ไทย ดัน Capital Gains Tax ดึงเงินลงทุนต่างชาติ สร้าง Startup Ecosystem ชิงเป็น Hub ต่อจากสิงคโปร์ | Techsauce

ไทย ดัน Capital Gains Tax ดึงเงินลงทุนต่างชาติ สร้าง Startup Ecosystem ชิงเป็น Hub ต่อจากสิงคโปร์

ประเทศไทย กำลังมองหาการพัฒนาอุตสาหกรรมสำหรับสตาร์ทอัพที่พึ่งเริ่มต้นด้วยการจำลองโมเดลของสิงคโปร์ที่เป็น Hub ของการบ่มเพาะผู้ประกอบการชั้นนำในภูมิภาคนี้ ซึ่งแนวคิดรวมถึงแรงบันดาลใจนี้ เริ่มเห็นได้จากการเคลื่อนไหวของรัฐบาลไทยในการสร้างเส้นทางให้บริษัทร่วมทุนและนักลงทุนรายอื่นๆ ได้รับการจูงใจจากกฎหมาย Tax-fee capitals gain ที่บังคับใช้เมื่อมิถุนายนปีที่แล้ว สำหรับการลงทุนในสตาร์ทอัพ ในประเทศไทยกับบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย อย่าง Automotive Technology , Smart Technology, Biotechnology เป็นต้น

สำหรับสิงคโปร์นั้นได้สั่งสมความสำเร็จในการปั้นสตาร์ทอัพชั้นนำมาหลายทศวรรษ โดยเฉพาะในช่วง 1990 ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมมือการโดยมีเป้าหมายในการสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่คล้ายคลึงกับ Silicon Valley ถึงแม้จะยังไม่มี Capital Gains Tax ก็ตาม

Gempei Asama ผู้จัดการอาวุโสของ Deloitte Tohmatsu Group กล่าวว่า “สิงคโปร์มีแนวโน้มในการดึงดูดเงินลงทุน จากความได้เปรียบเมื่อนักลงทุนออกจากตลาด”

ซึ่ง StartupBlink หน่วยข่าวกรองทางด้านการตลาดของอิสราเอลชี้ว่า สิงคโปร์ถือเป็นประเทศในเอเชียอันดับต้นๆ ที่มีเศรษฐกิจหมุนเวียนอยู่ในระบบนิเวศของสตาร์ทอัพ โดยจัดอันดับอยู่ที่ อันดับที่ 6 แซงหน้าจีนในอันดับที่ 12 และญี่ปุ่นในอันดับที่ 18 ซึ่งมีหลากหลายปัจจัยที่ทำให้สิงคโปร์เป็นดันดับต้นๆ ของ Startup Ecosystem ได้แก่

  1. การคอรัปชั่นที่ต่ำ
  2. การใช้เอกสารที่ไม่ยุ่งยาก
  3. จำนวนประชากรที่มีความสามารถทางภาษาอังกฤษจำนวนมาก

ทำให้การทำธุรกิจในสิงคโปร์ได้เปรียบว่าการทำธุรกิจกับประเทศในแถบตะวันตก

ในขณะที่ประเทศไทย สำหรับ Startup Ecosystem อยู่ในอันดับที่ 52 ต่ำกว่าอินโดนีเซียที่อยู่ในอันดับ 41 และมาเลเซียอันดับที่ 43 แม้ว่าประเทศไทยจะดำเนินการในการพัฒนาอุตสาหกรรมสตาร์ทอัพในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ก็ดูเหมือนจะยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่นัก โดย Deloitte ได้ระบุถึงความท้าท้ายของ Startup Ecosystem ในประเทศไทยไว้ 13 ประการ ที่รวมถึง การมีอยู่ของผู้ขายน้อยราย (Oligopoly Market) การขาดแคลนนักลงทุน และทรัพยากรมนุษย์ที่มีทักษะสูงเพียงน้อยนิด แต่จากรายงานของ DealStreetAsia การมี Capital Gains Tax ได้กระตุ้นการลงทุนในสตาร์ทอัพไทย ได้ถึง 530 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรก ซึ่งมากกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปี 2019 ก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19

‘Roojai’ หรือ ‘รู้ใจ ประกันออนไลน์’ InsurTech Startup ของประเทศไทยสามารถระดมทุนได้ 42 ล้านดอลลาร์ในรอบการระดมทุนที่นำโดยกลุ่มประกันภัยจากเยอรมนี HDI International ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ในส่วนของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ก็มีแผนที่จะเปิดตัวกองทุนสำหรับสตาร์ทอัพ ที่เริ่มต้นที่ 28.7 ล้านดอลลาร์ (หรือราวๆ 1 พันล้านบาท) ในเดือนกันยายน ซึ่งมีผู้ให้กู้เป็นบริษัทย่อยของ Mitsubishi UFJ Financial Group ของญี่ปุ่นและคาดว่าจะมีนักลงทุนประมาณ 50 รายเข้าร่วม โดยมีวัตถุประสงค์หลักของกองทุนคือสร้าง Startup Ecosystem ในประเทศไทย ซึ่ง คุณแซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ กรุงศรี ฟินโนเวต กล่าวว่าจะจัดโครงการในการสนับสนุนสตาร์ทอัพไทยและเชิญผู้ประกอบการ และผู้บริหารจากบริษัทชั้นนำมาให้ความรู้ด้วย

ในอีกแง่หนึ่ง ประเทศไทยขึ้นชื่อในเรื่องของเอกสารที่ซับซ้อนและบรรทัดฐานในการเริ่มต้นธุรกิจ ไม่มีหน่วยงานกลางในการจัดการบริษัทใหม่ๆ ผู้ประกอบการจึงจำเป็นที่จะต้องส่งเอกสารไปยังหน่วยงานต่างๆ ด้วยตัวเอง เพราะภาครัฐกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องส่งเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรและกว่าจะอนุมัติก็ใช้เวลาไปหลายปีเช่นกัน

“ในการทำธุรกิจใหม่ในประเทศไทย จำเป็นต้องมีคอนเนคชั่นกับเจ้าหน้าที่รัฐ” ผู้บริหารบริษัทร่วมทุนแห่งหนึ่งกล่าวไว้

ประเทศไทยยังมีพื้นที่อีกมากที่จะครอบคลุมการสนับสนุนผู้ประกอบการ โดย Startup Program ได้เริ่มต้นขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2017 แล้ว แต่ก็ยังตามหลังสิงคโปร์ที่ National University of Singapore ได้เริ่มต้น Startup Program อย่างเต็มรูปแบบ ตั้งแต่ปี 2010 และได้สนับสนุนถึง 25% ในการช่วยเหลือสตาร์ทอัพในประเทศระยะแรกๆ ตามที่ Deloitte รายงาน


อ้างอิง

NIKKEI Asia


Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

AirAsia MOVE ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ สู่ผู้นำแพลตฟอร์มเดินทาง OTA แบบคุ้มครบจบในแอปเดียว พร้อมแพ็กเกจบินทั่วอาเซียนแบบไม่จำกัด

airasia Superapp ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ในชื่อ AirAsia MOVE พร้อมปรับโฉมแอปพลิเคชันใหม่ และเสริมกลยุทธ์ด้านธุรกิจเพื่อผลักดันให้ AirAsia Move เป็นผู้นำด้านแพลตฟอร์ม OTA (ตัวแทนด้านก...

Responsive image

คนไทยไปญี่ปุ่น เตรียมสแกนจ่ายได้ ผ่านระบบ QR Code คาดเริ่มเมษาปีหน้า

สำนักข่าว Nikkei Asia รายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นได้เริ่มพูดคุยกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อเปิดใช้งานบริการชำระเงินผ่าน QR Code ร่วมกัน ช่วยให้นักท่องเที่ยวใช้จ่ายสะดวกสบาย ไ...

Responsive image

Jitta ก้าวสู่ปีที่ 12 เดินหน้าแก้วิกฤตการเงิน หนุนคนไทยออมและลงทุนอัตโนมัติ

Jitta เข้าสู่ปีที่ 12 เติบโตอย่างแข็งแกร่งบนเป้าหมายที่จะสร้างนวัตกรรมทางการเงิน เพื่อช่วยให้คนไทยเข้าถึงการลงทุนที่ง่ายและสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า...