เจาะลึกกลยุทธ์การบุกเข้าสู่ตลาดจีน สำหรับบริษัทเทคฯ และสตาร์ทอัพไทยต้องทำอย่างไร | Techsauce

เจาะลึกกลยุทธ์การบุกเข้าสู่ตลาดจีน สำหรับบริษัทเทคฯ และสตาร์ทอัพไทยต้องทำอย่างไร

โอกาสทำธุรกิจในระดับโลก นับเป็นความท้าทายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาแห่งการลงทุนในปัจจุบันนี้ ซึ่งตลาดจีนนับเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดทั้งด้านของมูลค่าทางเศรษฐกิจและประชากร การเข้าใจเทรนด์และความต้องการของผู้บริโภค รวมไปถึงเทคนิคในการขยายธุรกิจไปสู่ตลาดจีนได้อย่างมั่นคง จึงเป็นสิ่งที่บริษัทเทคโนโลยีและนักธุรกิจต้องให้ความสนใจอย่างยิ่ง

คุณ William Bao Bean SOSV General Partner และ Managing Director แห่ง Chinaccelerator ซึ่งเป็น VC ระดับโลกอีกทั้งยังเป็นนักลงทุนผู้มีประสบการณ์ลงทุนระดับโลกและนักธุรกิจผู้ทำธุรกิจในประเทศจีนมาอย่างยาวนาน ได้ร่วมเป็น Speaker ในงาน Techsauce Global Summit 2022 ภายใต้หัวข้อ “China Market Entry Strategy: How Tech Company Enter the Chinese Market”

ตอนนี้จีนกำลังจะกลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก และด้วยความแตกต่างทางวัฒนธรรม แนวคิด และพฤติกรรมผู้บริโภค ทำให้การจะเข้าสู่ตลาดภายในประเทศจีนนั้นมีความท้าทายที่ยากมาก และต้องเลือกธุรกิจที่จะเข้าให้ดี 

คุณ William กล่าวว่าตอนนี้ธุรกิจที่มีศักยภาพและเป็นที่จับตาในจีนนั้น ได้แก่ธุรกิจด้านสุขภาพและ  Telemedicine ด้วยจำนวนประชากรที่มากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกทำให้มีความต้องการบริการทางด้านสุขภาพ รวมถึงมีบริษัทประกันที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลกด้วยเช่นกัน 

ต่อมาในเรื่องของธุรกิจการศึกษาเนื่องจากมาตรการกฎหมายใหม่ทำให้ธุรกิจการเรียนเสริมนอกห้องเรียนกลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ส่งผลให้สตาร์ทอัพยูนิคอร์นด้านการศึกษาในประเทศรวมถึงธุรกิจด้านการสอนประเภทนี้ถูกปิดตัวลงอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกันกับธุรกิจด้านบริการทางการเงิน การลงทุนในตลาดหุ้น การลงทุนในกองทุนรวม การควบคุมอย่างเข้มงวดและยากมาก และต้องแข่งขันกับบริษัทเจ้าใหญ่ของจีนอย่าง อาลีบาบาและ Tencent ซึ่งมีต้นทุนการแข่งขันที่ดีกว่า ทำให้ธุรกิจทางด้านการเงินนั้นเข้าแข่งขันยากมากยิ่งขึ้น

“ในด้านของธุรกิจเกมตอนนี้มีความพยายามแข่งขันในเรื่องของลิขสิทธิ์เกมจำนวนมาก กระจายเข้าสู่ผู้ประกอบการรายย่อย จึงถือเป็นดอกาสในการเข้าแข่งขัน แต่ก็ต้องระวังเรื่องของกฎหมายที่อาจเปลี่ยนไปในอนาคต”

อีคอมเมิร์ซเป็นพื้นที่หนึ่งที่สตาร์ทอัพระหว่างประเทศหรือบริษัทต่างชาติเข้ามามีส่วนร่วมจำนวนมาก เพราะความต้องการบริโภคและด้วยนโยบายการล็อคดาวน์ประเทศอย่างเข้มข้นของจีน ทำให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างมาก และไม่ได้เพียงแค่การซื้อของภายในประเทศ แต่ยังรวมถึงสินค้าจากต่างประเทศที่สามารถหาได้ในประเทศจีน

ประเทศจีนบริโภคสินค้าอยู่ที่ประมาณ 40% ของสินค้าฟุ่มเฟือยทั่วโลก ซึ่งในจำนวนนี้กว่า 40% เป็นสินค้าที่ซื้อจากต่างประเทศเนื่องจากกำแพงภาษีทำให้ซื้อจากต่างประเทศถูกกว่า แต่กลับมีเที่ยวบินไปจีนเพียง 42 เที่ยวบินต่อสัปดาห์เท่านั้น เพราะด้วยสถานการณ์โควิด ทำให้กลายเป็นโอกาสที่จะขายสินค้าที่เคยเป็นที่ต้องการได้ 

ตอนนี้หลายแพลตฟอร์มต่างลงทุนอย่างหนักเพื่อเข้าสู่ตลาดอีคอมเมิร์ซจีนให้ได้แม้ว่าจะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากและยังไม่สามารถคืนทุนได้ก็ตาม หัวใจสำคัญที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจนี้ได้ก็คือข้อมูล อาลีบาบาและ Tencent ต่างเปิดเผยข้อมูลของตัวเองแต่กลับไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ ซึ่งเป็นเพราะแต่ละเพลตฟอร์มต่างนำเสนอข้อมูลแต่เพียงของตัวเอง ทำให้ไม่สามารถเทียบข้ามแพลตฟอร์มได้ การจะสามารถแข่งขันในประเทศจีนได้ทำให้ทุกบริษัทต่างก็มี AI ของตัวเองเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล เปรียบเทียบตลาดกับคู่แข่งอื่น ๆ แบบเรียลไทม์ หรือช่วยในการพูดคุยกับลูกค้าได้

“Supply chain Logistic Data AI เป็นความได้เปรียบที่บริษัทต่างชาติมีมากกว่าจีน”

40% ของบริษัทขนาดใหญ่ทั่วโลกเชื่อว่าจีนจะเป็นตลาดรายได้อันดับหนึ่งของโลก ในขณะที่จีนกำลังเติบโต ในไม่ช้าก็จะเป็นประเทศเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของโลก ดังนั้นจึงน่าจะเป็นตลาดที่สร้างรายได้อันดับหนึ่งให้กับบริษัทด้วย 

ซึ่งการแข่งขันกันระหว่างบริษัทต่างชาติกับบริษัทท้องถิ่นเองก็มีการเปลี่ยนไป จากเมื่อก่อนรัฐบาลจีนสนับสนุนให้ต่างชาติเข้ามาตั้งบริษัทในประเทศอย่างมากก็ได้เปลี่ยนเป็นให้การสนับสนุนบริษัทท้องถิ่นมากขึ้น ทำให้ตอนนี้หากต้องการเข้าสู่ตลาดก็ต้องมีการสร้างความร่วมมือหรือเป็นพันธมิตรกับบริษัทท้องถิ่นให้ได้ ซึ่งคุณวิลเลียมกล่าวอีกว่า เมื่อคุณขายให้กับบริษัทในประเทศจีน การขายให้กับบริษัทเดียวกันทั่วทั้งเอเชียจะง่ายขึ้นมาก

นอกจากนี้การเกิดขึ้นของ Metaverse เองก็กำลังเป็นเทรนด์ที่พูดถึงอย่างมากในจีน ซึ่งกว่า 78% ของผู้คนในจีนรู้สึกตื่นเต้นเกี่ยวกับ metaverse สูงกว่าประชากรของประเทศอื่น ๆ มาก ดังนั้นจึงมีโอกาสในธุรกิจเสมือนจริงนี้ และมีการลงทุนจำนวนมาก 

โดยผู้เล่นรายใหญ่ทั้งหมด เช่น Tencent Alibaba Baidu แต่ยังมีโอกาสสำหรับสตาร์ทอัพรายใหม่อีกด้วย ปีที่แล้วธุรกิจ Virtual Reality มีมูลค่า 8 พันล้านเหรียญสหรัฐในจีน ซึ่งเติบโตอย่างรวดเร็วมาก สุดท้ายสิ่งสำคัญที่นักธุรกิจจะเข้าไปในตลาดจีนต้องระวังก็คือเรื่องของข้อกำหนด ซึ่งอาจจะเปลียนแปลงได้ทุกเมื่อ ดังนั้นจึงอยากให้ทุกคนเตรียมความพร้อมสำหรับทุกการเปลี่ยนแปลง

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

VC เผยวิธีมองสตาร์ทอัพให้ขาด ก่อน ORZON Ventures เข้าไปลงทุน

คุยกับ 'คุณณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล ผู้อำนวยการการลงทุน ORZON Ventures' เรื่องการทำงานระหว่าง OR กับ 500 TukTuks, เกณฑ์การพิจารณาสตาร์ทอัพที่น่าลงทุน, เหตุที่บางดีลเกิด/ไม่เกิด รวม...

Responsive image

ติววิชา Sustainability ก่อนมุ่งสู่ ‘ESG Report’ คอนเทนต์ที่สตาร์ทอัพควรอ่าน จากงาน ESG ESSENTIAL WORKSHOP

Key Messages เกี่ยวกับ Sustainability & ESG จากงานสัมมนา ESG ESSENTIAL WORKSHOP: Navigating Sustainability for Post-Revenue Startups ในโครงการ KATALYST by KBank โดย Beacon VC...

Responsive image

ปรับองค์กรสู่ Digital Future เริ่มที่ ‘คน’ หรือ ‘เทคโนโลยี’ ฟัง NTT DATA ผู้เชี่ยวชาญ Digital Transformation

บทความนี้ Techsauce จะพาไปหาคำตอบว่า…ทำไมทรัพยากรคนถึงมีผลต่อ Digital Transformation และองค์กรควรรับมืออย่างไร?...