เผยเคล็ดลับการสร้างธุรกิจด้าน Deep Tech ให้สำเร็จ กับ Hello Tomorrow และ BCG | Techsauce

เผยเคล็ดลับการสร้างธุรกิจด้าน Deep Tech ให้สำเร็จ กับ Hello Tomorrow และ BCG

Deep Tech มีความเกี่ยวข้องกับแนวทางใหม่ที่จะเข้าถึงนวัตกรรม และจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิด ‘คลื่นนวัตกรรมลูกใหม่’ ในขณะที่ชื่อของ Deep Tech ถูกกล่าวถึงมากขึ้น มันก็มีการพัฒนารูปแบบที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้นไปด้วย

ในบทความนี้ จะเป็นการสรุปภาพรวมของ Deep Tech จากงานสัมนาของ Hello Tomorrow Asia Pacific ในหัวข้อ The Deep Tech Difference: Best Practices for Building Successful Deep Tech Ventures ซึ่งได้กล่าวถึงวิวัฒนาการของนวัตกรรม จนมาเป็นคลื่นลูกใหม่ ที่เรียกว่าคลื่น DeepTech แนวทางในการพัฒนานวัตกรรมจาก DeepTech พร้อมกับแนะคุณลักษณะสำคัญที่จะต้องมีหาก DeepTech ต้องการที่จะประสบความสำเร็จ ในขณะเดียวกันก็สามารถขับเคลื่อนระบบนิเวศของ DeepTech ไปได้ เพราะ Deep Tech จะเป็นสิ่งใหม่ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกได้มากกว่าอินเทอร์เน็ต

คลื่นนวัตกรรมลูกที่ 4 จุดเริ่มต้นของ Deep Tech

Deep Tech เปรียบได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ คลื่นนวัตกรรมลูกต่อไป หรือ คลื่นลูกที่ 4 (The 4th Wave of Innovation) ซึ่งจะส่งผลให้อุปสรรคต่าง ๆ ในการสร้างนวัตกรรมลดลง ซึ่งที่ผ่านมา คลื่นแต่ละลูกได้มีการพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมที่แตกต่างกันไป ดังนี้

  • คลื่นลูกที่ 1 ประกอบไปด้วยนวัตกรรมจากช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2

  • คลื่นลูกที่ 2 เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งสงครามนั้นได้ส่งผลให้เกิดนวัตกรรมขึ้นมามากมาย โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการวิจัยและทดลองภายในห้องแลปขององค์กรใหญ่ ๆ อย่าง IBM และ Xerox

  • คลื่นลูกที่ 3 เกิดขึ้นหลังจากการวิจัยและทดลองในห้องแลปขององค์กรใหญ่เริ่มลดลง และเกิดเป็นองค์กรเล็ก ๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุน VC ซึ่งต่อมาได้เรียกว่าเป็น Silicon Valley Model ที่นวัตกรรมจะเน้นไปที่ IT ระบบดิจิทัล และเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) และคลื่นลูกนี้เองที่ทำให้คนได้รู้จักกับองค์กรอย่าง Apple, Microsoft, Google และ Facebook

  • จากคลื่นทั้ง 3 ลูก ทำให้ตอนนี้เราจะได้เริ่มต้นเข้าสู่ยุคของคลื่นลูกที่ 4 ซึ่งคลื่นลูกนี้ จะเป็นคลื่นลูกที่แตกต่าง นวัตกรรมต่าง ๆ จะเกิดจากการรวมกันของโลกดิจิทัล (ในที่นี้ผู้เขียนเรียกว่า Bits) และโลกจริง (ผู้เขียนเรียกว่า Atoms) และนวัตกรรมเหล่านี้จะเกิดขึ้นจากหลากหลายแนวทาง

แนวทางที่จะช่วยให้ Deep Tech ประสบความสำเร็จ

Deep Tech ไม่ได้เกี่ยวข้องแค่เพียงเทคโนโลยี แต่ Deep Tech คือ แนวทางใหม่ที่จะทำให้เกิดนวัตกรรม

  • Deep Tech คือ การผสานระหว่างแนวทาง รวมทั้งเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมผ่าน วงจรการออกแบบ-สร้าง-ทดสอบ-เรียนรู้ (Design-Build-Test-Learn Cycle: DBTL) ที่จะทำให้การพัฒนานวัตกรรมเป็นไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

  • DeepTech กับการผสานแนวทางต่าง ๆ จนเกิดเป็นนวัตกรรม: จะเป็นการสร้างนวัตกรรมที่รวมเอาทักษะและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Science) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering)  และการออกแบบ (Design) มาใช้ตั้งแต่เริ่มต้นขั้นตอนแรก ตั้งแต่การมองหาปัญหาที่เกิดขึ้น ไปจนถึงการหาคอนเซ็ปต์วิธีการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้

  • DeepTech กับการผสานเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการสร้างนวัตกรรม: เมื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ มาผสาน และทำงานร่วมกัน ช่องวางด้านด้านนวัตกรรมก็จะลดลง ปัญหาที่ไม่สามารถในอดีต ก็มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่จะแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ และยังเพิ่มความสามารถในการค้นหาแนวทางใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหา

  • สำหรับวงจร DBTL คือ ขั้นตอนการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ลดความเสี่ยงลงได้ และช่วยเร่งความเร็วในการพัฒนานวัตกรรมนั้น ๆ ได้ ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยเร่งให้สามารถเจอโซลูชันที่เหมาะสมกับปัญหาที่เจอได้ 

  • และเพื่อจะทำให้มีการรับเอาแนวทางการสร้าง DeepTech เกิดขึ้น ให้ลองนำเอาคำถาม 4 ข้อต่อไปนี้ ไปเป็นตัวช่วย

    • ยังมีมุมไหนที่ยังไม่ได้มองอีกบ้างไหม ?

    • จะสร้างตัวต้นแบบ (Prototype) ได้อย่างรวดเร็วหรือไม่ ?

    • มันจะทำงานได้จริงไหม ?

    • แล้วจะทำอย่างไรให้มันเติบโต ขยายออกไปได้ ?

  • จากคำถาม 4 ข้อนี้ จะช่วยให้เกิด DeepTech ขึ้นได้ หากมีคำตอบของทั้ง 4 ข้อเกิดขึ้นพร้อมกัน ตัวอย่างเช่น หากตอบคำถามได้เพียง 3 ข้อ ขาดแต่ข้อที่ว่า นวัตกรรมตัวนั้นไม่สามารถ Scale หรือเติบโตออกไปได้ คำตอบสำหรับข้ออื่น ๆ ก็สูญเปล่า เพราะหากขาดข้อใดข้อหนึ่งไป ก็จะเท่ากับว่าเสียทั้งเวลา เสียทั้งต้นทุน และเสียทั้งทรัพยากรในหารพัฒนาไปอย่างเปล่าประโยชน์

4 คุณลักษณะของ Deep Tech

Deep Tech จะต้องมี 4 คุณลักษณะ ดังนี้:

  • Deep Tech จะสร้างนวัตกรรมที่อิงจากปัญหาที่เกิด และไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว

  • Deep Tech จะผสานการทำงานของเทคโนโลยีรูปแบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยพบว่า 96% ของ Deep Tech จะใช้เทคโนโลยีอย่างน้อย 2 อย่าง และ 66% จะใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมากกว่า 1 อย่าง

  • Deep Tech จะสร้างขึ้นมาบนความก้าวหน้าของดิจิทัล โดย DeepTech นี้จะเข้ามาเปลี่ยนนวัตกรรมต่าง ๆ จากที่อยู่ในโลกดิจิทัล ให้เข้ามามีบทบาทในโลกจริงด้วย ซึ่งจะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นทางกายภาพ มากกว่าที่จะพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยพบว่า 83% ของ Deep Tech กำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์อยู่ด้วย

  • Deep Tech จะต้องพึ่งพาระบบนิเวศน์ที่เชื่อมต่อถึงกัน (Interconnected Ecosystem) และจะต้องทำให้มันเติบโตต่อไปได้

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่ต้องการจะลุยสนาม Deep Tech ควรจะมองสถานการณ์ต่าง ๆ ในมุมกว้างอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันก็จะต้องโฟกัสไปที่ปัญหาเชิงลึกที่มีอยู่ด้วย 

จากความท้าทายดังกล่าว เพื่อช่วยองค์กรไทยในการก้าวข้อข้อจำกัดในการลงทุนและพัฒนา Deep Tech ทาง Techsauce จึงได้มีการร่วมมือกับ Hello Tomorrow เดินหน้ายกระดับประสิทธิภาพองค์กรด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีขั้นสูง หรือ Deep Tech โดยการเชื่อมโยงองค์กรในประเทศไทยกับกลุ่ม Deep Tech Startups ผ่านการร่วมมือทั้งในรูปแบบพันธมิตรและการเข้าลงทุน สนใจติดต่อได้ที่ [email protected] 

======================

สรุปประเด็นจากการเสวนาระหว่าง 

Massimo Portincaso, Chairman, Hello Tomorrow

Arun Narayanaswamy, Co-founder and Head of Products, SmartHub.ai

Roy Tharakan, Regional Director - Commercial Excellence, Cargill

Somsubhra Gan Choudhuri, Co-Founder & CEO, AI Palette

Ernest Xue, Head, Hello Tomorrow Asia Pacific

 ซึ่งจัดขึ้นโดย  Hello Tomorrow Asia Pacific และ SGInnovate เป็นพันธมิตรกับ  OVHcloud

=======================

ที่มา: Hello Tomorrow APAC




Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

VC เผยวิธีมองสตาร์ทอัพให้ขาด ก่อน ORZON Ventures เข้าไปลงทุน

คุยกับ 'คุณณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล ผู้อำนวยการการลงทุน ORZON Ventures' เรื่องการทำงานระหว่าง OR กับ 500 TukTuks, เกณฑ์การพิจารณาสตาร์ทอัพที่น่าลงทุน, เหตุที่บางดีลเกิด/ไม่เกิด รวม...

Responsive image

ติววิชา Sustainability ก่อนมุ่งสู่ ‘ESG Report’ คอนเทนต์ที่สตาร์ทอัพควรอ่าน จากงาน ESG ESSENTIAL WORKSHOP

Key Messages เกี่ยวกับ Sustainability & ESG จากงานสัมมนา ESG ESSENTIAL WORKSHOP: Navigating Sustainability for Post-Revenue Startups ในโครงการ KATALYST by KBank โดย Beacon VC...

Responsive image

ปรับองค์กรสู่ Digital Future เริ่มที่ ‘คน’ หรือ ‘เทคโนโลยี’ ฟัง NTT DATA ผู้เชี่ยวชาญ Digital Transformation

บทความนี้ Techsauce จะพาไปหาคำตอบว่า…ทำไมทรัพยากรคนถึงมีผลต่อ Digital Transformation และองค์กรควรรับมืออย่างไร?...