุณพินทุวรรณ คลายเซ่น, Vice President, Trade Finance Product Management, ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า “ในการซื้อขายสินค้า ผู้ขายย่อมมีความต้องการที่จะได้รับเงินค่าสินค้าตามมูลค่าที่ตกลงกันไว้ ในทางกลับกันผู้ซื้อย่อมอยากได้รับสินค้าที่สั่งซื้อ หรือชำระเงินไปแล้ว ทั้งนี้ ด้วยระยะทาง และกฎเกณฑ์ต่างๆ ในด้านการค้าระหว่างประเทศ ทำให้การดำเนินการส่วนนี้จำเป็นอย่างมากที่ต้องให้ความสำคัญในเรื่องของความถูกต้อง และความโปร่งใสมาเป็นลำดับต้นๆ  ซึ่งแต่เดิมการดำเนินการในขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น จะมีการสร้างระบบ และรูปแบบการดำเนินงานเพื่อยืนยันความถูกต้องอยู่ในรูปแบบการใช้ เอกสาร”

ดังนั้น เอกสาร จึงเป็นวิธีปฏิบัติงานที่อยู่คู่กับธุรกรรม Trade Finance มาอย่างยาวนาน เมื่อการค้าระหว่างประเทศมีการขยายตัวมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้มีจำนวนเอกสารที่ถูกใช้ในการดำเนินงานสูงขึ้นตามไปด้วย อีกทั้งยังต้องมีการเพิ่มขั้นตอนการทำงาน และระบบ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารอีกด้วย นอกจากนี้ เอกสารยังถูกส่งต่อให้กับ ผู้ซื้อ ผู้ขาย บริษัทขนส่ง ไปจนถึงบริษัทประกันภัย เพื่อยืนยันความถูกต้อง และแต่ละฝ่ายยังต้องจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของตัวเองในแต่ละธุรกรรมอีกด้วย

คุณพินทุวรรณ คลายเซ่น, Vice President, Trade Finance Product Management, ธนาคารกรุงเทพ

ด้วยความซับซ้อนของการจัดทำเอกสารที่กล่าวไป ส่งผลให้การใช้กระดาษในการทำเอกสารสำหรับธุรกรรมเพียงธุรกรรมเดียวถูกผลิตซ้ำกันหลายชุด ซึ่งนอกจากจะเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรแล้ว ยังส่งผลให้เกิดความยุ่งยากในการจัดการ และอาจเกิดความผิดพลาดได้อีกด้วย คุณพินทุวรรณ ได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่เคยเกิดขึ้นในการทำธุรกรรมว่า เคยเกิดเหตุการณ์ที่ผู้ขายได้มีการส่งสินค้าไปถึงประเทศปลายทางเรียบร้อยแล้ว แต่เอกสารยังมาไม่ถึง ทำให้ผู้ซื้อไม่สามารถนำสินค้าออกจากท่าเรือในประเทศปลายทางได้

จากอุปสรรคในการใช้เอกสารรูปแบบกระดาษที่เกิดขึ้น ทำให้บางประเทศหันมาพัฒนาระบบ Paperless Document มากขึ้น ขณะที่แต่ละประเทศจะมีมาตรฐานด้านเอกสารที่แตกต่างกัน ส่งผลให้การทำ Paperless Document ในประเทศหนึ่งไม่อาจยืนยันความถูกต้องตามมาตรฐานของอีกประเทศหนึ่งได้ การทำธุรกรรม Trade Finance ในระบบ Paperless Document จึงยังคงมีข้อจำกัด และอุปสรรคอยู่

ดังนั้น ความท้าทายในธุรกรรม Trade Finance นอกจากความพยายามในการลดการใช้กระดาษแล้ว ยังต้องให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงในการทำธุรกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศด้วย ทำให้หลายฝ่ายมองหาเทคโนโลยีที่มีจุดเด่นด้านความน่าเชื่อถือ สามารถรองรับการเชื่อมโยงระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำธุรกรรมได้ ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่มาของการนำเทคโนโลยี Blockchain มาประยุกต์ใช้ในการทำธุรกรรม Trade Finance

Blockchain กับการรับมือความท้าทายของ Trade Finance

เมื่อศักยภาพของเทคโนโลยี Blockchain เป็นทางออกในการรับมือกับความท้าทายของการดำเนินงานด้าน Trade Finance ในอนาคต เราจึงขอขยายความประเด็นดังกล่าวให้ชัดเจนมากขึ้น โดยผู้บริหารของธนาคารกรุงเทพ และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี Blockchain อย่าง R3

คุณ Carl Wegner Managing Director, Head of Asia ของ R3 ซึ่งเป็น Partner ด้านเทคโนโลยีของธนาคารกรุงเทพ แสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการใช้งาน Blockchain บนกระบวนการ Trade Finance ว่า “Blockchain เป็นระบบที่ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกด้านการรับรองความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของข้อมูลบนระบบ Digital พร้อมทั้งสามารถรองรับการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้ ซึ่งจากเดิมหากต้องการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารในกระบวนการทำงานของ Trade Finance ก็ต้องมีการส่งต่อข้อมูล หรือเอกสารไปยังผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งเสียเวลาในการดำเนินงาน และก่อให้เกิดต้นทุนมหาศาล แต่เทคโนโลยี Blockchain สามารถแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการนำผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดมารวมกันบน Digital Platform เดียวกัน”

คุณ Carl Wegner Managing Director, Head of Asia ของ R3

คุณ Carl ยังระบุว่า ได้มีโอกาสดำเนินการเรื่อง Paperless Trading ในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2004 และมีเป้าหมายที่จะดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปี 2005 แต่ในปัจจุบันการดำเนินการดังกล่าวยังไม่เสร็จสิ้น อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเทคโนโลยี Blockchain ต้องอาศัยการทำงานเป็นทีม ผ่านความร่วมมือของทุกฝ่าย ทั้งธนาคาร หน่วยงาน รวมถึงภาครัฐของแต่ละประเทศด้วย

แม้การให้ความเห็นดังกล่าว จะเป็นการเน้นย้ำในภาค Trade Finance แต่ Blockchain ก็มี Application หลากหลายที่ใช้งานได้ ดังนั้น การเลือก Application ที่เหมาะสมที่สุดจึงเป็นขั้นตอนสำคัญ ซึ่ง คุณพงศ์โภคา พุทธิแพทย์ Vice President and Manager, Global Payment Services Department ธนาคารกรุงเทพ เผยว่า “แม้ Blockchain จะมี Application ที่น่าจับตามองอย่าง Digital Currency ซึ่งเป็น Application ที่เปลี่ยนให้ค่าเงินมีคุณสมบัติเป็น Digital แต่ในความเป็นจริงแล้ว ขั้นตอนที่ติดขัดของ Trade Finance ไม่ได้อยู่ที่การโอนเงินชำระค่าสินค้า แต่อยู่ที่กระบวนการทางเอกสาร ที่ส่งผลให้เกิดความล่าช้า มีโอกาสผิดพลาด และสิ้นเปลืองทรัพยากร ดังนั้น ธนาคารจึงเลือกพัฒนาระบบเอกสารให้มีความไหลลื่น ตรวจสอบข้อผิดพลาดได้ และ Blockchain เป็นระบบที่ตอบโจทย์ปัญหานี้ได้ดีที่สุด”

คุณพงศ์โภคา พุทธิแพทย์ Vice President and Manager, Global Payment Services Department ธนาคารกรุงเทพ

คุณ Carl กล่าวเสริมเรื่องความท้าทายในภาพรวมของประเทศไทยว่า ธนาคารในประเทศไทยถือเป็นผู้นำด้านการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ ยกตัวอย่างการใช้ Blockchain ใน Trade Finance ของธนาคารกรุงเทพ และโครงการต่างๆ  ของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ทั้งนี้ สิ่งสำคัญไม่ใช่การคำนึงถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงผลกระทบจาก “มาตรการ” ซึ่งหากมีการกำหนดเทคโนโลยีขับเคลื่อนไปในทิศทางใด ก็ควรปรับมาตรการให้สอดคล้องกับทิศทางนั้น เพื่อสนับสนุนทั้งภาคธุรกิจ และตอบโจทย์ผู้บริโภค

คุณพงศ์โภคา กล่าวปิดท้ายว่า ธนาคารกรุงเทพมีความพยายามที่จะพิสูจน์ความเป็นไปได้ของแนวคิด หรือ Proof of Concept เพื่อให้ผู้กำหนดมาตรการเห็นประโยชน์ของการใช้ Blockchain ในเรื่องต่างๆ โดยเริ่มจาก Trade Finance เป็นลำดับแรก

ธนาคารกรุงเทพ กับบทบาทการสนับสนุน Blockchain Ecosystem สำหรับ Finance Industry

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เทคโนโลยี Blockchain ได้รับการพัฒนาอย่างมากจากความต้องการของภาคการเงิน ธนาคารกรุงเทพในฐานะธนาคารชั้นนำด้านธุรกิจระหว่างประเทศ ถือเป็นหนึ่งในผู้ร่วมขับเคลื่อน Blockchain Ecosystem ในอุตสาหกรรมการเงินระดับภูมิภาค จากการเป็นผู้ริเริ่มร่วมพัฒนา Application ที่มีชื่อว่า “Voltron”

Voltron เป็น Application สำหรับการทำธุรกรรม Trade Finance หรือธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ โดยนำ Corda ซึ่งเป็น Blockchain Platform สำหรับธุรกิจการเงินมาเป็นพื้นฐานการพัฒนา ซึ่ง Corda พัฒนาโดย R3 บริษัทพัฒนา Software ที่เป็น Partner กับธนาคาร สถาบันการเงิน และองค์กรธุรกิจชั้นนำระดับโลกมากถึง 300 องค์กร โดย Voltron เป็น Application ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างธนาคารกรุงเทพกับธนาคารชั้นนำ 7 ธนาคาร ได้แก่ HSBC, BNP Paribas, ING, Natwest, Standard Chartered, CTBC และ SEB โดยมีการร่วมกันทดสอบ Voltron Application ในการทำธุรกรรม Trade Finance ระหว่างธนาคารกรุงเทพในประเทศไทย ธนาคารกรุงเทพสาขาอินโดนีเซีย และ R3 พร้อมกับความร่วมมือจากหลายภาคส่วนทั้งในไทยและอินโดนีเซีย จนมั่นใจในประสิทธิภาพของระบบ

เดิมทีการทำธุรกรรม Trade Finance ผู้ซื้อต้องเริ่มตั้งแต่ติดต่อธนาคารเพื่อยื่นคำขอดำเนินการ และทำตามขั้นตอนต่างๆ จนกระทั่งถึงการชำระเงิน แม้ขั้นตอนที่ธนาคารดำเนินการจะมีความรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม ก็ต้องใช้เวลาในการพิสูจน์ความถูกต้องของเอกสาร รวมถึงการส่งรายการต่างๆ ไปยังผู้ขายสินค้า ซึ่งใช้เวลาในการดำเนินการหลายวันกว่าที่ผู้ซื้อจะดำเนินขั้นตอนเสร็จสิ้น

Voltron Application จะช่วยให้การทำธุรกรรมที่ใช้เอกสารทุกขั้นตอนสะดวกยิ่งขึ้น เริ่มตั้งแต่การตกลงจะซื้อจะขายระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย เมื่อทั้งสองตกลงได้ ระบบก็จะส่งคำขอธุรกรรมไปยังธนาคาร เพื่อดำเนินการพร้อมกับส่งข้อมูลธุรกรรมไปยังผู้ส่งออก เมื่อมีการส่งสินค้าแล้ว ธนาคาร และผู้ซื้อสามารถตรวจสอบ และยืนยันความถูกต้องทั้งหมดบนระบบได้ทันที ส่วนผู้ขายก็จะได้รับเงินหลังจากการอนุมัติในระบบแล้ว

ในด้านความปลอดภัย ธนาคารกรุงเทพ ได้ร่วมพัฒนา Voltron Application บน Corda Network มีลักษณะเป็น Private Blockchain โดยข้อมูลธุรกรรมทั้งหมดจะถูกดำเนินการในระบบปิด ข้อมูลจะถูกส่งให้เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมแต่ละประเภทโดยเฉพาะ ซึ่งแตกต่างจาก Cryptocurrency ดั้งเดิมที่ถูกสร้างขึ้นในลักษณะ Public Blockchain โดยข้อมูลจะถูกส่งให้กับทุกคนในระบบ ดังนั้น การใช้ Private Blockchain ในการทำธุรกรรม Trade Finance อันเป็นการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศที่เป็นความลับทางธุรกิจ จึงไม่อาจปล่อยให้คนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าถึง หรือรับรู้การมีอยู่ของธุรกรรมได้

การยกระดับการดำเนินงานด้าน Trade Finance จะช่วยให้การค้าระหว่างประเทศดำเนินไปอย่างราบรื่น เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการทำงานที่ลดลง ส่งผลต่อต้นทุนการดำเนินงานที่ลดลงตามไปด้วย รวมถึงความโปร่งใสในการดำเนินธุรกรรม ทำให้ทุกฝ่ายสามารถทราบสถานะการทำธุรกรรม บนเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยสูง ทั้งนี้ หาก Blockchain Platform เพื่อ Trade Finance ได้รับการพัฒนาต่อยอด และขยายความร่วมมือมากขึ้น ก็จะช่วยให้การค้าระหว่างประเทศเดินหน้าได้เต็มประสิทธิภาพ และส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศอย่างแน่นอน

บทความนี้เป็น Advertorial

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

VC เผยวิธีมองสตาร์ทอัพให้ขาด ก่อน ORZON Ventures เข้าไปลงทุน

คุยกับ 'คุณณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล ผู้อำนวยการการลงทุน ORZON Ventures' เรื่องการทำงานระหว่าง OR กับ 500 TukTuks, เกณฑ์การพิจารณาสตาร์ทอัพที่น่าลงทุน, เหตุที่บางดีลเกิด/ไม่เกิด รวม...

Responsive image

ติววิชา Sustainability ก่อนมุ่งสู่ ‘ESG Report’ คอนเทนต์ที่สตาร์ทอัพควรอ่าน จากงาน ESG ESSENTIAL WORKSHOP

Key Messages เกี่ยวกับ Sustainability & ESG จากงานสัมมนา ESG ESSENTIAL WORKSHOP: Navigating Sustainability for Post-Revenue Startups ในโครงการ KATALYST by KBank โดย Beacon VC...

Responsive image

ปรับองค์กรสู่ Digital Future เริ่มที่ ‘คน’ หรือ ‘เทคโนโลยี’ ฟัง NTT DATA ผู้เชี่ยวชาญ Digital Transformation

บทความนี้ Techsauce จะพาไปหาคำตอบว่า…ทำไมทรัพยากรคนถึงมีผลต่อ Digital Transformation และองค์กรควรรับมืออย่างไร?...