Grab ทุบสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ประกาศรายได้ไตรมาส 1/2021 แตะ 1.67 หมื่นล้านบาท พุ่งขึ้น 39% จากปีก่อน | Techsauce

Grab ทุบสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ประกาศรายได้ไตรมาส 1/2021 แตะ 1.67 หมื่นล้านบาท พุ่งขึ้น 39% จากปีก่อน

Grab Holdings Inc. แพลตฟอร์ม Super App ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกาศผลการดำเนินงานไตรมาสแรกของปี 2564 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2564 ก่อนที่ Grab ร่วมกับ Altimeter Growth Corp. ยื่นหนังสือชี้ชวนต่อ กลต.สหรัฐ เพื่อควบรวมกิจการ SPAC เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 4/2564 

Grab ผลประกอบการไตรมาสที่ 1

Anthony Tan ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง Grab กล่าวว่า “ในขณะที่เราเตรียมความพร้อมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทางบริษัทได้เผยแพร่ผลประกอบการประจำไตรมาสแรกให้รับทราบก่อน ซึ่งธุรกิจยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มาอย่างต่อเนื่อง ลูกค้าของเราในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ได้ไว้วางใจ Grab และใช้งานแอปในหลากหลายวิธี เพื่อตอบสนองความต้องการในชีวิตประจำวันของพวกเขาในทุก ๆ วัน เรารู้สึกตื่นเต้นกับโอกาสการเติบโตของธุรกิจ ดังที่เห็นในบริการฝากซื้อสินค้าจากซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือร้านค้าสะดวกซื้อ รวมไปถึงบริการทางการเงิน” 

ขณะที่ Peter Oey ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของ Grab กล่าวเสริมว่า  “เราได้บรรลุเป้าหมายสำหรับรายได้ และ EBITDA ที่ปรับปรุงแล้วของไตรมาสแรก ปี 2564 นับว่าเป็นทิศทางการเติบโตที่แข็งแกร่ง”

ภาพรวมผลประกอบการของ Grab ประจำไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 

รายได้ หรือ ยอดขายสุทธิ (Adjusted Net Sales) ของ Grab ในไตรมาสที่ 1/2564  อยู่ที่ 507 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 39% จากปีที่ผ่านมา ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่การบันทึกรายได้รวมทางบัญชีตามมาตรฐาน IFRS แล้วจะอยู่ที่ 216 ล้านดอลลาร์ 

โดยบริษัทได้รับอานิสงส์มาจากการขนส่งเดลิเวอรี่ (Deliveries GMV) ที่ปรับตัวขึ้น 49% เป็นการฟื้นตัวจากมาตรการล็อกดาวน์และมาตรการจำกัดอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของโควิด-19 ในปีที่ผ่านมา ซึ่งได้ผลักดันให้  GMV รวมเติบโตขึ้น  5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แตะระดับ 3.6 พันล้านดอลลาร์ 

ด้านจำนวนผู้ใช้ที่ทำธุรกรรมรายเดือน (Monthly Transacting Users - MTU) ในไตรมาสที่ 1/2564 เติบโตขึ้น 31% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แสดงให้เห็นถึงการผนึกกำลังอย่างแข็งแกร่งระหว่างกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ดำเนินการรวมเป็นซุปเปอร์แอปของ Grab 

ทั้งนี้ในไตรมาสที่ 1/2564 นี้ EBITDA ของบริษัทแม้ว่ายังคงขาดทุนอยู่ที่ 111 ล้านดอลลาร์ แต่ถือเป็นสัญญาณที่ดีจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ ขาดทุนอยู่ที่ 344 ล้านดอลลาร์ ดังนั้นในปีนี้ EBITDA ของ Grab ปรับตัวเพิ่มขึ้น 233 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นเติบโตขึ้น 68%

อย่างไรก็ตามเมื่อมาดูตรงบรรทัดสุดท้ายอย่างผลกำไรขาดทุน ปรากฎว่า Grab ยังคงมีผลขาดทุนสุทธิ (Net Loss) ในไตรมาสที่ 2564 อยู่ที่ 652 ล้านดอลลาร์ ซึ่งปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 15% ที่มีผลขาดทุนสุทธิอยู่ที่ 771 ล้านดอลลาร์ 

โอกาสทางการตลาดที่รองรับการเติบโตของ Grab ในระยะยาว

Euromonitor บริษัทวิจัยการตลาดระดับโลก ได้ทำการวิจัยเพื่อหาโอกาสทางการตลาดของ Grab ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดในแต่ละหมวดหมู่ของบริการ โดย Grab ได้ให้บริการหลัก 3 ประเภท ได้แก่ 1. บริการจัดส่งพัสดุและสั่งอาหาร  2. บริการเรียกรถโดยสาร  3. บริการทางการเงิน 

จากการวิเคราะห์ของ Euromonitor ระบุว่า Grab นั้นเป็นผู้นำตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในส่วนของ GMV ในบริการจัดส่งพัสดุและสั่งอาหาร และในด้านของปริมาณการใช้จ่ายเงินผ่านแพลตฟอร์ม (Total Payment Volume) ที่เกิดขึ้นจากบริการทางการเงิน 

เนื่องจาก Grab เป็นผู้นำตลาดทั้งในด้านของการขยายธุรกิจและในแต่ละหมวดหมู่ของบริการทั้งหมดในบริษัท จึงยังทำให้ Grab นั้นอยู่ในตำแหน่งที่ดีและเติบโตอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์ว่ามูลค่าธุรกิจแกนหลักทั้งบริการขนส่งอาหารและพัสดุ บริการเรียกรถโดยสาร และบริการทางการเงินของ Grab จะเติบโตสู่ 1.3 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2568 จากเดิมราว 5.2 หมื่นล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน 

Brad Gerstner ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Altimeter Capital บริษัท SPAC ที่ได้ร่วมตกลงควบรวมกิจการกับ Grab กล่าวว่า “เรารู้สึกพึงพอใจกับผลการดำเนินงาน การเติบโตของธุรกิจ รวมไปถึงรูปแบบธุรกิจที่หลากหลายและยืดหยุ่นของ Grab ในไตรมาสที่ 1 ทางบริษัทรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะสนับสนุน Grab ในฐานะหุ้นส่วนระยะยาว และสำหรับการก้าวสู่การเป็นบริษัทมหาชน เพื่อที่ว่า Grab จะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าหลายล้านคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไปในระยะยาว”

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

AirAsia MOVE ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ สู่ผู้นำแพลตฟอร์มเดินทาง OTA แบบคุ้มครบจบในแอปเดียว พร้อมแพ็กเกจบินทั่วอาเซียนแบบไม่จำกัด

airasia Superapp ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ในชื่อ AirAsia MOVE พร้อมปรับโฉมแอปพลิเคชันใหม่ และเสริมกลยุทธ์ด้านธุรกิจเพื่อผลักดันให้ AirAsia Move เป็นผู้นำด้านแพลตฟอร์ม OTA (ตัวแทนด้านก...

Responsive image

คนไทยไปญี่ปุ่น เตรียมสแกนจ่ายได้ ผ่านระบบ QR Code คาดเริ่มเมษาปีหน้า

สำนักข่าว Nikkei Asia รายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นได้เริ่มพูดคุยกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อเปิดใช้งานบริการชำระเงินผ่าน QR Code ร่วมกัน ช่วยให้นักท่องเที่ยวใช้จ่ายสะดวกสบาย ไ...

Responsive image

Jitta ก้าวสู่ปีที่ 12 เดินหน้าแก้วิกฤตการเงิน หนุนคนไทยออมและลงทุนอัตโนมัติ

Jitta เข้าสู่ปีที่ 12 เติบโตอย่างแข็งแกร่งบนเป้าหมายที่จะสร้างนวัตกรรมทางการเงิน เพื่อช่วยให้คนไทยเข้าถึงการลงทุนที่ง่ายและสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า...