ท่ามกลางการถูกดิสรัปต์และสมรภูมิรบในหลายมิติที่รุมล้อมรอบด้าน ฝีก้าวแบบติดสปีดของ คุณกระทิง - เรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) ก็สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อภาพลักษณ์ KBTG และผลิตภัณฑ์ภายใต้ ธนาคารกสิกรไทย โดยเฉพาะเรื่องการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในการขับเคลื่อน KBTG โดยเปลี่ยนจากบริษัทที่ให้ความสำคัญเรื่อง Mobile First มาเป็น AI First ตั้งแต่ปี 2019 และด้วยกระแสการใช้งาน ChatGPT อย่างล้นหลามในปัจจุบัน ยิ่งตอกย้ำว่า AI นี่แหละ เทคโนโลยีอัจฉริยะที่เกิดมาเพื่อพลิกโฉมสารพัดสิ่งบนโลก!
หลังจากพาทีมมา ‘ถูกทาง ถูกที่ ถูกเวลา’ คุณกระทิงเผยกุญแจสู่ความสำเร็จ (Key Messages) ออกมาในชื่อ M.A.D. (แมด) สิ่งที่ผลักดัน KBTG ก้าวสู่บริษัท AI-First ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาและจะยังเดินบนเส้นทางสาย Deep Tech นี้ต่อไป
M.A.D. ที่คุณกระทิงกล่าวถึงนั้น มาจากชื่อของ 3 เทคโนโลยีสำคัญ นั่นคือ
M มาจาก ML : Machine Learning หรือ การเรียนรู้ของเครื่องจักร
A มาจาก AI : Artificial Intelligence หรือ ปัญญาประดิษฐ์
D มาจาก Data หมายถึง มีการเก็บและใช้ข้อมูลอย่างถูกต้องเหมาะสม รักษาความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล และคำนึงถึงความปลอดภัยทางไซเบอร์
ด้วยรากฐานธุรกิจที่เป็น ‘ธนาคาร’ การปักหมุดพัฒนา Deep Tech เพื่อใช้เองช่วยให้โครงสร้างพื้นฐานหลังบ้านแข็งแกร่ง ปรับเปลี่ยนตามรูปแบบที่ต้องการหรืออัปเดตได้ และที่สำคัญ ต้องสามารถสเกลหรือขยายการใช้งานได้คราวละมากๆ ดูได้จากฐานผู้ใช้บริการแอป K PLUS ของธนาคารกสิกรไทยที่โดดเด่นยิ่งขึ้นในยุคหลังโควิด จากจำนวนผู้ใช้งานที่มีมากกว่า 23 ล้านราย LINE BK ที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 4 ล้านราย ขุนทอง ที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 1 ล้านกว่าราย และ MAKE by KBank ที่มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
“ถ้า K PLUS ที่ KBTG ดูแล มีปัญหา ระบบเป็นอัมพาต หนึ่งในสามของคนไทยจะใช้งานไม่ได้ แต่สิ่งนั้นก็ไม่ได้เกิดขึ้น นี่คือความมหึมาของ K PLUS ในโลก Mobile First ซึ่งเราวางรากฐานเข้าสู่ AI First เพื่อให้กสิกรไทยเป็น Cognitive Banking คือ ธนาคารที่ทำ AI First เป็นรายแรกตั้งแต่ปี 2019” คุณกระทิงเล่าถึงการพัฒนาระบบที่รองรับการใช้งานของประชากรเป็นวงกว้าง
ถามว่าเรื่องนี้เกี่ยวอะไรกับ ML, AI และ Data เล่าให้เห็นภาพง่ายๆ ได้ว่า ทุกการใช้งานแอป ทุกรายการใช้จ่ายผ่าน K PLUS ล้วนกลายเป็น Data ที่บริษัทนำไปใช้วิเคราะห์หรือกำหนดกลยุทธ์ต่อได้หากผู้ใช้งานยินยอมหรืออนุญาต และการใช้งานบ่อยครั้งของผู้บริโภค ก็จะทำให้ระบบได้เรียนรู้ (ML) ส่งผลต่อการตอบสนองความต้องการที่ดียิ่งขึ้นและเมื่อนำ AI มาเสริมทัพด้วยแล้ว ความอัจฉริยะของระบบก็เข้ามาช่วยเติมเต็มภาคบริการได้เป็นอย่างดี เช่น การใช้ AI Chatbot ตอบคำถามลูกค้า ซึ่งถ้าป้อนข้อมูลเข้าไปมากพอและประมวลผลจนใกล้เคียงภาษามนุษย์ (NLP: Natural Language Processing) ลูกค้าอาจไม่รู้ว่า คุยกับคนหรือคุยกับหุ่นยนต์อยู่
และเมื่อตามไปดูว่าเทคโนโลยี ML AI DATA อยู่ในผลิตภัณฑ์ใดบ้าง นี่คือตัวอย่างเพียงส่วนหนึ่ง
Lending Lead Generation: ระบบการพิจารณาให้สินเชื่อบุคคลด้วยเทคโนโลยี ML ซึ่งช่วยให้ธนาคารปล่อยเงินกู้ได้มากกว่าหมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่าเมื่อเทียบกับ 3 ปีที่ผ่านมา
คู่คิด: AI Chatbot ที่ KBTG Labs พัฒนาขึ้น เพื่อตอบคำถามและให้บริการแบบคอลล์เซ็นเตอร์
AINU: เทคโนโลยีที่ใช้ตรวจและยืนยันตัวตนด้วย AI ซึ่งมีทั้ง Face Technology หรือ ระบบตรวจและยืนยันความถูกต้องของใบหน้าที่ iBeta และ NIST ยกให้เป็นเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐานระดับสากล Thai ID OCR and fraud detection หรือ เทคโนโลยียืนยันตัวตนผ่านบัตรประชาชนและการตรวจสอบความถูกต้องของบัตรเพื่อป้องกันการปลอมแปลงเอกสาร
Future You: เทคโนโลยี AI ที่จะรู้จักเรา…มากกว่าเรารู้จักตัวเอง โดยเป็นไอเดียที่ KBTG ร่วมกับ MIT Media Lab พัฒนาขึ้นจากงานวิจัยในชื่อ Future You เพื่อให้เราสามารถพูดคุยกับตัวเอง ช่วยวิเคราะห์คาดการณ์ในอนาคตได้ ยกตัวอย่างการใช้งาน หากเราเล่าเรื่องรายได้ พฤติกรรมการใช้จ่าย จำนวนเงินออม ฯลฯ ให้ Future You รับรู้จนระบบมีข้อมูลเพียงพอถึงระดับหนึ่ง แล้วเราถาม Futute You ว่า หากต้องการเก็บเงินให้ได้ 5 ล้านบาท จะต้องใช้เวลานานแค่ไหนที่ไอเดียนี้จะเป็นจริง ระบบก็จะประมวลผลและให้ข้อมูลคาดการณ์ออกมา แต่อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีนี้ยังไม่เปิดใช้งานเพราะยังอยู่ระหว่างการทดลอง (PoC: Proof of Concept)
Car AI Tech: เทคโนโลยี AI ตรวจสอบสภาพหรือความผิดปกติของรถยนต์ (Car Damage Accessment) โดยให้บริการในลักษณะของ Insurtech เพื่อใช้ในธุรกิจประกัน เช่น ให้เจ้าของรถถ่ายรูปรอบตัวรถแล้วส่งเข้าระบบเก็บเป็นข้อมูล หากประสบอุบัติเหตุก็ถ่ายสภาพรถล่าสุดมาให้ระบบเปรียบเทียบความเสียหายและพิจารณาการเคลมประกัน อีกทั้งในปีนี้ทาง KBTG ได้คว้ารางวัล Asian Technology Excellence Awards 2023 สาขา AI ด้าน Car AI มาอีกด้วย
Explainable AI: เป็นการรักษาและใช้ Data โดยไม่ละเมิดสิทธิเจ้าของข้อมูล โดยมี AI ช่วยตอบคำถาม และจาก Data ที่มี ระบบยังอธิบายได้ด้วยว่า ทำไมจึงให้คำตอบดังกล่าว นำข้อมูลมาจากแหล่งใด หรือวิเคราะห์จากอะไร
คุณกระทิงยังย้ำถึงความสำคัญของ AI ที่คนไทยต้องเรียนรู้และฝึกใช้ ไม่อย่างนั้นอาจไม่ได้ไปต่อ
“คนที่ใช้ AI เป็น จะแทนคนที่ใช้ AI ไม่เป็น อันนี้คือ 100% และต่อไปคุณใช้ AI ทำได้หมด แม้แต่คนรับหน้าที่ทำพรีเซนเทชันก็ต้องยกระดับตัวเองขึ้นไป ซึ่งผมเห็นหลายคนที่ยกระดับตัวเองขึ้นมาแล้วเขาทำงานได้มากขึ้น 10 เท่า ส่งผลให้ Productivity เพิ่มขึ้นมหาศาล ซึ่งมันคือโลกในอนาคตที่อาจได้เห็นใน 5 ปีข้างหน้า”
KBGT ไม่ได้โฟกัสแต่การพัฒนาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้กับสินค้าหรือบริการเพียงเท่านั้น แต่ยังสร้าง KBTG MAD ศูนย์กลางความเป็นเลิศ (Center of Excellence) ที่ KBTG Labs และ KBTG KAMPUS เพื่อ ‘การพัฒนาคน’ ด้วยการส่งต่อองค์ความรู้ ติดอาวุธด้วยทักษะแห่งอนาคตผ่านโมเดลการศึกษาที่ KBTG กับพันธมิตรร่วมคิดร่วมสร้าง โดยอยู่ภายใต้ 4 หน่วยงานที่ล้วนส่งเสริมระบบนิเวศ AI ดังนี้
KBTG Labs - หน่วยงานค้นคว้าวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด อาทิ K PLUS, AINU, K-GPT, ขุนทอง
KBTG x MIT Media Lab - หน่วยงานที่ร่วมกับ MIT Media Lab วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี อาทิ Future You
KBTG KAMPUS - หน่วยงานที่ส่งเสริมกิจกรรมการศึกษาเพื่อการพัฒนาคน และต่อองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี อาทิ ML, AI, Data, Cybersecurity โดยได้รับความร่วมมือจากองค์กรและสถาบันการศึกษาหลายแห่ง เช่น NECTEC, CU และ KMILT
KX - ธุรกิจที่มุ่งสร้างสตาร์ทอัพด้าน AI จากการปั้นคนในองค์กร (AI Venture Builder) ซึ่งจะได้เห็นเร็วๆ นี้
“ยุค AI จะทำให้เกิด ‘Cybersecurity Threats’ ที่มันน่ากลัวมากขึ้น คือ Spam หรือ Bot สร้างขึ้นด้วย AI ไม่ใช่คนอีกแล้ว ถ้าจะจับ ทำได้ก็ด้วยการเอา AI ไปจับกับ AI เราถึงเปิด Bootcamp ด้าน Cybersecurity ขึ้น ทั้งๆ ที่ KBTG ไม่ได้อยากเปิดโรงเรียน แต่ถ้าไม่เปิดสอน เราก็ไม่มีคน ไม่มีการพัฒนานวัตกรรมในแบบของเรา และเราทำโดยไม่รอให้ทุกอย่างเพอร์เฟกต์ แต่ทำให้ทุกคนอยู่รอดได้ด้วย AI Ecosystem ที่อย่างน้อยก็ทำให้คนอยู่ได้ สังคมดีขึ้น” คุณกระทิงกล่าวถึง Cybersecurity หนึ่งในวิชาที่มีผู้สมัครเรียนกับ KBTG จำนวนมาก
และสำหรับแนวปฏิบัติที่ใช้ผลักดันทั้งวัยเรียนและวัยทำงานให้พร้อมสำหรับยุค AI First คุณกระทิงระบุว่า ต้องยึดหลัก 4C และ 4P ร่วมกับการคำนึงถึงบุคลากรที่มี Digital Literacy หรือ ความฉลาดด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ก่อน
4C ได้แก่
Co-Imagine กระตุ้นให้ผู้คนคิดและจินตนาการเกี่ยวกับ AI
Co-Exploring ผลักดันให้มีการสำรวจ ค้นหาความเป็นไปได้ของการพัฒนา AI รวมถึงการตั้งคำถามกับ AI
Co-Thinking สอนให้คนใช้งาน AI เป็น
Co-Creating ทำให้ไอเดียการใช้ AI ที่คิดไว้กลายเป็นความจริง
4P ได้แก่
Project เรียนแบบ Project Based จะสอนรายวิชาแบบเดิมไม่ได้
Peers หาเพื่อนเรียนด้วยกันตามความสนใจ ไม่ใช่เรียนตามอายุหรือพัฒนาการ
Passion มีความสนใจเป็นพื้นฐาน
Play สนุกกับการเรียนรู้
ผมว่าเด็กรุ่นใหม่ต้องสอนแบบ AI First เพราะเขาต้องโตมากับสิ่งเหล่านี้
สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าคุณอยู่ในเจเนอเรชันไหน หากมีมายด์เซ็ตของ ‘การเรียนรู้ตลอดชีวิต’ เชื่อแน่ว่าจะสามารถปรับตัวในโลกที่มีการใช้ AI อย่างเข้มข้นได้ และอาจสัมผัสได้ว่า AI ไม่น่ากลัวอย่างที่ใครๆ วาดไว้
#KBTG #KBTGTechtopia #AIFirst #KBTG #KBTGAIFirst #LetsGetMAD #BeyondBanking #AITechnology
บทความนี้เป็น Advertorial
Sign in to read unlimited free articles