มาเลเซียหวังดึง Microsoft และ Google เข้ามาทำ Data Hub หลังดึง Tesla และ Amazon เข้ามา ตั้งเป้าเป็น Supply Chain สำคัญของภูมิภาค | Techsauce

มาเลเซียหวังดึง Microsoft และ Google เข้ามาทำ Data Hub หลังดึง Tesla และ Amazon เข้ามา ตั้งเป้าเป็น Supply Chain สำคัญของภูมิภาค

รัฐบาลมาเลเซียต้องการดึง Microsoft และ Google เพื่อเข้ามาสนับสนุนให้มาเลเซียเป็น ศูนย์กลางของข้อมูล (Data Hub) ตามคำร้องขอของ Zafrul Abdul Aziz รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์มาเลเซีย

พัฒนาประเทศไปสู่ศูนย์กลางของข้อมูล (Data Hub)

รัฐบาลมาเซียต้องการเชิญชวน 2 บริษัท Big Tech จากสหรัฐอเมริกาอย่าง Microsoft และ Google เพื่อร่วมมือกันสนับสนุนและพัฒนาประเทศไปสู่ประเทศศูนย์กลางของข้อมูล (Data Center Hub) 

เรากำลังเชิญชวนผู้คนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และ กำลังพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางของข้อมูล (Data Center Hub) อย่างค่อยเป็นค่อยไป

       Zafrul Abdul Aziz  กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับ Haslinda Amin ในรายการ Bloomberg Television เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา 

ความสำเร็จในการดึงดูดบริษัทจากต่างประเทศ

หากถามถึงความสำเร็จของมาเลเซียในการดึงดูดบริษัทเข้ามาร่วมลงทุนในปีนี้รวมถึงการดึงดูดบริษัทต่างๆ เช่น Tesla Inc. และ Amazon Web Services 

Tesla มีแผนที่จะนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าเข้าไปในภูมิภาคอาเซียน และสร้างเครือข่ายสถานี Supercharger ของตัวเอง ขณะที่ AWS หรือ Amazon Web Services ต้องการสร้างและพัฒนาฌครงสร้างพื้นฐานระบบ Cloud โดยลงทุนไปมากกว่า 6 พันล้านดอลลาร์ และจะทำให้สำเร็จภายในปี 2037

จากข้อมูลของหน่วยงานพัฒนการลงทุนของมาเลเซีย (Malaysian Investment Development Authority) มาเลเซียได้รับเงินลงทุนจากการดึงดูดบริษัทต่างๆเข้ามาในช่วงไตรมาสแรก ของปีซึ่งมีการอนุมัติแล้วและมีเงินสะพัดกว่า 71,400 ล้านริงกิต เพิ่มขึ้น 67% จากปีก่อนหน้า

สำหรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) คิดเป็น 52% ของสัดส่วนรายได้ทั้งหมดที่เพิ่มขึ้นทำให้ประเทศได้รับเงินลงทุนถึง 23,000 ล้านริงกิต หรือประมาณ 172 ล้านบาท 

เราเห็นการปรับเปลี่ยน Supply chain ใหม่ๆหลายครั้ง ซึ่งดูที่ความยืดหยุ่นและความปลอดภัยที่กำลังจะ มาถึงภูมิภาคนี้

                                             Zafrul Abdul Aziz กล่าว

มาเลเซียยังมีบทบาทในการทดสอบและบรรจุผลิตภัณฑ์ชิปประมวลผลคิดเป็น 13% ของความต้องการ ในตลาดโลก Zafrul Abdul Aziz ยังประมานการไว้ประมาณร้อยละ 25 ของความต้องการในการทดสอบ และการประกอบชิปของสหรัฐอเมริกา และบริษัทในภาคส่วนนี้ได้ให้บริการกับ Tesla ซึ่งมีมูลค่าถึง 200 ล้านริงกิต 

ความขัดแย้งระหว่างจีนและสหรัฐคืออุปสรรคสำคัญ

เศรษฐกิจของมาเลเซียพึ่งพาการค้าขายเป็นอย่างมากนั่นจึงเป็นความเสี่ยงที่อาจสร้างผลกระทบจากการหยุดชะงักของการค้า 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเกี่ยวข้องกับจีนซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของประเทศตั้งแต่ปี 2009 ความตึงเครียด ทางการค้าเกิดจากความพยายามของสหรัฐฯ ที่จะจำกัดการเข้าถึง เทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ ที่สำคัญและการควบคุมการส่งออกของจีน

การส่งออกของมาเลเซียลดลงมากที่สุดในรอบเกือบสามปีในเดือนเมษายน เนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีนที่กำลังลดลงเช่นกัน

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของมาเลเซียขยายตัวเร็วกว่าที่คาดไว้ที่ 5.6% ในไตรมาสแรก จากปีที่แล้ว และรัฐบาลได้คาดการณ์อัตราการเติบโตเศรษฐกิจในปี 2023 ไว้ที่ 4.5% ลดลงเล็กน้อยจากปีที่แล้ว

หากดูในดัชนีหุ้นมาตราฐานแล้วภาพรวมก็ไม่ได้ดีมากเท่าไหร่สำหรับในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจาก ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่อ่อนตัวลงและความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก 

ปัจจัยเหล่านี้กระตุ้นให้กองทุนทั่วโลกถอนเงินออกจากหุ้นหลายๆตัวในประเทศ ค่าเงินริงกิตก็อ่อนค่าลง 4.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐที่พุ่งสูงขึ้นจากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนลงเช่นกัน

ที่มา : Bloomberg

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

AirAsia MOVE ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ สู่ผู้นำแพลตฟอร์มเดินทาง OTA แบบคุ้มครบจบในแอปเดียว พร้อมแพ็กเกจบินทั่วอาเซียนแบบไม่จำกัด

airasia Superapp ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ในชื่อ AirAsia MOVE พร้อมปรับโฉมแอปพลิเคชันใหม่ และเสริมกลยุทธ์ด้านธุรกิจเพื่อผลักดันให้ AirAsia Move เป็นผู้นำด้านแพลตฟอร์ม OTA (ตัวแทนด้านก...

Responsive image

คนไทยไปญี่ปุ่น เตรียมสแกนจ่ายได้ ผ่านระบบ QR Code คาดเริ่มเมษาปีหน้า

สำนักข่าว Nikkei Asia รายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นได้เริ่มพูดคุยกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อเปิดใช้งานบริการชำระเงินผ่าน QR Code ร่วมกัน ช่วยให้นักท่องเที่ยวใช้จ่ายสะดวกสบาย ไ...

Responsive image

Jitta ก้าวสู่ปีที่ 12 เดินหน้าแก้วิกฤตการเงิน หนุนคนไทยออมและลงทุนอัตโนมัติ

Jitta เข้าสู่ปีที่ 12 เติบโตอย่างแข็งแกร่งบนเป้าหมายที่จะสร้างนวัตกรรมทางการเงิน เพื่อช่วยให้คนไทยเข้าถึงการลงทุนที่ง่ายและสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า...