ถ้ากล่าวถึงกระบวนการ Digital Transformation ของบริษัทใหญ่ Corporate Ventures Capital หรือ CVC นับเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้สามารถนำนวัตกรรมใหม่จากภายนอกเข้าสู่องค์กรได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในประเทศไทย องค์กรธุรกิจต่างๆ ล้วนตื่นตัวด้วยการหันมาสร้างทีม CVC มากมาย ซึ่งล้วนแต่มีรูปแบบความร่วมมือที่แตกต่างกันไป
แต่หากถามว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มี CVC รายไหนที่มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจบ้าง ก็หนีไม่พ้น AddVentures by SCG ซึ่งสร้างรูปแบบการทำงานที่ก่อให้เกิด Impact ทั้งกับองค์กรและ Startup Ecosystem ได้ไม่น้อย โดยล่าสุด AddVentures ได้แถลงข่าวกลยุทธ์ Digital Transformation ของ SCG พร้อมแย้มรูปแบบความร่วมมือกับ Startup ใหม่ๆ ทั้งในไทยและต่างชาติ Techsauce จึงถือโอกาสพูดคุยกับคุณดุสิต ชัยรัตน์, Corporate Venture Capital Fund Manager, AddVentures by SCG เกี่ยวกับกลยุทธ์การลงทุนและการคาดการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากการทำงานของ AddVentures by SCG
คุณดุสิตกล่าวว่า ภารกิจของ AddVentures คือการค้นหานวัตกรรมใหม่ๆ จาก Startup ทั่วโลกมาเสริมประสิทธิภาพของ SCG โดยมี 2 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ การเสาะหานวัตกรรมมาใช้ และการพัฒนาเป็น New Business
มาพูดคุยกับ CVC แล้วจะไม่ถามถึงการลงทุนคงไม่ได้ ซึ่งในปี 2019 นี้ AddVentures มีเป้าหมายจะขยาย การลงทุนให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม โดยคุณดุสิตเผยว่า AddVentures ยังคงโฟกัสที่ Startup ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระดับ Seed และ Series A เหมือนเดิม แต่สิ่งที่เพิ่มขึ้นคือการออกไปสำรวจในภูมิภาคอื่นๆ โดยเน้นบรรดา Late Stage Startup หรือ Series B, C และ D ในประเทศจีน อินเดีย อิสราเอล อเมริกา ที่กำลังทำ International Expand ในตอนนี้ รวมถึงฝั่งยุโรปซึ่งเป็นเป้าหมายใหม่ที่จะเริ่มเข้าไปในปีนี้
คุณดุสิตเล่าถึงสถานการณ์ในปีที่ผ่านมา เริ่มจากฝั่งสหรัฐฯ ซึ่งมีเทคโนโลยีที่น่าสนใจเยอะ แต่ด้วยตลาดในสหรัฐฯ มีขนาดใหญ่อยู่แล้ว Startup ส่วนใหญ่จึงเลือกดำเนินธุรกิจในประเทศมากกว่าที่จะข้ามมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงไทย อย่างไรก็ตาม SCG ถือว่ายังมีโอกาสที่ดีอยู่ เพราะอยู่ในอุตสาหกรรมที่ Unique และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังเป็น Hub ของภาคการผลิตและธุรกิจแบบดั้งเดิม หาก Startup สหรัฐฯ ต้องการขยายไปยังต่างประเทศ แต่ไม่ต้องการเข้าไปทำธุรกิจในประเทศจีนด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น ความกังวลในสถานการณ์ปัญหา Trade War ก็มีโอกาสที่ Startup สหรัฐฯ จะหันมาหาความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แทน
ส่วนการสำรวจจีนนั้น AddVentures พบ Startup ที่น่าสนใจนับสิบราย โดยเฉพาะในกลุ่ม Industry Solution ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการเจรจาและอาจจะมีข่าวดีภายในปีนี้ นอกจากนี้ ยังมีการสำรวจที่อิสราเอลซึ่งเป็นประเทศแห่งนวัตกรรมล้ำสมัย โดยในปี 2019 ก็อาจมีการประกาศการลงทุนกับ Startup ที่นี่ด้วยเช่นกัน
อีกประเทศหนึ่งที่น่าสนใจคืออินเดีย ซึ่ง AddVentures ได้รับความร่วมมือจาก Vertex Ventures กองทุนร่วมลงทุนที่ Focus ในอาเซียนและอินเดีย เพื่อเข้าไปสำรวจ Startup Scene จนพบว่ามีหลายรายที่น่าสนใจ โดยเฉพาะกลุ่มที่พัฒนา Software สำหรับ Enterprise
การทำ Commercial Collaboration เกิดจากความคิดว่า ปัญหาที่ SCG มีอยู่ ที่อื่นก็น่าจะประสบไม่ต่างกัน ดังนั้น องค์กรจึงควรหาเครื่องมือแก้ปัญหาที่มีอยู่แล้วมาใช้ แทนที่จะเน้นผลิต Solution เพื่อแก้ปัญหาเองเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งค่อนข้างเสียเวลา AddVentures จึงขอทำหน้าที่เป็น Gateway ค้นหา Solution เข้ามาใช้ในองค์กร โดยให้ Business Unit ของ SCG เป็นลูกค้าของ Startup
เดิมทีหากบริษัทใหญ่ต้องการ Digital Solution มากขึ้น วิธีการที่บริษัทใหญ่เลือกใช้คือการจ้าง Vendor เข้ามาช่วยสร้าง Solution โดยคนในองค์กรก็ต้องทำ SRP คอยหา Requirement กำหนด Timeline ควบคุม Budget สุดท้ายก็มักจะไปจบที่บริษัท IT รายใหญ่ที่พัฒนาโปรเจคกินระยะเวลาเป็นปี แต่พอออกมาแล้ว ก็ใช้งานไม่ได้ เพราะเทคโนโลยีมันก้าวหน้าไปเร็วมาก ถือเป็นความเสียเวลาพอสมควร
แต่ช่วงหลัง เริ่มมี Startup ที่พัฒนา Software Solution เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเนื่องจากมีทรัพยากรที่จำกัด จึงมักออกแบบให้ On Board ได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องดัดแปลงเยอะ ที่สำคัญคือมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าจ้าง Vendor พัฒนามาก รวมถึงใช้เวลา Impliment น้อยกว่า บางรายมี Free Trial ให้ลองใช้งานด้วย จึงสามารถใช้งานในระยะสั้นได้ โดยคุณดุสิตระบุว่า Startup เหล่านี้มีเยอะมากในต่างประเทศ ทั้งจากอินเดีย สหรัฐฯ และในยุโรป
AddVentures ได้ดำเนินการ Commercial Collaboration ไปแล้วกว่าร้อยโครงการ โดยกระบวนการจะเริ่มจากการหา Insight ของฝั่ง Business Unit มองว่าพวกเขาต้องการเครื่องมือแบบใด ก่อนที่จะออกไปหา Startup ที่มีเครื่องมือมาช่วย ทั้งนี้ คุณดุสิตย้ำว่า ไม่จำเป็นต้องแก้ทุกปัญหา ให้เลือกแก้เฉพาะปัญหาที่มีส่วนลดต้นทุนหรือมี Impact กับธุรกิจจริง
Commercial Collaboration จะเริ่มจาก internal ก่อน มองว่า Business Unit เป็นลูกค้า ถ้าอยากรู้ว่า Business Unit อยากได้อะไร ต้อง validate โจทย์ก่อนว่าปัญหามันมีอยู่จริงไหม ปัญหานี้เป็นอย่างไร ถึงค่อยไปหา Solution ข้างนอก โดยไม่ได้คิดแค่การนำเทคโนโลยีมาใช้เพียงอย่างเดียว แต่ต้องแก้ปัญหาได้จริงด้วย
ตลอดเวลาที่ดำเนินโปรแกรมนี้ ทีมก็ได้ตกผลึกกระบวนการทำงานไว้ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ขั้น Validate ปัญหา รับฟังปัญหาจาก Business Unit แล้วค่อยออกไป Scout and Screen ในที่ต่างๆ โดยหลังจาก Screen แล้วก็เริ่ม Test เพื่อ Proof Concept ก่อนที่จะ Launch และ Scale Solution นั้นๆ ทั้งนี้ คุณดุสิตย้ำว่า ขั้นตอนสำคัญที่สุดคือขั้น Validate ปัญหา หากวิเคราะห์ปัญหาผิดตั้งแต่แรก ขั้นต่อไปก็จะผิด ทำให้ไม่เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการ
คุณดุสิตกล่าวว่า Commercial Collaboration เป็นโปรแกรมหานวัตกรรมที่เปลี่ยนรูปแบบการทำงานของ Corporate ซึ่งจากประสบการณ์การทำงาน พบว่าองค์กรที่ติดขัดในการพัฒนานวัตกรรม มักจะมีปัญหาอยู่ 2 ข้อด้วยกัน
นอกจากการลงทุนและการเป็นลูกค้าแล้ว AddVentures ยังมีโปรแกรม Joint Venture เพื่อสนับสนุน Startup และ Partner ต่างประเทศให้ Scale ในภูมิภาคอาเซียนและในประเทศไทย
คุณดุสิตอธิบายว่า Joint Venture เป็นรูปแบบที่อยู่ตรงกลางระหว่าง Direct Investment กับ Commercial Collaboration ซึ่งส่วนใหญ่ Startup ที่เข้าข่ายความร่วมมือรูปแบบนี้จะเป็น Stage B, C หรือ D ขึ้นไป ซึ่งผ่านการ Prove ทั้ง Business Model และ Technology มาประมาณหนึ่งแล้ว
สิ่งที่คุณดุสิตและทีมดำเนินงานกับ Startup ในความร่วมมือแบบ Joint Venture คือปรับให้เข้ากับภูมิภาคอาเซียนหรือไทย เพื่อดำเนินธุรกิจโดยใช้ Business Model และ Technology เดิมได้อย่างราบรื่น โดยเฉพาะขั้นตอนทำความรู้จักลูกค้า การค้นหา Partner และ Supplier ในประเทศไทย ซึ่งเป็นขั้นแรกที่จำเป็นต่อการเริ่มธุรกิจ
ทั้งนี้ ทีม AddVentures จะมีกระบวนการคัดเลือก Startup ที่เหมาะสม รวมถึงดู Mindset ว่าพร้อมจะเข้ามายังตลาดนี้มากน้อยแค่ไหน โดยใช้เวลา 2-3 เดือนในช่วงปรับพื้นฐานให้เหมาะสมกับตลาดในประเทศ หากเห็นความเป็นไปได้จึงตั้ง Joint Venture เพื่อดำเนินธุรกิจในภูมิภาคอย่างจริงจัง
ถ้าพูดง่ายๆ คือ Startup ที่จะเข้ามา Joint Venture มักเชี่ยวชาญการทำธุรกิจในขั้น 1-10 อยู่แล้ว พวกเขารู้ว่าจะ Scale ต้องทำอย่างไร แต่ขั้นเริ่มจาก 0 ถึง 1 ที่จะมา Local Validate นั้นยังไม่รู้จะเริ่มอย่างไร จะเข้าได้กับเมืองไทยไหม ซึ่งเรามีหน้าที่ทำขั้น 0 ถึง 1 เพื่อให้พวกเขาเริ่มต้นธุรกิจในไทยหรืออาเซียนได้สะดวก รวดเร็ว และราบรื่นที่สุด
อย่างไรก็ตาม Joint Venture ยังถือเป็นรูปแบบความร่วมมือที่ใหม่มากของโลก ในต่างประเทศเองก็ยังมีน้อย จึงยังไม่ค่อยมีแหล่งอ้างอิง ดังนั้น AddVentures จึงยังอยู่ในช่วงทดลองและเรียนรู้รูปแบบดังกล่าว โดยตอนนี้มีโปรเจค Joint Venture ร่วมกับ Startup อยู่ 6 โปรเจค โดยมี 2 โปรเจคกำลังใกล้บรรลุข้อตกลง ซึ่งอาจจะประกาศภายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2019
ต้องถือว่าทั้ง 3 รูปแบบออกแบบมาอย่างสอดคล้องของ Startups ในหลาย Stage เพื่อให้องค์กรเข้าถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว หลากหลาย และต่อเนื่อง ซึ่งการเข้าถึงนวัตกรรมใหม่อย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ SCG ดำเนินกระบวนการ Digital Transformation ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง
บทความนี้เป็น Advertorial
Sign in to read unlimited free articles