ปริญญา AI จำเป็นมากแค่ไหน? มหาลัยเพิ่มหลักสูตร AI ตอบสนองความต้องการตลาดงาน | Techsauce

ปริญญา AI จำเป็นมากแค่ไหน? มหาลัยเพิ่มหลักสูตร AI ตอบสนองความต้องการตลาดงาน

เราจำเป็นต้องมีปริญญา AI ไหม ? ในยุคที่ความต้องการของผู้มีทักษะด้าน AI พุ่งสูงขึ้น ส่งผลให้หลายมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ ได้เพิ่มหลักสูตรด้าน AI 4 ปี แบบเฉพาะทาง ซึ่งแตกต่างจากหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่เคยเรียนกันแบบเดิมๆ 

เพราะความต้องการของผู้มีทักษะด้าน AI ไม่มีที่สิ้นสุด

หลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับ AI เติบโตอย่างมากนับตั้งแต่ปี 2011 ความนิยมแซงหน้าหลักสูตรด้านอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด และมีผู้ที่จบการศึกษาในวุฒิที่เกี่ยวข้องกับ AI เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก สะท้อนถึงความต้องการผู้มีความสามารถในอุตสาหกรรมด้าน AI เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และกำลังได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน 

เมื่อการมีใบปริญญาคือความได้เปรียบ

โอกาสสำหรับงานในด้าน AI มีมาก และยังคงต้องการเพิ่มมากขึ้น ในยุคที่หลายธุรกิจปรับตัวนำ AI เข้ามาใช้เป็นส่วนหนึ่ง หลายบริษัทจึงยินดีที่จะรับผู้ที่ไม่ได้มีปริญญาตรงสายแต่มีความสามารถ ส่งผลคอร์สเรียนด้าน AI จาก Dataquest และ Coursera เพื่อเอาประกาศนียบัตร เป็นอีกทางเลือกที่ได้รับความนิยมสำหรับการสร้างทักษะสำหรับผู้ไม่มีเวลาหรือเพิ่มทักษะจากที่มี

แต่อย่างไรก็ตาม การเรียนจบปริญญาหลักสูตร 4 ปี ก็ยังถือว่าเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญ วุฒิการศึกษายังคงมีความสำคัญต่อคุณสมบัติในการทำงาน และนายจ้างมักให้ความสำคัญกับผู้สมัครที่มีปริญญารองรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับงานที่ให้รายได้สูงสุด 

ปริญญา AI ในประเทศไทยมีไหม ?

ทางด้านประเทศไทยเองก็เริ่มเปิดสอนหลักสูตรการเรียนปริญญาที่เกี่ยวข้องกับ AI แล้วเช่นเดียวกัน ในปี 2022 ได้มีการจัดตั้ง ‘สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI Engineering Institute: AIEI)’ โดย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังและมหาวิทยาลัย CMKL และร่วมมือจาก 4 มหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเป็นแกนกลางในการช่วยประสานงานระหว่างเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อร่วมกันจัดการศึกษา แบ่งปันทรัพยากร เเละเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยในเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

ตอบสนองเป้าหมายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แผน AI แห่งชาติ ในการสร้างทรัพยากรบุคคลของประเทศที่มีศักยภาพตามสาขาความต้องการด้าน AI เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ต่อปี หรือประมาณ 7 แสนคน ภายใน 7 ปี

แต่หลักสูตร AI อาจจะไม่ได้เหมาะกับทุกคน

หลักสูตร AI  มีเนื้อหาที่เฉพาะกว่าวิทยาการคอมพิวเตอร์ทั่วไป โดยเน้นไปที่หัวข้อต่างๆ เช่น machine learning การเขียนโปรแกรม การวิเคราะห์ข้อมูล และวิทยาการหุ่นยนต์ขั้นสูง เป็นต้น ด้วยความเฉพาะทางของหลักสูตรที่ตรงกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน หลักสูตรนี้ถือเป็นจุดเด่นที่ได้เปรียบคู่แข่งคนอื่น ๆ

ถึงแม้การมีปริญญาถือเป็นข้อได้เปรียบ แต่หลักสูตร AI มีข้อที่ต้องพิจารณาในด้านความรู้ที่อาจดูเฉพาะทางมากจนเกินไป ซึ่งอาจทำให้พัฒนาไม่ทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเร็วในอนาคต 

ดังนั้นการเรียนรู้พื้นฐานที่จำเป็นอย่าง STEM ให้แน่น รวมถึงผู้ที่กำลังเรียนทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ควรเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ AI และ Data Science อยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยปูทางสร้างโอกาสให้ผู้เรียนสามารถนำไปต่อยอดในสายงานด้านเทคโนโลยีได้กว้างกว่า

อ้างอิง: cnbc, cmkl

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

VC เผยวิธีมองสตาร์ทอัพให้ขาด ก่อน ORZON Ventures เข้าไปลงทุน

คุยกับ 'คุณณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล ผู้อำนวยการการลงทุน ORZON Ventures' เรื่องการทำงานระหว่าง OR กับ 500 TukTuks, เกณฑ์การพิจารณาสตาร์ทอัพที่น่าลงทุน, เหตุที่บางดีลเกิด/ไม่เกิด รวม...

Responsive image

ติววิชา Sustainability ก่อนมุ่งสู่ ‘ESG Report’ คอนเทนต์ที่สตาร์ทอัพควรอ่าน จากงาน ESG ESSENTIAL WORKSHOP

Key Messages เกี่ยวกับ Sustainability & ESG จากงานสัมมนา ESG ESSENTIAL WORKSHOP: Navigating Sustainability for Post-Revenue Startups ในโครงการ KATALYST by KBank โดย Beacon VC...

Responsive image

ปรับองค์กรสู่ Digital Future เริ่มที่ ‘คน’ หรือ ‘เทคโนโลยี’ ฟัง NTT DATA ผู้เชี่ยวชาญ Digital Transformation

บทความนี้ Techsauce จะพาไปหาคำตอบว่า…ทำไมทรัพยากรคนถึงมีผลต่อ Digital Transformation และองค์กรควรรับมืออย่างไร?...