KKP ตั้งเป้าสินเชื่อปีนี้โต 5% พร้อมดำเนินธุรกิจแบบระมัดระวัง หลังประเมินเศรษฐกิจไทยยังคงเปราะบาง | Techsauce

KKP ตั้งเป้าสินเชื่อปีนี้โต 5% พร้อมดำเนินธุรกิจแบบระมัดระวัง หลังประเมินเศรษฐกิจไทยยังคงเปราะบาง


ต้องยอมรับว่าวิกฤต COVID-19 ยังคงส่งผลกระทบต่อหลายอุตสาหกรรมเป็นวงกว้าง ซึ่งบาดแผลจากปีที่ผ่านมายังไม่สามารถสมานให้หายได้โดยปลิดทิ้ง จากเดิมหลายอุตสาหกรรมกำลังเริ่มทยอยฟื้นตัว แต่พอเข้าสู่ต้นปี 2564 การระบาดระลอก2 ของไวรัส COVID-19 ก็ได้กลับมาซ้ำเติมอีกครั้ง หลายฝ่ายพยายามปรับตัวเพื่อความอยู่รอด รวมถึงกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร หรือ KKP ที่วันนี้มาเปิดกลยุทธ์ดำเนินธุรกิจปี 2564 พร้อมทั้งประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปีนี้ว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง ท่ามกลางปัจจัยกดดันที่มีอยู่รอบด้าน 

นายอภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร กล่าวว่า ปี 2563 เป็นปีของการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ไม่ว่าจะเป็นการร่วมกับมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) หรือมาตรการของธนาคารเอง เช่น 

  • การให้พักชำระเงินต้น/ดอกเบี้ย 
  • การเข้าร่วมมาตรการ Soft loan 
  • การปรับลดอัตราดอกเบี้ย 
  • การขยายระยะเวลาการชำระหนี้ 

อย่างไรก็ตาม จากกลยุทธ์การกระจายแหล่งรายได้ของกลุ่มธุรกิจฯ ที่ได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง และการเลือกที่จะเติบโตอย่างระมัดระวัง ได้ช่วยทำให้ผลประกอบการออกมาในระดับที่น่าพึงพอใจ โดยในส่วนของธนาคาร มีอัตราการเติบโตของสินเชื่อร้อยละ 12.4 อันเนื่องมาจากสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อบรรษัทที่มีมากขึ้นในช่วงที่ภาวะตลาดไม่เอื้อให้บริษัทใหญ่ระดมเงินจากตลาดทุน

ในขณะเดียวกัน ด้านธุรกิจตลาดทุน ถือเป็นปีที่มีผลประกอบการดีมาก โดย ธุรกิจนายหน้า ได้รับประโยชน์จากมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์เฉลี่ยของตลาดที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 29 ทำให้มีรายได้ค่านายหน้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และยังคงครองส่วนแบ่งอันดับหนึ่งของตลาดที่ร้อยละ 10.85 ส่วน ธุรกิจ Wealth Management มีปริมาณทรัพย์สินภายใต้คำแนะนำ (Asset Under Advice, AUA) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เป็น 6 แสนล้านบาท ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการขยายขอบเขตบริการ โดยเฉพาะการลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศที่ได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่ ธุรกิจการลงทุนโดยตรง มีรายได้จากฝ่ายค้าหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Equity and Derivative Trading) สูงถึง 1 พันล้านบาท 

ทิศทางธุรกิจปี 2564 

ปี 2564 กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ยังคงดำเนินธุรกิจด้วยความรอบคอบระมัดระวัง ภายใต้สถานการณ์ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น ทั้งในส่วนของการขยายสินเชื่ออย่างมีคุณภาพ รวมถึงการที่ธนาคารได้ดำเนินการตามกลยุทธ์มาอย่างต่อเนื่องในการเสริมสร้างธุรกิจหลักด้านต่างๆ ทั้งในส่วนของธุรกิจด้านการให้สินเชื่อ ธุรกิจPrivate Banking และธุรกิจ Investment Banking  เพื่อสนับสนุนการกระจายรายได้และเพื่อเป็นการสร้างโอกาสในการหาผลตอบแทนที่เหมาะสมในรูปแบบต่างๆ ดังนั้น กลุ่มธุรกิจฯ จึงตั้งกรอบการเติบโตของสินเชื่ออยู่ที่อย่างน้อยร้อยละ 5 และรักษาระดับอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL) อยู่ที่ไม่เกินร้อยละ 4.5 ของสินเชื่อรวม

นอกจากนี้ยังคงดำเนินมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 โดยสิ้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีจำนวนลูกค้าที่เข้ามาขอความช่วยเหลือประมาณ 10,000 ราย ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างรอดำเนินการ ซึ่งจุดนี้จะมีการช่วยเหลือเป็นรายๆไปแล้วแต่ความจำเป็นของแต่ละบุคคล 

เศรษฐกิจไทยปีนี้ยังเปราะบาง 

ด้าน ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ KKP Research  กล่าวว่า ในปี 2564 แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังคงเป็นไปอย่างเปราะบาง และแตกต่างกันมากในแต่ละ

อุตสาหกรรมและพื้นที่ ดังนั้นจึงได้ปรับลดการคาดการณ์อัตราการเติบโตของ GDP ปี 2564 ลงจากร้อยละ 3.5 เป็นร้อยละ 2.0 จากการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ ที่นำไปสู่การออกมาตรการจำกัดการระบาดและการชะลอลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนต่างๆ อาจทำให้ความสามารถในการเปิดรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศล่าช้าออกไปอีก ในกรณีเลวร้ายหากประเทศไทยไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ จนต้องมีมาตรการจำกัดที่ยาวนานขึ้น และไม่สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้เลยตลอดทั้งปี อาจมีความเสี่ยงที่จะเห็นเศรษฐกิจไทยหดตัวถึงร้อยละ -1.2 ในปีนี้

3 ปัจจัยหลักที่กำหนดเศรษฐกิจไทยในปี 2564 

1. ความสำเร็จในการควบคุมการระบาดรอบใหม่ ผลกระทบจากมาตรการควบคุมของรัฐ และขีดจำกัดของระบบสาธารณสุข ซึ่งหากการแพร่ระบาดใช้ระยะเวลานานในการควบคุม หรือจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเกิดความสามารถในการรองรับด้านสาธารณสุข อาจนำไปสู่การยกระดับความเข้มของมาตรการควบคุมภาครัฐ ส่งผลให้การใช้จ่ายของภาคเอกชนและการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศชะลอตัวลงอีกครั้ง 

2. ประสิทธิผล ผลข้างเคียง และการกระจายวัคซีน หากวัคซีนไม่เป็นไปตามแผนทั้งในแง่ประสิทธิผลของการป้องกัน ผลข้างเคียงที่รุนแรง หรือความล่าช้าในการได้รับและการกระจายฉีดวัคซีนให้กับประชาชน อาจส่งผลต่อการควบคุมการระบาดและการเปิดการท่องเที่ยว และ 

3. นโยบายการคลังและนโยบายการเงินเพื่อเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยลดความเสียหายต่อเศรษฐกิจ ประคับประคองความอยู่รอดของภาคธุรกิจและแรงงาน และกระตุ้นเพื่อชดเชยกำลังซื้อและความต้องการในการลงทุนที่หายไปจนกว่าเศรษฐกิจจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้อีกครั้ง

ยิ่งกว่านั้น นอกเหนือจากการรับมือปัญหาเฉพาะหน้าจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ประเด็นระยะยาวที่ KKP Research เห็นว่าควรได้รับความใส่ใจ คือ  ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านโอกาส ที่จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นจากวิกฤต COVID-19  ทั้งโอกาสในการศึกษาและโอกาสด้านการทำงาน และความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทั้งด้านการแข่งขันในตลาดส่งออกและการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ที่จะยิ่งเป็นปัญหามากยิ่งขึ้นจากความต้องการของผู้บริโภค โครงสร้างการค้า และห่วงโซ่การผลิตโลกที่จะเปลี่ยนแปลงไปหลังCOVID-19 


Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

AirAsia MOVE ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ สู่ผู้นำแพลตฟอร์มเดินทาง OTA แบบคุ้มครบจบในแอปเดียว พร้อมแพ็กเกจบินทั่วอาเซียนแบบไม่จำกัด

airasia Superapp ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ในชื่อ AirAsia MOVE พร้อมปรับโฉมแอปพลิเคชันใหม่ และเสริมกลยุทธ์ด้านธุรกิจเพื่อผลักดันให้ AirAsia Move เป็นผู้นำด้านแพลตฟอร์ม OTA (ตัวแทนด้านก...

Responsive image

คนไทยไปญี่ปุ่น เตรียมสแกนจ่ายได้ ผ่านระบบ QR Code คาดเริ่มเมษาปีหน้า

สำนักข่าว Nikkei Asia รายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นได้เริ่มพูดคุยกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อเปิดใช้งานบริการชำระเงินผ่าน QR Code ร่วมกัน ช่วยให้นักท่องเที่ยวใช้จ่ายสะดวกสบาย ไ...

Responsive image

Jitta ก้าวสู่ปีที่ 12 เดินหน้าแก้วิกฤตการเงิน หนุนคนไทยออมและลงทุนอัตโนมัติ

Jitta เข้าสู่ปีที่ 12 เติบโตอย่างแข็งแกร่งบนเป้าหมายที่จะสร้างนวัตกรรมทางการเงิน เพื่อช่วยให้คนไทยเข้าถึงการลงทุนที่ง่ายและสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า...