เมื่อเร็ว ๆ นี้ญี่ปุ่นประกาศว่าจะปล่อยน้ำที่ปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีซึ่งผ่านการบำบัดแล้วลงสู่มหาสมุทร โดยทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานเฝ้าระวังด้านนิวเคลียร์ของสหประชาชาติก็ได้อนุมัติแผนนี้แล้วเช่นกัน
ส่วนเหตุผลที่ต้องระบายออกสู่มหาสมุทร เนื่องจากญี่ปุ่นไม่มีพื้นที่เพียงพอในการเก็บวัตถุที่ปนเปื้อน เพราะหลังจากเหตุการณ์สึนามิซัดถล่มโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะเมื่อปี 2011
บริษัท Tokyo Electric Power (TEPCO) ซึ่งเป็นบริษัทไฟฟ้าของรัฐ ได้สร้างถังขนาดใหญ่จำนวนมากเพื่อเก็บน้ำที่ปนเปื้อน ปัจจุบันพื้นที่ในการสร้างถังกำลังจะหมดลง จึงต้องบำบัดน้ำที่ปนเปื้อนและปล่อยออกสู่มหาสมุทร
ถึงแม้องค์การสหประชาชาติจะอนุมัติแผนดังกล่าว แต่ในประเทศข้างเคียงและชาวประมงพื้นบ้านก็ยังกังวลถึงผลเสียที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะจีนที่มองว่าแค่การประเมินจาก IAEA อาจจะไม่เพียงพอ
แม้ว่าบริษัท TEPCO และ IAEA จะยืนยันว่าน้ำเหล่านี้ได้รับการบำบัดจนเหลือปริมาณไอโซโทปกัมมันตภาพรังสีต่ำกว่าขีดจำกัดและจะส่งผลกระทบน้อยที่สุดต่อทั้งคนและสิ่งแวดล้อม แต่เหล่าผู้เชี่ยวชาญก็ได้ออกมาพูดถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่
Shigeyoshi Otosaka ซึ่งเป็นนักสมุทรศาสตร์และนักเคมีทางทะเลจาก Atmospheric and Ocean Research Institute of the University of Tokyo กล่าวว่า ทริเทียม (เป็นไอโซโทปหนึ่งในสามชนิดของอะตอมไฮโดรเจน) สามารถสะสมในปลาและสิ่งมีชีวิตในทะเลได้ ดังนั้นการศึกษาและประเมินว่าสารกัมมันตภาพรังสีเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวได้หรือไม่ จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำ
ซึ่งโฆษกของบริษัท TEPCO เผยว่า บริษัทได้ทำการทดลองเลี้ยงสัตว์ทะเลในน้ำที่ผ่านการบำบัด เพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับสัตว์เหล่านี้ พวกเขาพบว่าระดับไอโซโทปในร่างกายของสิ่งมีชีวิตถึงจุดสมดุลและไม่เพิ่มมากขึ้นหลังจากเวลาผ่านไประยะหนึ่ง และเมื่อสัตว์น้ำเหล่านี้ถูกปล่อยกลับไปในน้ำทะเลปกติ ระดับไอโซโทปจะค่อย ๆ ลดลง
Sign in to read unlimited free articles