รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุม โดยมีวาระการประชุมที่สำคัญในการพิจารณาหลายประเด็น ซึ่งได้เห็นชอบมาตรการ แพคเกจ EV หรือการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV
จากวาระการประชุมที่สำคัญที่เข้าสู่การพิจารณาโดย กระทรวงพลังงาน ได้เสนอ มติคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ครั้งที่ 3/2564 และครั้งที่ 1/2565 ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ทั้งระบบ โดยเฉพาะการสนับสนุนดีมานด์ผู้ใช้รถ EV ในประเทศ ซึ่งแพคเกจ EV ในครั้งนี้จะเป็นการส่งเสริมการใช้ EV 3 ประเภทครอบคลุมทั้งรถยนต์ รถกระบะ และรถจักรยานยนต์ ล่าสุด ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติตามที่เสนอแล้ว
โดยจะมีผลบังคับใช้เดือน พฤษภาคม 2565 นี้ และเมื่อผ่าน ครม.แล้วหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะไปออกกฎหมายและทำสัญญากับค่ายรถที่เข้าร่วม
1.เงินอุดหนุนรถยนต์และรถกระบะคันละ 70,000-150,000 บาทต่อคัน และรถจักรยานยนต์ 18,000 บาทต่อคัน
2.ลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์จาก 8% เป็น 2% และรถกระบะเป็น 0%
3.ลดอากรขาเข้ารถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศและนำเข้าทั้งคัน (CBU) สูงสุด 40% สำหรับรถยนต์ถึงปี 2566
4.ยกเว้นอากรขาเข้ารถยนต์ที่ผลิตในประเทศ (CKD) จำนวน 9 รายการ
ทั้งนี้ค่ายรถที่เข้าร่วมต้องรับเงื่อนไข ได้แก่ 1.ผลิตชดเชยให้เท่ากับจำนวนที่นำเข้า CBU ช่วงปี 2565-2566 ในปี 2567 แต่ขยายเวลาได้ ถึงปี 2568 จะต้องผลิตในอัตราส่วน 1.5 เท่า (นำเข้า 1 คัน ผลิต 1.5 คัน) ผู้ใช้สิทธิ์จะผลิตBEV รุ่นใดก็ได้เพื่อชดเชย ยกเว้นรถที่มีราคาขายปลีกราคา 2-7 ล้านบาทต้องผลิตรุ่นเดียวกับที่นำเข้ามา เป็นต้น
รวมทั้งเงื่อนไขต่างๆ ได้แก่ 1.ผลิตชดเชยให้เท่ากับจำนวนที่นำเข้า CBU ช่วงปี 2565-2566 ในปี 2567 แต่ขยายเวลาได้ ถึงปี 2568 จะต้องผลิตในอัตราส่วน 1.5 เท่า (นำเข้า 1 คัน ผลิต 1.5 คัน) ผู้ใช้สิทธิ์จะผลิตBEV รุ่นใดก็ได้เพื่อชดเชย ยกเว้นรถที่มีราคาขายปลีกราคา 2-7 ล้านบาทต้องผลิตรุ่นเดียวกับที่นำเข้ามา
ขณะที่หลักเกณฑ์ในการใช้สิทธิ์ มีดังนี้ 1. ต้องเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในประเทศที่ทำสัญญากับกรมสรรพสามิต โดยจะจ่ายอุดหนุนเงินและภาษีไปที่ผู้ประกอบการ 2. ประเภทรถยนต์ครอบคลุมรถยนต์ รถกระบะและรถจักรยานยนต์เฉพาะ BEV
ในส่วนของเงื่อนไขการใช้สิทธิ์ มีดังนี้ 1. ต้องวางเงินค้ำประกันประกอบการใช้สิทธิ์ 2. หากไม่ปฏิบัติติตามเงื่อนไขต้องคืนเงินอุดหนุนเต็มจำนวนพร้อมดอกเบี้ย และยึดเงินค้ำประกันจากธนาคาร รวมทั้งไม่ได้สิทธิลดภาษีพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
สำหรับมาตรการการสนับสนุนรถยนต์ EV แบ่งเป็นรถ 3 ประเภท ได้แก่ 1. รถยนต์ไฟฟ้าราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท (ผลิตและประกอบในประเทศ) ได้สิทธิประโยชน์ลดอากรขาเข้าสูงสุด 40% (ปี 2565-2566) ลดภาษีสรรพสามิตจาก 8% เป็น 2% (ปี 2565- 2568) เงินอุดหนุน (ปี 2565-2568) 70,000 บาท (ขนาดแบตเตอรี่ต่ำกว่า 30 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง) 150,000 บาท (ขนาดแบตเตอรี่ 30 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมงขึ้นไป) และในปี 2567 ต้องผลิตเพื่อชดเชยการนำเข้าในปี 2565-2566 โดยผลิตรถรุ่นใดก็ได้
ส่วนรถ EV ที่ราคาขายปลีกแนะนำ 2-7 ล้านบาท ได้ลดอากรขาเข้าสูงสุด 20% (ปี 2565-2566) ลดภาษีสรรพสามิตจาก 8% เป็น 2% (ปี 2565-2568) แต่ต้องเลือกผลิตรถยนต์จากรถรุ่นใดรุ่นหนึ่งที่ได้นำข้ามาในปี 2565-2566 เท่านั้น
ทั้งนี้ ผู้รับสิทธิ์มาตรการส่งเสริมทั้ง 2 รายการข้างต้นต้องเป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยผลิตรถยนต์ชดเชยในปี 2567 เท่ากับจำนวนที่นำเข้า CBU ในปี 2565-2566 หากจำเป็นต้องขยายเวลา การผลิตชดเชยได้ถึงปี 2568 และต้องผลิตอัตราส่วน 1 : 1.5 เท่า (นำเข้า 1 คัน ผลิต 1.5 คัน)
2. รถกระบะราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท จะลดภาษีสรรพสามิตเป็น 0% ในปี 2565-2568 และเงินอุดหนุนปี 2565-2568 คันละ 150,000 บาท สำหรับรถยนต์กระบะประเภท BEV ที่มีแบตเตอรี่ขนาดตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไป (เฉพาะรถยนต์กระบะผลิตในประเทศ)
สำหรับเงื่อนไขของผู้ขอรับสิทธิตามมาตรการส่งเสริมต้องทำสัญญากับกรมสรรพสามิตก่อนการขอใช้สิทธิผลิตรถยนต์กระบะประเภท BEV ทั้งนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ที่กรมสรรพสามิตประกาศกำหนด โดยผู้ขอรับสิทธิต้องเป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรม ผู้ขอรับสิทธิต้องยื่นโครงสร้างราคาขายปลีกแนะนำกับกรม สรรพสามิตเพื่อพิจารณา สำหรับรถยนต์กระบะประเภท BEV ที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท ผู้ขอรับสิทธิต้องผลิตหรือใช้แบตเตอรี่ที่ผลิตหรือประกอบใน ประเทศ โดยต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
3.รถจักยานยนต์กรณีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 150,000 บาท ได้สิทธิประโยชน์เงินอุดหนุนคันละ 18,000 บาท ทั้ง CKD และ CBU ระหว่างปี 2565-2568
อย่างไรก็ตาม รถกระบะ ต้องผลิตในประเทศเท่านั้น จึงได้สิทธินี้ รถยนต์และรถจักรยานยนต์นำเข้าได้ แต่ปีที่ 3 ต้องผลิตในประเทศ
อ้างอิง กรุงเทพธุรกิจ
Sign in to read unlimited free articles