โจทย์สำคัญของธุรกิจ กับการเปลี่ยนผ่านจากดิจิทัลสู่ AI ท่ามกลางโลกที่ไร้ซึ่งความปกติ | Techsauce

โจทย์สำคัญของธุรกิจ กับการเปลี่ยนผ่านจากดิจิทัลสู่ AI ท่ามกลางโลกที่ไร้ซึ่งความปกติ

สิ่งที่ KBTG ที่เป็นเหมือนกองทัพที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จและผู้นำในโลกดิจิทัลของธนาคารกสิกรไทย (KBank) ได้เรียนรู้ ปรับตัว และจัดการการเปลี่ยนแปลงองค์กรและนวัตกรรมดิจิทัลสู่ AI คืออะไร? โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาปัจจุบันซึ่งทุกสิ่งจัดได้ว่าเป็นยุค “No Normal”

มาติดตามบทสรุป Session จาก Techsauce Global Summit 2022 กับ คุณทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล, Managing Director & Distinguished Visionary Architect จาก K-Labs ในหัวข้อ ‘From Digital to AI: Practical Corporate Transformation and Innovation in “No Normal” Era’ 

โจทย์สำคัญของธุรกิจ กับการเปลี่ยนผ่านจากดิจิทัลสู่ AI ท่ามกลางโลกที่ไร้ซึ่งความปกติ

 นี่คือยุคแห่งนวัตกรรมดิจิทัลและการเปลี่ยนแปลงที่มนุษย์ถ้ำหรือคนที่ไม่ปรับตัวจะไม่สามารถเดินต่อไปได้

KBTG เรียนรู้ สร้างสรรค์ ผนวกนวัตกรรมกับเทคโนโลยีอย่างไร? ให้ประสบความสำเร็จ

KBTG ถือกำเนิดขึ้นโดยมีภารกิจในการสร้างหน่วยงาน Digital Transformation and Innovation ซึ่งเป็น Digital Partner ที่จะส่งมอบ IT Solutions และ Operation เพื่อให้แน่ใจว่า KBank จะสามารถส่งมอบการบริการที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าและสามารถตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป การปรับปรุง และทำให้ธุรกิจการธนาคารกสิกรไทยกลายเป็นดิจิทัล 

ตั้งแต่องค์กรก่อตั้งขึ้น เราไม่เคยหยุดที่จะพัฒนาเกี่ยวกับปัญหาแบบนอกกรอบ เพื่อให้แน่ใจว่าเราสามารถคิดหาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นนวัตกรรมหรือไอที หรือทั้งสองอย่างรวมกัน 

KBTG เรียนรู้ สร้างสรรค์ ผนวกนวัตกรรมกับเทคโนโลยีอย่างไร? ให้ประสบความสำเร็จ

ตั้งแต่ปี 2018 ได้มีการเปิดตัวโซลูชันทางเทคนิคเพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจและลูกค้า นอกจากนี้เรายังร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น NECTEC (ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการพัฒนา Thai NLP (Natural Language Processing) ในการผลิตแอปพลิเคชัน THAI NLP โดยประมวลผลภาษาไทยยกระดับบริการลูกค้า เพราะภาษาไทยเป็นภาษาที่ซับซ้อน แต่เพื่อให้ลูกค้าได้รับบริการอย่างรวดเร็วและถูกต้อง KBTG ใช้ระบบ AI ประมวลผลภาษาธรรมชาติภาษาไทยขึ้นจากการวิเคราะห์ภาษาที่มนุษย์ใช้จริงโดยทาง KBTG ได้นำนวัตกรรมนี้มาใช้สร้าง Chat Bot ให้บริการของ KBank และจับฟีดแบ็กลูกค้าบนโลกโซเชียล

     KBTG เรามีเชื่อว่าความคาดหวังของลูกค้ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์อยู่เสมอ เราจึงต้องปรับปรุง และพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการต่อไป

Changing Landscape

Changing Landscape

ปัจจุบันเราอยู่ในยุค No Normal การดำเนินธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากเพราะ “วิกฤตห่วงโซ่อุปทาน” ที่เกิดจากหลายสาเหตุ อาทิ COVID-19 ความไม่มั่นคงทางการเมือง หรือวิกฤตการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทุกอย่างจะส่งผลกระทบต่อกันเหมือนลูกโซ่ ทำให้เกิดอัตราเงินเฟ้อที่มีผลกระทบไปทั่วโลก ดังนั้นสิ่งที่องค์กรธุรกิจจะสามารถทำได้ในตอนนี้คือเริ่มต้นใหม่ ปรับแผนและปรับตัว เพื่อพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ เพื่อโอกาสและความเป็นไปได้ในการอยู่รอดของธุรกิจ

Customer Expectation

ในอดีตการมีแอปพลิเคชันธนาคารบนมือถือนั้นถือเป็นเรื่องแปลกใหม่ แต่ในปัจจุบันกลับเป็นเรื่องปกติ ที่นำมาซึ่งความคาดหวังของลูกค้าว่าพวกเขาต้องได้รับการบริการทางการเงินได้จากปลายนิ้วมือ และแอปพลิเคชันต้องสามารถใช้ได้แบบเรียลไทม์สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ในทุกมิติ เมื่อเวลาผ่านไปความต้องการของลูกค้าเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ 

คุณทัดพงศ์ได้เสริมว่า ณ จุดนี้เราไม่ได้แข่งขันกันเฉพาะในธุรกิจเดียวกันเท่านั้น ตอนนี้พื้นที่ธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกันจะมีผู้เล่นหน้าใหม่ที่สามารถเสนอทางเลือกที่ดีกว่ากับโซลูชันของลูกค้า เพราะฉะนั้นการคิดล่วงหน้าหรือการรู้ว่าลูกค้าคาดหวังอะไรจึงเป็นสิ่งสำคัญของการทำธุรกิจยุคนี้

Talent War

ยุคนี้เป็นยุคสงครามแย่งชิงบุคลากรคุณภาพ (Talent) โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าอยากชนะเมื่ออยู่สนามด้านธุรกิจ IT ต้องมีวิธีการบริหารบริษัทหรือธุรกิจเพื่อให้สามารถดึงดูดผู้มีความสามารถและทำให้พวกเขาตื่นเต้นไปกับธุรกิจและงาน เพื่อช่วยส่งเสริมธุรกิจให้เติบโตไปด้วยกัน 

การจัดสรรทรัพยากรคนให้ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

การจัดสรรทรัพยากรคนให้ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ 

ในตอนเริ่มต้นของธุรกิจใหม่ต้องแน่ใจว่าสามารถอยู่รอดในตลาดใหม่ที่ไม่แน่นอนได้และต้องสามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดได้อย่างรวดเร็วพร้อมทั้งต้องมีวิธีในการตอบสนอง วิธีในพัฒนาทักษะ การเติบโต และวิธีเชื่อมโยงธุรกิจอย่างเป็นระบบ 

คุณทัดพงศ์ได้กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือทรัพยากรคน เมื่อเราต้องการจัดตั้งหรือบุกเบิกธุรกิจใหม่หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ คุณอาจไม่จำเป็นต้องมีทรัพยากรคนเป็นกองทัพ แต่คุณต้องมีอย่างน้อยสามคนหรือกลุ่มคนที่มีทักษะทั้งสามอย่างนี้ 

  • กลุ่มแรกคือคนที่มีทักษะเกี่ยวกับความเข้าใจของลูกค้า 

ทำความเข้าใจ ปัญหาของลูกค้า (Pain point), ประสบการณ์ของลูกค้า (Customer experience) และความคาดหวัง (Customer Expectations) เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถส่งมอบการบริการที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าและสามารถตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป

  • กลุ่มที่สองคือคนที่มีทักษะและเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและเทคโนโลยี

มีความรู้และความสามารถในการใช้ AI, Cloud Computing, IoT เป็นต้น เพื่อสร้างโซลูชันที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหา (Painpoint) ของลูกค้าที่ค้นพบโดยคนกลุ่มแรก แล้วส่งมอบโซลูชันไอทีและการดำเนินงานทั้งหมดโดยให้การบริการที่ดีที่สุดแก่ลูกค้าเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาจะได้รับความประทับใจ 

  • กลุ่มคนที่สามคือคนที่เข้าใจธุรกิจ

ที่สามารถช่วยให้องค์กรและธุรกิจดำเนินการทุกอย่างทั้งทางการเงินและการเติบโตได้อย่างยั่งยืน 

ตัวชี้วัดความสำเร็จคืออะไร?

คุณทัดพงศ์ได้กล่าวว่า เราจำเป็นต้องใช้เครื่องมือตัวชี้วัดไม่ว่าจะเป็น OKR (Objective and Key Results) เพื่อการสร้างกลยุทธ์ หรือ KPI (Key Performance Indicators) ดัชนีชี้วัดความสำเร็จที่เป็นการวัดผลการทำงานออกมาเป็นตัวเลข แล้วนำข้อมูลไป วิเคราะห์ ปรับปรุงและพัฒนาเพื่อให้เหมาะกับภารกิจของธุรกิจซึ่งนี่ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

ถ้าเราสามารถออกแบบกระบวนการการทำงานให้เป็นขั้นตอนที่เข้าใจได้ง่ายเพื่อทำงานร่วมกันแล้วใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อผสานรวมเทคโนโลยีเข้ากับกระบวนการ พนักงานก็จะสามารถทำงานได้ง่ายขึ้นและลดงานที่ซ้ำซากเพื่อให้พวกเขาสามารถมุ่งเน้นไปที่งานที่ต้องอาศัยประสิทธิภาพและความสร้างสรรค์มากขึ้นได้ 

KBTG Software Development Excellence Blueprint

นี่คือพิมพ์เขียว “KBTG Software Development Excellence Blueprint” ซึ่งเป็นเครื่องมือการทำงานทั้งหมดของเรา คุณทัดพงศ์กล่าว 

เมื่อเกิดการพัฒนาซอฟต์แวร์ เราต้องเรียนรู้ในวางแผนขึ้นตอนการทำงาน เช่น การทดสอบโค้ด การออกแบบและทุกสิ่งเพื่อให้สามารถดำเนินกระบวนการได้อย่างเหมาะสม แต่มีแค่กระบวนการเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ เราต้องมีเครื่องมือและการบูรณาการที่เหมาะสมอีกด้วย ดังนั้นเราจึงมีเทคโนโลยีมากมายเข้ามาช่วยในการทำงานในปัจจุบัน 

DRY VS WET

DRY VS WET

ก่อนจบเซสชั่นคุณทัดพงศ์ได้ฝากแนวคิดการทำงานซึ่งนี่เป็นแนวคิดที่เป็นที่รู้จักกันดีในด้านวิศวกรรมซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับทางธุรกิจได้ไว้ว่า…

  • DRY หรือ Don’t Repeat Yourself แนวคิดของการหาวิธีที่จะไม่ต้องทำอะไรซ้ำ ๆ โดยไม่จำเป็น เพราะการทำซ้ำมาก ๆ นอกจากทำให้ต้องเสียเวลาในการทำงานเพิ่มขึ้นโดยเปล่าประโยชน์แล้วยังทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่ายอีกด้วย ดังนั้นหากต้องการใช้แนวคิดนี้อาจจะต้องทำการแยกส่วนที่ต้องทำซ้ำ ๆ ออกมาเป็นฟังก์ชั่นหรือโมดูลต่างหากก่อนเพื่อที่จะสามารถนำโค้ดหรือข้อมูลมา Reuse ใช้เมื่อต้องการเพื่อเป็นการลดงานของการทำงานได้
  • WET หรือ Write Everything Twice คือการทำสิ่งซ้ำ ๆ ที่จำเป็น ซึ่งตรงข้ามกับ DRY โดยสิ้นเชิง เพราะในบางงานที่เลี่ยงไม่ได้จึงจำเป็นต้องทำซ้ำ ๆ เพื่อป้องกันการผิดพลาดและทำให้การทำงานรวดเร็วมากยิ่งขึ้น 

โดยทั้งสองแนวคิดนี้ไม่มีผิด ไม่มีถูก ขึ้นอยู่ที่ว่าเราจะสามารถประยุกต์ใช้แนวคิดไหนเพื่อให้เหมาะสมกับบริบทงานที่เรากำลังทำอยู่เท่านั้นเอง

การอยู่รอดของธุรกิจใดๆ ก็ตาม เราต้องผนึกกำลังระหว่างสามสิ่งคือ นวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงและการทำงานร่วมกัน

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

VC เผยวิธีมองสตาร์ทอัพให้ขาด ก่อน ORZON Ventures เข้าไปลงทุน

คุยกับ 'คุณณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล ผู้อำนวยการการลงทุน ORZON Ventures' เรื่องการทำงานระหว่าง OR กับ 500 TukTuks, เกณฑ์การพิจารณาสตาร์ทอัพที่น่าลงทุน, เหตุที่บางดีลเกิด/ไม่เกิด รวม...

Responsive image

ติววิชา Sustainability ก่อนมุ่งสู่ ‘ESG Report’ คอนเทนต์ที่สตาร์ทอัพควรอ่าน จากงาน ESG ESSENTIAL WORKSHOP

Key Messages เกี่ยวกับ Sustainability & ESG จากงานสัมมนา ESG ESSENTIAL WORKSHOP: Navigating Sustainability for Post-Revenue Startups ในโครงการ KATALYST by KBank โดย Beacon VC...

Responsive image

ปรับองค์กรสู่ Digital Future เริ่มที่ ‘คน’ หรือ ‘เทคโนโลยี’ ฟัง NTT DATA ผู้เชี่ยวชาญ Digital Transformation

บทความนี้ Techsauce จะพาไปหาคำตอบว่า…ทำไมทรัพยากรคนถึงมีผลต่อ Digital Transformation และองค์กรควรรับมืออย่างไร?...