TCP Sustainability Forum 2023 เผยแผนชัดๆ เน้นๆ บรรจุภัณฑ์รีไซเคิลได้ 100% ในปีหน้า และบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนได้ภายในปี 2030 | Techsauce

TCP Sustainability Forum 2023 เผยแผนชัดๆ เน้นๆ บรรจุภัณฑ์รีไซเคิลได้ 100% ในปีหน้า และบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนได้ภายในปี 2030

การจัดอันดับประเทศต่างๆ ทั่วโลก ถ้าเป็นเรื่องราวดีๆ ก็น่ายินดีและภาคภูมิใจ แต่ถ้าเป็นการจัดอันดับ ประเทศใดมีความเสี่ยงสูงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ชื่อประเทศไหนติด Top 10 ก็น่าหวาดหวั่นทั้งนั้น รวมถึง ประเทศไทย ถูกจัดอยู่ในอันดับ 9 จาก 180 ประเทศทั่วโลก โดยภายในงาน TCP Sustainability Forum 2023: Net Zero Transition “From Commitment to Action” คุณสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ TCP ยกประเด็นเรื่อง 'ประเทศที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ' มาตอกย้ำให้เห็นว่า คนไทย องค์กรไทย ต้องตระหนักถึงภาวะโลกเดือด วางแผนเพื่อรับมือโลกที่จะแปรปรวนยิ่งขึ้น และลงมือทำ (Action) เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ตอนนี้ 

โลกเดือดกับการกำหนดทิศทางของ TCP

TCP

เพื่อลดความรุนแรงและอัตราเร่งที่จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หลายประเทศจึงออกนโยบายและแผนงานเพื่อร่วมลดการปล่อยคาร์บอน และจากที่เปิดให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินการเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนแบบ 'สมัครใจ' แต่กลับไม่เกิดประโยชน์อย่างที่ควร หลายประเทศจึงออกข้อกำหนดที่เป็นทางการ รวมถึงมาตรการบังคับใช้เพื่อให้แต่ละฝ่ายร่วมกันลดความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ

ในประชุมด้านความยั่งยืน TCP Sustainability Forum 2023: Net Zero Transition “From Commitment to Action” หรือ “การเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero จากพันธสัญญาสู่การปฏิบัติ” ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2566 คุณสราวุฒิให้ความสำคัญในด้านการ ‘ลงมือทำ’ ร่วมกันเพื่อวันที่ดีกว่า และ 'เร่งลงมือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์’ หรือ #NETZERO ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำให้สำเร็จได้ยากมากเพราะต้องทำได้ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) แต่ไม่ว่าจะยากเย็นเพียงใดก็ต้องกำหนดเป้าหมายและลงมือทำ สอดคล้องกับหลัก ESG อีกด้วย

TCP ให้ข้อมูลว่า รายงานล่าสุดของธนาคารโลก (2022) แนะนำทางออกให้ไทยเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจหรือ GDP เติบโตขึ้น 1.2% จากปีฐาน หรือเพิ่มขึ้น 0.1-0.2% ต่อปีภายในปี 2030 ซึ่งมีโอกาสสร้างงานได้ถึง 160,000 ตำแหน่ง

ภายในงานมีวงเสวนาแลกเปลี่ยนมุมมองต่อเศรษฐกิจหมุนเวียน แนวทางการปรับตัวขององค์กร และภาคธุรกิจจะช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านได้อย่างไร โดยมีผู้บริหารจาก 3 องค์กรขนาดใหญ่ที่มาร่วมบอกเล่าสถานการณ์ มุมมองเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์และการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม (Climate Positive) รวมถึงสิ่งจะทำต่อเพื่อนำพาธุรกิจก้าวไปสู่ Net Zero ได้แก่ คุณสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP คุณอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกิตติมศักดิ์ กลุ่มมิตรผล และ คุณธนวงษ์ อารีรัชชกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC 

TCP

บทความนี้นำเสนอแนวทางของ TCP โดยเฉพาะ โดยคุณสราวุฒิเริ่มต้นเล่าว่า กลุ่มธุรกิจ TCP เดินหน้าแคมเปญ 'ปลุกพลัง เพื่อวันที่ดีกว่า' โดยให้ความสำคัญกับการปลุกพลังห่วงใยสิ่งแวดล้อม (Caring) ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลัก และระบุเป้าหมายอย่างชัดเจน 4 ข้อ ดังนี้ 

  1. นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เป็นเลิศ: เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและเพื่อสุขภาพกับความเป็นอยู่ที่ดี

  2. ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน: TCP ตั้งเป้าพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สามารถรีไซเคิลได้ 100% ภายในปี 2024 หรือ พ.ศ. 2567 ทั้งการลดความหนาของกระป๋องอะลูมิเนียม การลดน้ำหนักบรรจุภัณฑ์ขวดแก้วและขวดพลาสติกเพื่อลดการใช้ทรัพยากร และจะศึกษากระบวนการรีไซเคิลขวดแก้วเพิ่มเติม เนื่องจากปริมาณของขวดแก้วที่นำกลับมาใช้ได้ใหม่นั้น น้อยกว่าที่ควรจะเป็น

  3. ส่งเสริมความเป็นกลางทางคาร์บอน: TCP มุ่งสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Economy) โดยตั้งเป้าบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 หรือ พ.ศ. 2593 

  4. ส่งเสริมการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน: เนื่องจาก TCP ดำเนินธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งในกระบวนการผลิตจำเป็นต้องใช้น้ำในปริมาณมาก บริษัทจึงตั้งเป้าลดการใช้ทรัพยากรน้ำ และคืนน้ำกลับสู่ธรรมชาติและชุมชนให้มากกว่าน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิต หรือที่เรียกว่า น้ำสุทธิเป็นบวก (Net Water Positive) ผ่านโครงการ 'โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย' ต่อเนื่องมานานหลายปี โดยสามารถนำน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดกลับไปให้ชุมชนใช้ 15 ล้านลูกบาศก์เมตร (สะสมระหว่าง พ.ศ. 2561 - 2565) และกำลังมุ่งสู่การทำให้น้ำสุทธิเป็นบวก 100% ภายในปี 2030 หรือ พ.ศ. 2573 

ทำไมการพัฒนา 'บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน' จึงสำคัญ

TCP เป็นผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ ทั้งสินค้าในกลุ่มเครื่องดื่มให้พลังงาน เครื่องดื่มเกลือแร่ เครื่องดื่มฟังก์ชันนัล ชาพร้อมดื่ม น้ำผลไม้ และขนมขบเคี้ยว ทั้งยังส่งเป็นสินค้าออกไปยังหลายประเทศทั่วโลก และสินค้าที่สร้างชื่อให้บริษัทมากที่สุดก็คือ กระทิงแดง 

อย่าลืมว่า การกระจายสินค้าออกไปในตลาดโลกต้องพึ่งพาการขนส่งและโลจิสติกส์ และตั้งแต่กระบวนการผลิตที่อยู่ต้นน้ำจนกระทั่งสินค้าถึงมือผู้บริโภคซึ่งอยู่ปลายน้ำ ก็ยังมีการปล่อยคาร์บอน ดังนั้น การพัฒนา 'บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน' จึงเป็นเรื่องสำคัญที่บริษัทต้องทำอย่างจริงจัง

ในงาน TCP Sustainability Forum 2023 คุณสราวุฒินำผลการดำเนินงานเพื่อลดการสร้างขยะบรรจุภัณฑ์ในปีก่อนและสิ่งที่ยังสานต่อมาเผยแพร่ ดังนี้

  • 1. ลดน้ำหนักบรรจุภัณฑ์ด้วยการดีไซน์
    • กระป๋องอะลูมิเนียม 10%
    • ฝากระป๋องอะลูมิเนียม 7%
    • ขวดแก้ว 21%
    • ขวดพลาสติก 9%

  • 2. ช่วยสร้างความยั่งยืนให้คู่ค้า (Sustainable Partners) ด้วยการนำร่องโครงการต้นแบบด้านการรับผิดชอบต่อบรรจุภัณฑ์ (EPR) 
    • IUCN จ.ระนอง
    • เก็บสะอาด 20 โครงการบ้านเอื้ออาทร

  • 3. ช่วยสร้างความยั่งยืนให้แก่พันธมิตรทางธุรกิจ (Business Partners) ผ่านการดำเนินงานในรูปแบบต่างๆ 
    • โครงการ Aluminium Loop กับ TBC - กระป๋องของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่จำหน่ายในประเทศไทยผลิตจากรีไซเคิลอะลูมีเนียม โดยสามารถนำกระป๋องเข้าสู่ระบบรีไซเคิลมากกว่า 63 ล้านใบ (803 ตัน) ซึ่งสามารถลดการปล่อยคาร์บอน 7,339 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี 
    • เปิดโรงงาน Crown TCP เพื่อบรรจุภัณฑ์ยั่งยืน
    • TBC Ball ประเทศเวียดนาม - การนำบรรจุภัณฑ์เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล (ยังอยู่ระหว่างการหารือ)

  • 4. ทำงานกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในภาคการค้าและอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมการจัดเก็บและรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์
    • สภาอุตสาหกรรม
    • สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย
    • สถาบันวิทยาการเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อผู้ประกอบการและผู้บริโภค

Mindset และ Net Zero

ด้านวิสัยทัศน์ในการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ Net Zero ของกลุ่ม TCP คุณสราวุฒิกล่าวว่า ต้องเริ่มจากการเปลี่ยน Mindset เปลี่ยนวิธีทำธุรกิจ เพื่อให้ 'เป็นตัวเราที่ดีกว่าเดิม'

"เราไม่ได้แข่งกับคนอื่นแต่เป็นการแข่งกับตัวเอง เราพยายามมองหาจุดร่วมระหว่างสิ่งที่จะต้องเปลี่ยนและตัวเราว่าจะพาตัวเองไปในทิศทางไหน โจทย์คือทำอย่างไรให้ธุรกิจเติบโตไปได้ ควบคู่กับการลดผลกระทบเชิงลบและเพิ่มผลกระทบเชิงบวกให้กับสิ่งแวดล้อมและสังคม ภายใต้เป้าหมายใหญ่ 'ปลุกพลัง เพื่อวันที่ดีกว่า' โดยมีเป้าหมายย่อยและแผนงานรองรับ รวมถึงประเมินผลการทำงานและปรับทิศการทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อการเปลี่ยนผ่านด้านการใช้พลังงาน” คุณสราวุฒิอธิบายเพิ่มอีกว่า

สำหรับกลุ่มธุรกิจ TCP โจทย์ของเราไม่ได้มองการเปลี่ยนผ่านไปสู่ Net Zero เท่านั้น แต่ต้องการรวมพลังภาคส่วนต่างๆ เปลี่ยนพันธสัญญาไปให้ถึงการ 'ลงมือปฏิบัติ' เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง มากกว่านั้นคือการสร้าง 'อัตราเร่ง' โดยจากนี้ต้องมีความชัดเจนในการเดินทางไปสู่การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ รวมถึงประเทศไทยที่ประกาศเป้าหมาย Net Zero ในปี 2065

คุณสราวุฒิยังให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมในตอนท้ายเรื่องการสร้างความยั่งยืน ซึ่งไม่ใช่แค่กลุ่มธุรกิจของ TCP ที่ต้องทำ แต่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนก็ต้องร่วมลงมือทำด้วย ไม่ว่าจะเป็น ผู้ถือหุ้น ซัพพลายเออร์ บริษัทขนส่งและโลจิสติกส์ เอสเอ็มอี ผู้บริโภค

"ยิ่งถ้าเอสเอ็มอี ซัพพลายเออร์ จะส่งสินค้าออกในอนาคต ก็ต้องเข้าใจเรื่องความยั่งยืน เข้าใจเรื่อง ESG ไม่อย่างนั้นเขาจะโดนผลกระทบบางข้อจาก Regulations ซึ่งเขาก็ต้องรู้ว่า มีเรื่องพวกนี้อยู่ และอะไรที่เราช่วยได้ก็จะเข้าไปช่วย"

เรื่องขนส่งก็เช่นกัน สินค้าของเรา ยังไงก็ต้องมีการจัดส่ง ต่อให้มีการขายออนไลน์ก็ต้องส่ง เรื่องการใช้ EV ก็ยังเป็นปัญหาที่ยังค้างคาอยู่ว่า EV เป็นคำตอบในระยะยาวไหม เพราะไฟฟ้าที่ใช้กันอยู่มาจากไหนล่ะ? แต่มีสิ่งที่เราจะเริ่มในด้านไฟฟ้าคือ นำไฟฟ้าจากโซลาร์รูฟมาใช้ก็ช่วยเรื่องความยั่งยืนได้บางส่วน ซึ่งก็ยังไปไม่ถึง Net Zero แต่ก็ต้องทำ

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

AirAsia MOVE ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ สู่ผู้นำแพลตฟอร์มเดินทาง OTA แบบคุ้มครบจบในแอปเดียว พร้อมแพ็กเกจบินทั่วอาเซียนแบบไม่จำกัด

airasia Superapp ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ในชื่อ AirAsia MOVE พร้อมปรับโฉมแอปพลิเคชันใหม่ และเสริมกลยุทธ์ด้านธุรกิจเพื่อผลักดันให้ AirAsia Move เป็นผู้นำด้านแพลตฟอร์ม OTA (ตัวแทนด้านก...

Responsive image

คนไทยไปญี่ปุ่น เตรียมสแกนจ่ายได้ ผ่านระบบ QR Code คาดเริ่มเมษาปีหน้า

สำนักข่าว Nikkei Asia รายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นได้เริ่มพูดคุยกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อเปิดใช้งานบริการชำระเงินผ่าน QR Code ร่วมกัน ช่วยให้นักท่องเที่ยวใช้จ่ายสะดวกสบาย ไ...

Responsive image

Jitta ก้าวสู่ปีที่ 12 เดินหน้าแก้วิกฤตการเงิน หนุนคนไทยออมและลงทุนอัตโนมัติ

Jitta เข้าสู่ปีที่ 12 เติบโตอย่างแข็งแกร่งบนเป้าหมายที่จะสร้างนวัตกรรมทางการเงิน เพื่อช่วยให้คนไทยเข้าถึงการลงทุนที่ง่ายและสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า...