แน่นอนว่า AI เป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงมาตลอด และดูเหมือนกับว่าจะมากเป็นพิเศษในช่วงที่กระแสของ NVIDIA, GET3D, Midjourney หรือ DALL-E และ ChatGPT ที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมากำลังได้รับความนิยม อีกทั้งตามมาด้วยการพัฒนา Bard AI ของ Google, LLaMa จาก Meta และ Ernie bot จาก Baidu ที่แสดงให้เห็นว่าบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ทั่วโลกกำลังลงสู่สนามการพัฒนา AI กันอย่างจริงจัง
และวิจัยล่าสุดที่จัดทำโดย Stanford University และ MIT โดยสำรวจจากผู้ที่ทำงานด้าน Customer Service 5,000 คน พบว่า ผู้ใช้ Generative AI ช่วยทำงาน มีผลผลิต (Productivity) มากกว่าผู้ที่ไม่ใช้ 14% ทั้งหมดนี้สะท้อนดังคำกล่าวของ “Bill Gates” มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้ง Microsoft ที่เคยกล่าวไว้ว่า ‘ยุคสมัยของ AI ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว’ (The Age of AI has begun)
แต่ด้วยความก้าวหน้าของ AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์ ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายส่วน โดยเฉพาะ Generative AI อย่าง ChatGPT ก็ก่อให้เกิดข้อถกเถียงที่ว่า ‘ในอนาคตอันใกล้ AI อาจจะเข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์ได้ทุกอย่าง’
ซึ่งแท้ที่จริงแล้วถ้าเราเอา AI มาเพื่อพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ น่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และเทคโนโลยีที่ดีกว่า และการที่ “มนุษย์” กับ “AI” ทำงานร่วมกันต่างหากจะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงกลายมาเป็นแนวคิด ‘Augmented Intelligence’ หรือการใช้ AI ยกระดับการทำงานและความสามารถของมนุษย์ ที่ไม่ได้หมายความว่า ‘ทดแทน’ แต่จะกลายเป็นเครื่องมือที่ ‘ทรงพลัง’ มากขึ้นไปอีก ผ่านการสร้างโมเดล Machine Learning วางคนเป็นศูนย์กลาง (Human-Centric) โดย AI ดังกล่าวจะสามารถรับฟีดแบ็คและประสบการณ์ต่างๆ จากมนุษย์ พร้อมพัฒนาข้อมูลออกมาเป็นแนวทางที่จะกลับมาช่วยให้มนุษย์สามารถทำการตัดสินใจและกระทำบางอย่างได้อย่างถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น
ซึ่งภายในงาน KBTG The Age of AI : Augmented Intelligence ของ KBTG ที่ได้ประกาศเจตนารมณ์ในการเข้าสู่ The Age of AI อย่างเต็มตัว
คุณกระทิง เรืองโรจน์ พูนผล จาก Godfather แห่งโลก Startup ไทย ที่มาสวมหมวกอีกใบในฐานะผู้นำองค์กรใหญ่อย่าง KBTG ได้เริ่มต้นฉายภาพในการเข้าสู่ ‘The Age of AI’ ว่า สิ่งที่จะต้องเจอคือวิวัฒนาการของ Exponential Technology หรือ ระยะที่เทคโนโลยีมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีด้วยกันทั้งหมด 6 ระยะ
โดยสิ่งที่ KBTG ให้ความสำคัญคือการ “ทำให้คนไทยเข้าใจในเรื่องของ AI ให้มากขึ้น เพื่อให้เราก้าวกระโดดและไม่ตกงาน และอยู่ร่วมกัน พร้อมกับใช้ประโยชน์จาก AI ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ” ตรงจุดนี้เอง AI จะช่วยให้ Productivity ของมนุษย์เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า AI จะทำให้ Global GDP โตขึ้นขั้นต่ำ 7% และจะเป็น Solution ของทุกอย่าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทักษะที่ AI ไม่สามารถเข้ามาทดแทนมนุษย์ได้นั่นก็คือ ความเข้าใจในเพื่อนมนุษย์ (Humanity) และความเห็นอกเห็นใจ (Empathy)
จึงตรงกับคำกล่าวที่ว่า “มนุษย์” กับ “AI” ควรที่จะทำงานร่วมกันเพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ภายใต้แนวคิด ‘Augmented Intelligence’ หรือการใช้ AI ยกระดับการทำงานและความสามารถของมนุษย์ และช่วยให้มนุษย์สามารถทำในสิ่งที่ไม่เคยทำได้มาก่อน (Pushing the Boundary of Humanity)
และจากแนวคิด ‘Augmented Intelligence’ จึงเป็นเหตุผลให้ทาง บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป หรือ KBTG ได้นำมาสู่การจับมือกับ MIT Media Lab เพื่อพัฒนางานวิจัยและต่อยอดงานด้าน AI โดยยึดมั่นในหลักการ AI Literacy และ AI Ethic นั้นหมายความว่าไม่ว่าเราจะทำเทคโนโลยีอะไรก็แล้วแต่ เราจะต้องทดสอบให้มั่นใจก่อน จากนั้นจึงจะปล่อยออกสู่สาธารณะให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ ภายใต้ Spirit ที่เหมือนกัน กับเป้าหมายการทำ Research เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คนให้ดีขึ้น
โดยภายในงานได้มีการเปิดตัวโปรเจกต์ของ KBTG ได้แก่ Future You, K-GPT และ คู่คิด ผลงานแรกที่ได้มีการเปิดตัวไปเมื่อปี 2022 นั้น ได้แรงบันดาลใจจาก Time Machine นั่นก็คือ “Future You” ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ KBTG ในฐานะ Tech Company พัฒนาขีดความสามารถด้าน AI แบบก้าวกระโดด ด้วยการจับมือกับ MIT Media Lab และเป็นบริษัทไทยบริษัทแรกและบริษัทเดียวที่เป็น Research Consortium Member รวมถึงการมี collaboration กับสถาบันการศึกษาชั้นนำอื่นๆเช่น professor ระดับโลกที่เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา จาก University of California - Los Angeles (UCLA) และนักวิจัยจาก Havard University เข้ามาร่วมพัฒนางานวิจัยด้วยกัน
คุณพัทน์ ภัทรนุธาพร นักศึกษาปริญญาเอก MIT Media Lab และ KBTG Fellow ได้มาเล่าให้เราเห็นภาพกันว่า “Future You” คือ แพลตฟอร์ม AI ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถมีบทสนทนากับ Digital Twin ของตัวเองในอนาคตผ่านโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (GPT) ที่ปรับให้เหมาะสมตามข้อมูลเป้าหมายในอนาคตและนิสัยส่วนบุคคลของผู้ใช้ รวมไปถึง Goal ในชีวิตของคน ๆ นั้นด้วย เพื่อให้การสนทนารู้สึกเหมือนจริง
โดยงานวิจัยชิ้นนี้พัฒนาขึ้นมาจากทฤษฎีทางจิตวิทยา ที่พบว่ายิ่งเราสามารถจะมองเห็นตัวของเราในอนาคตได้ชัดเจนมากขึ้นเท่าไร เราก็มีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมเชิงบวกในระยะยาวมากขึ้นเท่านั้น ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตามขึ้นไปด้วย
เช่น ระบบจะสร้างความทรงจำสังเคราะห์เฉพาะบุคคล สำหรับตัวเองของผู้ใช้ในอนาคตที่มีเรื่องราวของผู้ใช้ในวัย 60 ปี ในการเพิ่มความน่าเชื่อถือของตัวละครในอนาคต ระบบจะปรับให้ภาพเหมือนของผู้ใช้เปลี่ยนไปตามอายุ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ใช้เป็นเด็กวัยมัธยมที่โตขึ้นอยากเป็นแพทย์ AI ก็จะสามารถที่จำลองความทรงจำของผู้ใช้คนนั้นในอนาคตตอนที่เป็นแพทย์วัย 60 ปี เพื่อกลับมาคุยและสามารถเล่าประสบการณ์ให้ฟังได้
ซึ่งจากการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างพบว่า จำนวนผู้เข้าร่วมกว่า 188 คน 70% ของผู้ใช้งานรู้สึกเหมือนได้คุยกับตัวเองจากโลกอนาคตจริง ๆ นอกจากนั้นยังพบว่าเทคโนโลยีนี้ช่วยลบความรู้สึกด้านลบ ลดความวิตกกังวล เพิ่มความคิดเชิงบวก และแรงจูงใจให้กับผู้ใช้ได้
“เทคโนโลยีอย่าง Future You เป็นตัวอย่างของการใช้ AI เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ให้มีความสามารถในการคิดและวางแผนในระยะยาวมากขึ้น ซึ่งจะมีผลดีต่อด้านการเงิน การศึกษา และมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นอีกด้วย” คุณพัทน์ กล่าว
สำหรับโปรเจกต์ใหม่ล่าสุดที่เปิดตัวในงานคือ การสร้างปัญญาประดิษฐ์ภาษาไทย โดยได้แรงบันดาลใจในระหว่างการทำ Future You เวอร์ชั่นแรกที่เป็นภาษาอังกฤษ
โดยท่านขุน คุณกวิน วินสน Advanced Research Engineer, KBTG รับช่วงต่อพร้อมกับฉายภาพว่า กลุ่มทีมนักวิจัยมีความต้องการที่จะนำ Advance AI Technology มาใช้ในบริบทภาษาไทย จึงได้ทำการศึกษาว่าจะนำมาใช้ให้เข้ากับ Thai Ecosystem ได้อย่างไรบ้าง ? โดยสิ่งที่ทำคือ เริ่มจากองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วนดังนี้
Language Specific Knowledge : หรือความเข้าใจบริบททางด้านภาษาและวัฒนธรรม เช่น คำลงท้ายในภาษาไทย อย่าง คะ ค่ะ
Domain Specific Knowledge : ความเข้าใจในความรู้เฉพาะด้าน เช่น ความรู้ด้านการเงิน
Human-Centered Knowledge : ความเข้าใจในพฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์และช่วยเพิ่มศักยภาพของผู้ใช้ได้
จะเห็นได้ว่าเราให้ความสำคัญกับ Knowledge ทั้ง 3 เป็นอย่างมาก ซึ่งไม่ใช่แค่ Data แต่เป็นการคำนึงถึง Knowledge ประเภทใหม่ เราจึงเรียกสถาปัตยกรรมของปัญญาประดิษฐ์นี้ว่า Knowledge-GPT หรือ K-GPT นั่นเอง
เขาอธิบายต่อว่า K-GPT เป็น Large Language Model ซึ่งเป็นการใช้ความสามารถของ GPT ในการให้ความรู้เชิงลึกเฉพาะด้าน โดยปรับให้ใช้ภาษาในการสนทนาที่เป็นมนุษย์ และเสริมความเชี่ยวชาญด้านภาษาไทยให้มากยิ่งขึ้น ทำให้สามารถตอบคำถามและแนะแนวทาง เสมือนเป็นที่ปรึกษาในแง่มุมที่แตกต่างกันพร้อม ๆ กันได้
ซึ่งได้มีการนำ K-GPT ได้ใช้ในงานวิจัยหลากหลายโปรเจกต์ รวมทั้งนำมาสร้างเป็นบริการ โดยหนึ่งในนั้นคือ “คู่คิด” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้ร่วมคิด หรือ ผู้ร่วมปรึกษาหารือ” โดยเป็น Chatbot ให้คำปรึกษา ซึ่งอยู่ในช่วงของการวิจัยและพัฒนา (Proof of Concept)
โดยคู่คิดจะมี AI ชื่อว่า ‘คะน้า’ และ ‘คชา’ ที่จะมาร่วมคิดและหาคำตอบไปพร้อมกันกับเรา ซึ่งทั้งสองมีมุมมองที่แตกต่างกัน ในลักษณะการให้ Multi Perspectives ผ่าน AI Thought Partner ที่สร้างด้วย K-GPT และนอกจากนั้น ‘คู่คิด’ ยังสามารถเข้าถึงข้อมูลที่อ้างอิงเชื่อถือได้ และที่ผ่านการตรวจสอบแล้วว่าเป็นข้อมูลที่แม่นยำ รวมทั้งให้คนไทยเข้าถึงได้ด้วย เพราะยิ่ง AI ใกล้เคียงกับคน และเข้าใจวัฒนธรรมของคนมากเท่าไร คนก็จะเชื่อใจมากขึ้นเท่านั้น
ทั้งนี้ ‘คู่คิด’ สามารถคิดได้หลากหลายด้าน หลากหลายมุมมอง เพื่อสร้างเทคโนโลยีที่ดีที่สุดที่ตัวคุณเป็นศูนย์กลาง โดยคำนึงถึงมนุษย์ที่สำคัญที่สุด และเหตุผลที่ว่าทำไมมี Chatbot 2 ตัว ที่มีการเทรนและดีไซน์ให้มี Personality ที่แตกต่างกัน เพราะป้องกันการเกิด Bias ของการให้ข้อมูลและความคิดเห็น
ทั้งนี้ท่านขุนยังเสริมว่า “จากงานวิจัยพบว่า ความหลากหลายของมุมมองความคิดเป็นสิ่งที่จะนำไปสู่นวัตกรรมอย่างแท้จริง จึงจำเป็นต้องมีทั้งคะน้า และคชา เพราะถึงแม้คะน้า กับคชา จะคล้ายกันมากแต่ทั้งสองมีบุคลิกที่แตกต่างกัน โดยคชาจะมีระเบียบแบบแผน ระมัดระวังเรื่องความเสี่ยง ในทางกลับกันคะน้า จะมีจินตนาการสูง ชอบผจญภัยและอยากรู้อยากเห็น กล้าแสดงออก นำมาสู่ความคิดเห็นและมุมมองที่แตกต่างกัน ที่จะช่วยการตัดสินใจและการแก้ปัญหาที่ดีขึ้น โดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง”
ซึ่งตรงนี้เกิดจากการสร้าง Synthetic Memory หรือ ความทรงจำสังเคราะห์และประสบการณ์ที่ผ่านมา ที่ทำให้เขาเป็นตัวเขา ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาจาก Value, Quality, รวมถึง Personalization ที่เป็นคุณลักษณะพื้นฐานของคาแรกเตอร์ของทั้งสอง โดยเป็นกลไกที่ใกล้เคียงกับที่ทดสอบแล้วใน ‘Future You’
และอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ความรู้ที่จะเข้ามาเติมเต็มตรงจุดนี้ ซึ่งเกิดจากโมดูลที่เรียกว่า Knowledge Extraction เป็นโมดูลที่ทำให้คะน้าและคชาเข้าถึงข้อมูลที่แม่นยำได้ตลอดเวลา และเมื่อทั้งสองพร้อมที่จะคุยกับเรา ก็จะต้องไปเรียนรู้ด้านภาษาผ่านโมดูล Language Speacial Augmentation จะมีการปรับภาษาให้เหมาะสมกับบริบท และวัฒนธรรมของภาษาไทย ไม่ว่าจะเป็นการรับข้อมูลเข้ามา หรือส่งข้อมูลกับไปยังผู้ใช้งาน และสุดท้ายแล้วทุก ๆ การกระทำจะมี Inapprooriate Filter ที่จะคอยคัดกรองการสนทนาที่ Sensitive ตลอดเวลา
ยกตัวอย่างเช่น ทำไมต้องออมเงิน ? คชา ตอบว่า เพราะเป็นความมั่นคงและปลอดภัยของอนาคตและวัยเกษียณ ซึ่งเป็นการสร้างวิสัยทัศน์การเงิน และความสบายใจในยามฉุกเฉิน ส่วนคะน้า มองว่าการออมเงินเป็นการเพิ่มโอกาสมากขึ้นในอนาคต เป็นบันไดไปสู่การเรียนต่อ หรือการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ๆ เพื่อต่อยอดเพิ่มขึ้น ซึ่งตรงจุดนี้ได้ความคิดในหลากหลายด้าน ส่วนเรื่องของความสำคัญของการเงินไม่ว่าจะเป็นการป้องกันความเสี่ยง หรือแม้กระทั่งการต่อยอดยิ่งขึ้นไปก็ล้วนแต่เป็นเรื่องที่มีคุณค่า
หรืออีกประเด็นคือ การคิดไอเดียสตาร์ทอัพ คชามองว่าต้องการที่จะสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่จับคู่ทักษะความชอบของผู้ใช้ให้กับงานที่เหมาะสม โดยเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างโอกาส ส่วนคะน้า อยากจะสร้างบริการให้เช่าของเล่นสำหรับเด็ก ๆ เป็นการผนวกเทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างจินตนาการและการแบ่งปันก่อให้เกิด Lifelong learning สำหรับเด็ก ๆ ซึ่งตรงจุดนี้ทำให้เห็นว่าทั้งสองไอเดียมีเทคนิคและกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน แต่สามารถสร้าง Lifelong values ให้กับผู้คนได้ไม่แพ้กัน
สำหรับสองงานวิจัยนี้ KBTG ต้องการที่จะทดลองและสาธิตให้เห็นว่า AI สามารถให้ข้อมูลที่ช่วยให้การตัดสินใจของมนุษย์ดีขึ้น ด้วยการปรับเปลี่ยนปัจจัยในแง่มุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์ ภาษา ความลึกของความรู้และอารมณ์
ทั้งนี้คุณกระทิง มองว่า AI เป็นเรื่องที่ใหม่ และเป็นเทคโนโลยีที่เหมือนดาบสองคม ดังนั้นสิ่งที่ KBTG ต้องการที่จะทำคือ ทดลองและทดสอบพร้อมกับสาธิตให้เห็นว่า AI สามารถให้ข้อมูลที่ช่วยให้การตัดสินใจของมนุษย์ดีขึ้น
ขณะเดียวกัน คุณกระทิง ยังได้มีการพูดถึงภารกิจที่ให้ความสำคัญซึ่งนั่นก็คือ Co-Research ที่ KBTG ต้องการสร้าง Technology ที่ Augments people และต้องการสร้าง AI ที่ Augments people ส่วนอีกด้านคือ Education ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญ โดยต้องการสร้าง Knowledge ที่ Augments คน
“สิ่งที่เรากำลังทำคือ Thai-AI Augmented Literacy Guideline และ AI Ethics Awareness ได้แก่ 4C คือ Co-Imagine, Co-Exploring, Co-Thinking และ Co-Creating ทั้งหมดนี้คือการศึกษายุคใหม่ที่มีมนุษย์และ AI เป็นศูนย์กลาง เพราะ AI ไม่ได้ทำให้มนุษย์โง่ลง แต่ทำให้มนุษย์กลายเป็น Super Human”
จึงได้มีการเปิดให้ทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นผู้กำหนดนโยบาย สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย หน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน เอเจนซี่ องค์กร สตาร์ทอัพ เข้ามาร่วมพัฒนา เพื่ออยากให้เป็นประโยชน์กับประเทศไทยและนำไปใช้ได้จริง ซึ่ง KBTG กำลังพัฒนาร่างแรกร่วมกับ MIT Media Lab ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในเดือนมิถุนายน 2023 นี้
ขณะเดียวกันภายในงาน KBTG ยังได้ร่วมกับ MIT Media Lab และพันธมิตร ไม่ว่าจะเป็น NECTEC และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมเสวนาหารือความเป็นไปได้ในการเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจในการนำ AI ไปใช้งาน หรือ AI Literacy ให้เกิดขึ้นในวงกว้างของประเทศ โดยทั้งสามสถาบันกำลังร่วมกันเขียน Whitepaper เพื่อเป็นไกด์ไลน์เผยแพร่ให้กับบุคคลทั่วไปที่ต้องการมีทักษะในการใช้งาน AI อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากการสร้างผลงานวิจัยและการพัฒนาในภาคธุรกิจแล้ว การพัฒนาคนด้าน AI ของประเทศไทยในมุมของภาครัฐบาลก็เป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาควบคู่กันไป เพื่อที่จะสร้างความตระหนักด้าน AI (AI Awareness) รวมถึงแนวทางให้กับคนไทย ให้สามารถอยู่ร่วมกับ AI และใช้งาน AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพราะท้ายที่สุดแล้วการที่ KBTG ‘Build Technology’ ที่ Augment People ไม่ว่าจะเป็น Future You , K-GPT และคู่คิด ก็เพื่อให้คุณภาพชีวิตของคนไทยทั้งประเทศดีขึ้นนั่นเอง และนี่คือ Vision ทั้งหมดของ KBTG
สำหรับผู้ที่สนใจในการพัฒนาต่อยอดเรื่องของ AI ในประเทศไทยร่วมกับทาง KBTG สามารถติดต่อได้ที่ [email protected]
บทความนี้เป็น Advertorial
Sign in to read unlimited free articles