ถอดบทเรียน CEO Hello Tomorrow กับ 3 ทักษะที่ผู้นำต้องมีในยุคแห่งนวัตกรรม | Techsauce

ถอดบทเรียน CEO Hello Tomorrow กับ 3 ทักษะที่ผู้นำต้องมีในยุคแห่งนวัตกรรม

บ้านที่สร้างด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์แบบ 3 มิติ ถนนคอนกรีตที่ซ่อมแซมได้เอง หุ่นยนต์ที่ช่วยแพทย์ในการศัลยกรรม นี่คือไม่กี่ตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงการใช้ Deep Tech โซลูชันเทคโนโลยีที่มีพื้นฐานจากนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ หรือ วิศวกรรมศาสตร์ ในการแก้ไขปัญหาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในมนุษยชาติ

แม้ว่า Deep Tech จะได้รับความสนใจจากองค์กรอย่างล้นหลาม เกิดการแข่งขันอย่างดุเดือด และแต่ละองค์กรก็ได้คาดหวังถึงผลตอบแทนสูง อย่างไรก็ตาม องค์กรส่วนมากถึง 82% กลับไม่กล้าเริ่มลงทุนในเทคโนโลยี Deep Tech รวมไปถึงนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้ในชีวิตจริง 

เพราะการใช้เทคโนโลยี Deep Tech ให้เกิดคุณค่าและประโยชน์ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับองค์กร ต้องมีผู้นำที่สามารถรับมือกับความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลงที่คาดไม่ถึง ซึ่งกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจในตลาดที่มีการแข่งขันสูง (Red Ocean) อาจใช้ไม่ได้อีกต่อไป 

บทความนี้ได้เรียบเรียงบทสัมภาษณ์ของ Arnaud de la Tour ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานบริษัท Hello Tomorrow  ผู้คร่ำหวอดในระบบนิเวศสตาร์ทอัพ และเล็งเห็นถึงประโยชน์ของ Deep Tech ที่จะช่วยเร่งการเติบโตขององค์กรได้อย่างก้าวกระโดด ได้กล่าวถึงทักษะที่ผู้นำจะต้องมีในยุคแห่งนวัตกรรม

ภาพจาก forbes

ในภาคการเกษตรและภาคการผลิต ปกติจะไม่ได้ให้ความสนใจในเทคโนโลยีเป็นทุนเดิม จนกว่าจะประสบปัญหาที่ว่า เทคโนโลยีได้สร้างแรงสั่นสะเทือน และกลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อรูปแบบการดำเนินธุรกิจของตน ยกตัวอย่างเช่น บริษัทสาธารณูปโภคที่มีรายได้หลักจากการบำบัดน้ำเสียให้กับบริษัทเหมืองแร่ ปัจจุบัน บริษัทเหมืองแร่พัฒนาเทคโนโลยีบำบัดน้ำเสียได้เอง จนไปถึงสามารถใช้แบคทีเรียในการรวบรวมโลหะที่มีค่าขึ้นมาจากน้ำเสียอีกด้วย ทำให้บริษัทเหมืองแร่ไม่ต้องพึ่งพาบริษัทสาธารณูปโภคอีกต่อไป 

Interviewer : จากสิ่งที่คุณ Arnaud กล่าว แสดงให้เห็นว่ารายได้หลักของธุรกิจที่เคยมีนั้นหายไปเลย ?

Arnaud: ใช่ เช่นเดียวกันกับกรณีที่โควิด-19 ได้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาวัคซีนที่ทำมาจากชีววิทยาสังเคราะห์ (synthetic biology) ที่อาศัยอุณหภูมิที่เย็นจัดเพื่อให้ยังคงคุณภาพไว้ บริษัทโลจิสติกส์ทั่วโลกก็ต้องปรับตัวขนานใหญ่เพื่อรองรับการขนส่งวัตถุที่มีอุณหภูมิเย็นจัดตลอดระยะทาง

Interviewer : ด้วยเหตุนี้ คุณจึงเหมือนเป็นคนกลางที่คอยจับคู่สตาร์ทอัพ Deep Tech ให้กับองค์กรที่มองหาเทคโนโลยีมาแก้ปัญหา

Arnaud:  ใช่ นั่นเป็นบริการที่ได้รับความนิยมอันดับต้น ๆ ของ Hello Tomorrow เช่น กรณีที่บริษัทการบินและอวกาศต้องการจะสร้างโมเดลรูปแบบดิจิทัลของเครื่องบิน ทาง Hello Tomorrow ก็จะแบ่งปันเอกสารแสดงข้อมูลและความต้องการของธุรกิจดังกล่าว หรือที่เรียกว่า Request for Proposal (RFP) สำหรับสตาร์ทอัพ Deep Tech ที่อยู่ในเครือข่ายเพื่อเฟ้นหาเทคโนโลยีที่สามารถทำ Digital Twins หรือฝาแฝดทางดิจิทัล ทำสำเนาของวัตถุทางกายภาพอย่างเครื่องบิน ให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่จำลองวัตถุได้เสมือนจริง และมีกลไกเชื่อมต่อกับวัตถุจริงได้ 

เมื่อ Hello Tomorrow ได้ Startup ที่ตรงตามความต้องการที่วางไว้ ก็จะจับคู่ Startup กับบริษัทการบินและช่วยเหลือตลอดการทำงานร่วมกันของทั้งสองฝ่าย 

ในทุก ๆ ปี มี Startup ได้สมัครเข้าแข่งขันนวัตกรรม Deep Tech ในโครงการ Hello Tomorrow Challenge กว่า 5,000 ราย ซึ่งได้เปิดทางให้ทางบริษัทได้เข้าถึงข้อมูลที่มีประโยชน์จำนวนมหาศาล รวมไปถึงมุมมอง เทรนด์ในแง่ของวิทยาศาสตร์และธุรกิจในทุก ๆ 1-3 ปี

Interviewer : สิ่งที่คุณทำไม่ใช่แค่นำ Deep Tech เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีเท่านั้น แต่เป็นกรอบความคิดที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานของบริษัทด้วย ทั้งวัฒนธรรมองค์กร และวิธีการดำเนินการ

Arnaud: ใช่แล้ว ผมได้พูดคุยกับสมาชิกรัฐสภายุโรปเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า วิธีการนำ Deep Tech มายกระดับองค์กร และทำให้องค์กรประสบความสำเร็จคือ ไม่ใช่แค่นำเทคโนโลยีมาใช้แล้วก็จบ แต่องค์กรเองจะต้องตีกรอบปัญหาใหม่ พัฒนาปัญหาที่มีอยู่เพื่อครอบคลุมหลายมิติมากขึ้น นำมาสู่โซลูชันที่ใช่และตอบโจทย์ตรงประเด็น

ดังเช่นกรณีที่ Adidas ผู้ผลิตเครื่องแต่งกายกีฬา ต้องการจะแก้ไขปัญหาที่ว่าทำอย่างไรจะรีไซเคิลวัสดุพลาสติกจากเครื่องแต่งกายที่มีอยู่มาเป็นสินค้าใหม่ได้ หาก Adidas ใช้เทคโนโลยีโดยยึดติดกับปัญหาที่ว่า “เราจะนำชิ้นส่วนวัสดุกว่า 30 ชนิดมารีไซเคิลผลิตเป็นรองเท้าคู่ใหม่ได้อย่างไร” คงไม่อาจแก้ไขปัญหาได้ดีเท่าถ้าหาก Adidas เปลี่ยนมุมมอง และวางกรอบคำถามใหม่ว่า “เราจะใช้ขยะพลาสติกโพลีเมอร์ มาผลิตรองเท้าทั้ง 2 ข้างได้อย่างไร”

Interviewer : ฉันชอบแนวคิดนี้ การตีกรอบปัญหาใหม่จะกลายเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้นำในยุคนี้

Arnaud: นอกจากการตีกรอบปัญหาใหม่แล้ว อีกสิ่งหนึ่งคือเปลี่ยนคำถามใหม่ด้วยเช่นกัน นี่จึงเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมสตาร์ทอัพถึงได้เปรียบกว่าหากต้องมากำหนดกรอบปัญหาใหม่ เพราะสตาร์ทอัพเริ่มต้นมาจากศูนย์ และใน Deep Tech เป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากการบรรจบกันของเทคโนโลยีอื่น ๆ จึงทำให้เกิดความเป็นไปได้ของสิ่งต่าง ๆ แทบจะไร้ขีดจำกัด 


Interviewer : คุณกำลังจะบอกว่ามีโซลูชันมากมายที่บริษัทอาจมองข้าม ?

Arnaud: ใช่ และองค์กรไม่จำเป็นต้องเข้าใจลักษณะทางเทคนิคของ Deep Tech ทั้งหมด แต่ทุกคนในทีมจะต้องเข้าใจว่าเทคโนโลยีชนิดนี้ทำอะไรได้บ้าง เพราะถ้าหากคุณไม่รู้ว่าบางสิ่งสามารถเกิดขึ้นได้ ก็จะไม่มีทางที่จะวางกรอบปัญหาได้

Interviewer : เป็นการเน้นพัฒนานวัตกรรมใหม่แบบค่อยเป็นค่อยไป รวมไปถึงปกป้องนวัตกรรมเดิมที่มีอยู่

Arnaud: ใช่เลย หากคุณต้องการจะเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด คุณจะต้องเชื่อมั่นในองค์กร สร้างความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้า โดยอิงจากวิสัยทัศน์ที่ว่าอุตสาหกรรม Deep Tech จะเป็นอย่างไรในอีก 5 ปี หรือ 10 ปี เพราะเทคโนโลยี Deep Tech มีความเสี่ยงสูง โครงการกว่าครึ่งอาจไม่ประสบความสำเร็จ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่คุ้มกับที่เสี่ยงไป นี่คือมายด์เซ็ตของ VC ไม่ใช่เจ้าของกิจการแบบดั้งเดิม 

Interviewer : แล้วระบบนิเวศของสตาร์ทอัพมีบทบาทอย่างไรในส่วนนี้ ?

Arnaud: เนื่องจาก Deep Tech คือการหลอมรวมของเทคโนโลยีหลากหลายประเภท เช่น การทำชีววิทยาสังเคราะห์ให้เกิดขึ้นจริง จะต้องอาศัยเทคโนโลยีด้านชีวภาพในการสร้างแบคทีเรีย และหุ่นยนต์ในการผลิต รวมไปถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีและออกแบบสิ่งมีชีวิตให้เกิดประสิทธิภาพ บริษัทส่วนใหญ่ไม่ได้มีทักษะที่ครอบคลุมเช่นนี้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ หรือ สตาร์ทอัพเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ

Interviewer : นั่นจึงนำไปสู่ Mindset ที่ว่า องค์กรจะต้องเปิดให้สามารถติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ และ ร่วมมือเพื่อสร้างโซลูชันที่มีประโยชน์ร่วมกันในอนาคต ซึ่งในส่วนนี้เองอาจนำพาให้ทั้งองค์กรและหุ้นส่วนทางธุรกิจเองจับมือกันเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมได้ 

Arnaud:  เพราะส่วนแบ่งการตลาดระหว่างบริษัทจะไม่ใหญ่ไปกว่านี้แล้ว เรากำลังพูดถึงโอกาสใหม่ที่ยังไม่ได้สำรวจโดยสิ้นเชิง องค์กรสามารถเริ่มต้นบุกเบิกร่วมกับหุ้นส่วนได้ 

แต่ถ้าคุณกลัวว่าบางบริษัทที่เปิดเผยกลยุทธ์ของคุณต่อสาธารณะ คุณสามารถจำกัดจำนวนพาร์ทเนอร์ที่มีศักยภาพ ช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายได้ 

เรียกได้ว่าเป็นการทำกลยุทธ์แบบ Open Source ที่ Hello Tomorrow ที่ทำงานร่วมกับบริษัทต่าง ๆ เพื่อหาความท้าทายที่ธุรกิจต้องแก้ไข คุณค่าใหม่ที่ธุรกิจต้องการนำเสนอ (Value Propositions) ช่วยธุรกิจดังกล่าวในการสื่อสารให้แพร่หลายบนโลกโซเชียลมีเดีย รวมไปถึงทำให้ Startup และบริษัทอื่น ๆ เข้าถึงองค์กรได้ง่ายและช่วยกันหาไอเดียมาต่อยอดสิ่งที่มีอยู่

สรุป

อย่างไรก็ตามหากองค์กรต้องการเข้าสู่โลกเทคโนโลยี Deep Tech สิ่งที่ผู้นำต้องมีได้แก่ จะต้องกำหนดกรอบปัญหาใหม่ เชื่อมั่นในศักยภาพของเทคโนโลยี Deep Tech ที่มี รวมไปถึงมีส่วนร่วมในระบบนิเวศของ Deep Tech อย่างเต็มที่ 

=================

สำหรับในประเทศไทยเอง Techsauce ได้มีการร่วมมือกับ Hello Tomorrow เดินหน้ายกระดับประสิทธิภาพองค์กรด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีขั้นสูง หรือ Deep Tech โดยการเชื่อมโยงองค์กรในประเทศไทยกับกลุ่ม Deep Tech Startups ผ่านการร่วมมือทั้งในรูปแบบพันธมิตรและการเข้าลงทุน สนใจติดต่อได้ที่ [email protected]

=================

บทความนี้ได้เรียบเรียงจาก Forbes ที่ได้มีการสัมภาษณ์ Arnaud de la Tour ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานบริษัท Hello Tomorrow




Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

VC เผยวิธีมองสตาร์ทอัพให้ขาด ก่อน ORZON Ventures เข้าไปลงทุน

คุยกับ 'คุณณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล ผู้อำนวยการการลงทุน ORZON Ventures' เรื่องการทำงานระหว่าง OR กับ 500 TukTuks, เกณฑ์การพิจารณาสตาร์ทอัพที่น่าลงทุน, เหตุที่บางดีลเกิด/ไม่เกิด รวม...

Responsive image

ติววิชา Sustainability ก่อนมุ่งสู่ ‘ESG Report’ คอนเทนต์ที่สตาร์ทอัพควรอ่าน จากงาน ESG ESSENTIAL WORKSHOP

Key Messages เกี่ยวกับ Sustainability & ESG จากงานสัมมนา ESG ESSENTIAL WORKSHOP: Navigating Sustainability for Post-Revenue Startups ในโครงการ KATALYST by KBank โดย Beacon VC...

Responsive image

ปรับองค์กรสู่ Digital Future เริ่มที่ ‘คน’ หรือ ‘เทคโนโลยี’ ฟัง NTT DATA ผู้เชี่ยวชาญ Digital Transformation

บทความนี้ Techsauce จะพาไปหาคำตอบว่า…ทำไมทรัพยากรคนถึงมีผลต่อ Digital Transformation และองค์กรควรรับมืออย่างไร?...