ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีการประกาศราชกิจจานุเบกษา ว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์
ซึ่งสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับ การร่วมลงทุนระหว่างหน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจและวัตถุประสงค์หรือหน้าที่และอำนาจ ร่วมลงทุนกับเอกชน เกี่ยวกับการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ สรุปได้ดังนี้
1. ระเบียบนี้ใช้บังคับแก่ (1) สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (2) หน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจและวัตถุประสงค์ด้านการวิจัย และนวัตกรรมตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติกำหนด (3) หน่วยงานอื่นของรัฐตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ กำหนด
2. วัตถุประสงค์การร่วมลงทุนเพื่อนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ (1) สร้างประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เชิงสังคมหรือเชิงสาธารณประโยชน์ (2) สร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐและเอกชน หรือสร้างให้เกิดธุรกิจฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรมรายใหม่
3. รูปแบบการร่วมลงทุน (1) ร่วมลงทุนกับเอกชนจัดตั้งบริษัทร่วมทุน (2) จัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน (3) รูปแบบอื่นนอกจาก (1) และ (2) ให้เป็นไปตามระเบียบของหน่วยงานเจ้าของโครงการ (4) หน่วยงานเจ้าของโครงการอาจจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน ให้ดำเนินการร่วมลงทุนในวิสาหกิจเริ่มต้นหรือบริษัทซึ่งมีวัตถุประสงค์ ในการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ได้
4. วิธีการคัดเลือกเอกชน มาร่วมลงทุน (1) คัดเลือกจากเอกชนอย่างน้อย 3 ราย ที่เข้ายื่นข้อเสนอ ร่วมลงทุน โดยยึดหลักเกณฑ์การคัดเลือก ด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรมกับเอกชนทุกรายที่เข้ายื่นข้อเสนอ เอกชนที่ได้รับการคัดเลือกต้องมีคุณสมบัติ ประสบการณ์ ความพร้อม และความสามารถในการเข้าร่วมลงทุนเหมาะสม ตามเกณฑ์ที่กาหนด (2) ใช้วิธีการเฉพาะเจาะจง โดยหน่วยงานเจ้าของโครงการเชิญชวนเฉพาะเอกชนซึ่งมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดรายใด รายหนึ่งให้เข้ายื่นข้อเสนอ
ทั้งนี้ การอนุมัติโครงการร่วมลงทุนพิจารณาความสอดคล้อง ของนโยบายการร่วมลงทุน ข้อเสนอและเงื่อนไขการร่วมลงทุน และความเป็นไปได้ทางธุรกิจ แผนธุรกิจ และแผนการจัดการ ความเสี่ยง รวมถึงความพร้อมของผู้ร่วมทุนและประสบการณ์ โดยหน่วยงานเจ้าของโครงการต้องจัดให้มีการลงนามในสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชนที่ต้องผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด หรือเป็นร่างสัญญา ที่เคยผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุดด้วย
อ่านราชกิจจานุเบกษาเพิ่มเติมได้ที่ Ratchakitcha
ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริม เพิ่มพลังผลักดันงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์รองรับธุรกิจการนวัตกรรมที่มีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว จึงชวนมาทำความรู้จักกับกลไกลของภาครับที่ใช้ส่งเสริมการร่วมลงทุนอย่าง Holding Company
Holding Company เป็นกลไกส่งเสริมการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกจากหน่วยงานวิจัยของรัฐ หรือ มหาวิทยาลัย ซึ่งจะต้องมีการบริหารงานแบบมืออาชีพ โดยจะช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุน มีความคล่องตัวสูงเหมาะกับธุรกิจนวัตกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งความจำเป็นของ Holding Company คือ
ภาพจาก สอวช
นับเป็นอีกหนึ่งนโยบายของภาครัฐที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการลงทุนเพื่อนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมจากมหาลัยไปต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ได้จริง สอดรับกับรูปแบบเศรษฐกิจในยุคใหม่
Sign in to read unlimited free articles