"ในส่วนของ AI เราจะมีการใช้งาน Data sentencing ที่จะช่วยให้ผู้พิพากษาและพนักงานสอบสวนสามารถพิจารณาคดีได้ดียิ่งขึ้น เราหวังว่ามันจะใช้งานได้ภายในปลายเดือนนี้" Tan Sri Richard Malanjum ประธานศาลสูงของมาเลเซีย กล่าว
เทคโนโลยีนี้สามารถช่วยให้เกิดความยุติธรรมมากขึ้น เพราะระบบจะมีการวิเคราะห์ ประมวลผลจากคดีก่อนหน้า เช่น คดีขโมยของที่มีมูลค่าน้อยแต่มีโทษเทียบเท่าของที่มีมูลค่ามาก
เทคโนโลยีกำลังเข้ามาในชีวิตเราและแน่นอนว่าเราต้องปรับตัวให้ทัน
นอกจากนี้ยังมีระบบ 'Auto-alert' ที่จะเตือนทั้งนักกฏหมายและผู้พิพากษาถึงกำหนดการต่างๆ ต่อไปนี้พวกเขาก็ไม่ต้องกังวลว่าจะลืมเอกสารอีกต่อไป
ระบบนี้ได้เปิดใช้ไปแล้วในรัฐซาบะฮ์และรัฐซาราวัก โดยจะเปิดใช้งานในมาเลเซียตะวันตกเร็วๆ นี้ นอกจากนี้ยังมีระบบ Colour-coded ซึ่งจะเตือนเมื่อมีการขอผลัดการไต่สวน
นี่เป็นการแสดงถึงการปฏิรูประบบตุลาการ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อคำแนะนำของคณะกรรมการปฏิรูปสถาบัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากระบบแบบ Top-down ที่มักเกิดขึ้นอยู่เสมอในการบริหารงานของรัฐบาล ต่อจากนี้การตัดสินคดีความจะไม่มีเรื่องของอคติ (Bias) เกิดขึ้นอีกต่อไป เนื่องจากตัวซอฟต์แวร์ภายใต้ระบบ E-balloting จะช่วยทำการจัดคิว โดยผู้พิพากษาสามารถดูคิวพิพากษาของตัวเองในโทรศัพท์ส่วนตัวได้
ในปีที่ผ่านมาระบบพิพากษาออนไลน์ได้นำไปใช้ในมาเลเซียตะวันออกแล้ว และระบบ 'E-review' ก็ได้ถูกนำเสนอในศาลวินิจฉัยอุทธรณ์ ต่อจากนี้ทนายความไม่จำเป็นต้องมาที่ศาลอุทรณ์ และสามารถหลีกเหลี่ยงการจราจรอันแสนสาหัสได้ อีกประโยชน์คือ การลดการใช้กระดาษเพราะไฟล์ทุกอย่างจะกลายเป็นดิจิทัล
นักกฏหมาย และเหล่าผู้พิพากษาสามารถทำงานได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยภายในสิ้นเดือนนี้การประชุมผ่านวิดีโอจะมีในกัวลาลัมเปอร์ ซาห์ อลาม และปีนัง และพร้อมขยายไปยังพื้นที่อื่นๆ ในไม่ช้า
Datuk Seri David Wong Dak Wah หัวหน้าผู้พิพากษารัฐซาบะฮ์และรัฐซาราวัก กล่าวว่า "ตั้งแต่ปี 2007 ศาลต่างๆ ในรัฐซาบะฮ์และรัฐซาราวัก ได้ใช้วิธีนั่งพิจารณาผ่านการประชุมทางวีดิโอ (Video conference) ซึ่งนี่ได้ช่วยประหยัดทั้งงบ เวลา พร้อมทั้งเกิดความสะดวกแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง บวกกับนวัตกรรมนี้จะถูกเสริมให้ดีขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีการเปิดตัว 3 แอพพลิเคชันใหม่บนมือถือ ที่จะเปิดให้ใช้งานในเร็วๆ นี้ที่เมืองโกตากีนาบาลูและในรัฐซาบะฮ์"
นอกจากนี้ยังได้มีการใช้รถบัสเป็นศาลเคลื่อนที่ในพื้นที่ห่างไกลมา 10 ปีแล้ว นี่ถืออีกวิธีที่ช่วยประหยัดต้นทุนมากกว่าการสร้างศาลถาวร อีกทั้งเทคโนโลยียังช่วยอำนวยความสะดวกในการออกสูติบัตรจำนวน 87,345 คดี ที่มีความเชื่อมโยงกับการจดทะเบียนเกิดล่าช้าในพื้นที่ห่างไกลอีกด้วย
ที่มา:
Sign in to read unlimited free articles