เปิดเงื่อนไขภาษีรถ EV ครอบคลุมยานยนต์ประเภทไหนบ้าง ? | Techsauce

เปิดเงื่อนไขภาษีรถ EV ครอบคลุมยานยนต์ประเภทไหนบ้าง ?

ครม.อนุมัติร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ปรับปรุงโครงสร้างการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสินค้ารถยนต์และรถจักรยานยนต์ รวม 27 ประเภท กระตุ้นให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์ พัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูง เพื่อไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนในภูมิภาคอาเซียน

เปิดเงื่อนไขภาษีรถ EV ครอบคลุมยานยนต์ประเภทไหนบ้าง ?

คุณธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มีการเปิดเผยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ (22 ก.พ. 2565) มีมติอนุมัติหลักการ ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่ง การปรับปรุงโครงสร้างการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสินค้ารถยนต์ประเภทต่าง ๆ รวม 27 ประเภท

โดยจะมีรถยนต์ที่ต้องจัดเก็บภาษีตามอัตราในร่างกฎกระทรวงนี้เมื่อกฎกระทรวง มีผลใช้บังคับ (วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา) รวม  6 ประเภท ดังนี้

รถยนต์ 6 ประเภท

1. รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก (Pick-up Passenger Vehicle: PPV) แบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้าที่สามารถเสียบปลั๊ก ประจุไฟฟ้าได้ (Plug-in Hybrid Electric Vehicle) จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 10 ตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2578 กรณีที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขจัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 50

2. รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภท ประหยัดพลังงาน แบบพลังงานไฟฟ้า (Electric Powered Vehicle) จัดเก็บ ภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 2 กรณีที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข แบ่งเป็น 2 ช่วงระยะเวลา คือ ตั้งแต่วันที่กฎกระทรวง มีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2568 และตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 252569 เป็นต้นไป ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 8 - 10

3.รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภท ประหยัดพลังงานแบบมาตรฐานสากล (Eco car) ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า ร้อยละ 14 ตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธ.ค. 66 และตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2568 พิจารณาจากความจุกระบอกสูบ อัตราการปล่อย CO2 และการติดตั้งมาตรฐานความปลอดภัย ให้จัดเก็บภาษีในอัตรา ตามมูลค่าร้อยละ 10 - 12 ถ้าไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ฯ อัตราภาษีจะเป็นไปตามอัตราของรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน

4. รถยนต์กระบะ 4 ประตู (Double Cab) แบบผสมที่ใช้ พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้าที่สามารถเสียบปลั๊กประจุไฟฟ้าได้ (Plug-in Hybrid Electric Vehicle) ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 5 ตั้งแต่กฏกระทรวงมีผลบังคับใช้

5. รถยนต์กระบะแบบพลังงานไฟฟ้า (Electric Powered Vehicle) แบ่งเป็น 2 ช่วงระยะเวลา คือ ตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับถึง วันที่ 31 ธ.ค. 2568 ให้จัดเก็บภาษี ในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 0 และตั้งแต่ 1 ม.ค. 2569 – 31 ธ.ค. 2578 ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 2 กรณีไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ มีการจัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 10 ตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับถึง วันที่ 31 ธ.ค. 2568 และ 1 ม.ค. 2569- 31 ธ.ค. 2578

6. รถยนต์กระบะแบบเซลล์เชื้อเพลิง [Fuel Cell Powered Vehicle ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 0 กรณีที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ แบ่งเป็น 2 ช่วง ตั้งแต่วันที่ กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธ.ค.2568 และตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2569 – 31 ธ.ค. 2578 ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 5

ทั้งนี้สำหรับรถยนต์ที่เหลืออีก 21 ประเภทจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2569-2578 ตามลำดับ

รถยนต์ 21 ประเภท ได้แก่

7.รถยนต์นั่ง ความจุกระบอกสูบ ไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ
ตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค. 2569 – 31 ธ.ค. 70 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 71 – 31 ธ.ค. 2572 และตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2573 เป็นต้นไป ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 13 – 38 กรณี ที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์แบ่งเป็น 2 ช่วงคือ วันที่ 1 ม.ค. 2569 – 31 ธ.ค. 2572 และตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2573 เป็นต้นไป ให้จัดเก็บภาษีในอัตรา ตามมูลค่าร้อยละ 25 – 40 สำหรับรถยนต์นั่งความจุกระบอกสูบเกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2569 เป็นต้นไป ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า ร้อยละ 50

8. รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก (Pick-up Passenger Vehicle: PPV) ความจุกระบอกสูบ 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตาม มูลค่าร้อยละ 18 – 50 ที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทไบโอดีเซล (B20) ร้อยละ 16 – 50 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2569 – 31 ธ.ค. 2578

9. รถยนต์นั่งที่ผลิตจากรถยนต์กระบะหรือแชสซีส์และกระจก บังลมหน้า (Chassis With Windshield) ของรถยนต์กระบะ หรือดัดแปลงจากรถยนต์กระบะ ที่ผลิตหรือดัดแปลงโดยผู้ประกอบอุตสาหกรรม ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 2.5 – 40 ที่ดัดแปลงโดยผู้ดัดแปลง จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 25 ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2569 เป็นต้นไป

10. รถยนต์สามล้อชนิดรถสกายแลป ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 0 ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2569 เป็นต้นไป

11.รถยนต์อื่น ๆ นอกเหนือจากข้อ 1 – 5 ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 50 ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2569 เป็นต้นไป

12. รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2569 – 31 ธ.ค. 70 ตั้งแต่ 1 ม.ค. 71 – 31 ธ.ค. 2572 และตั้งแต่ 1 ม.ค. 2573 เป็นต้นไป ให้จัดเก็บภาษีในอัตรา ตามมูลค่าร้อยละ 13 – 38 กรณีที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ แบ่งเป็น 2 ช่วงระยะเวลา คือ ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2569 – 31 ธ.ค. 2572 และตั้งแต่ 1 ม.ค. 2573 เป็นต้นไป ให้จัดเก็บ ภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 25 – 40 สำหรับรถที่มีความจุกระบอกสูบเกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า ร้อยละ 50 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2569 เป็นต้นไป

13.รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ที่ใช้ เป็นรถพยาบาล และรถยนต์ต้นแบบที่ผลิตหรือนำเข้ามาโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำไปวิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะที่ไม่เคยมีการจำหน่าย ในท้องตลาดเป็นการทั่วไป ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 0 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2569 เป็นต้นไป

14. รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภทประหยัดพลังงานแบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า (Hybrid Electric Vehicle) แบ่งเป็น 3 ช่วงระยะเวลา คือ ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2569 – 31 ธ.ค. 70 ตั้งแต่ 1 ม.ค. 71 – 31 ธ.ค. 2572 และตั้งแต่ 1 ม.ค. 2573 เป็นต้นไป ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 6 – 28 กรณีที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2569 – 31 ธ.ค. 2572 และตั้งแต่ 1 ม.ค. 2573 เป็นต้นไป มีการจัดเก็บ ภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 15 – 30 กรณีที่มีความจุกระบอกสูบเกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า ร้อยละ 40 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2569 เป็นต้นไป

15. รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภทประหยัดพลังงานแบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า ที่สามารถเสียบปลั๊กประจุไฟฟ้าได้ (Plug-in Hybrid Electric Vehicle) ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า ร้อยละ 5 – 10 ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2569 เป็นต้นไป กรณีที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2569 – 31 ธ.ค. 2572 และตั้งแต่ 1 ม.ค. 2573 เป็นต้นไป ให้จัดเก็บภาษี ในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 15 – 20 สำหรับความจุกระบอกสูบเกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า ร้อยละ 30 ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2569 เป็นต้นไป

16. รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภทประหยัดพลังงาน แบบเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Powered Vehicle) ให้จัดเก็บภาษี ในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 1 กรณีที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ให้จัดเก็บภาษี ในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 5 ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2569 เป็นต้นไป

17.รถยนต์นั่งสามล้อ และรถยนต์นั่งที่ผลิตขึ้นโดยใช้เครื่องยนต์ ของรถจักรยานยนต์ขนาดไม่เกิน 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร รถยนต์สามล้อ ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 2 – 4 รถยนต์นั่งที่ผลิตขึ้นโดยใช้เครื่องยนต์ของ รถจักรยานยนต์ขนาดไม่เกิน 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 4 ตั้งแต่ 1 ม.ค 2569 เป็นต้นไป

18. รถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวม น้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กก. ที่ไม่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลัง ที่นั่งคนขับ (No Cab) ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 3 – 5 ตั้งแต่ 1 ม.ค 2569 – 31 ธ.ค. 2578

19. รถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวม น้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กก. ที่ไม่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลัง ที่นั่งคนขับ (No Cab) ที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทไบโอดีเซล (B20)ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 2 – 4 ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2569 – 31 ธ.ค. 2578

20. รถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวม น้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กก. ที่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลัง ที่นั่งคนขับ (Space Cab) ที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทไบโอดีเซล (B20) ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 3 – 7 ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2569 – 31 ธ.ค. 2578

21. รถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวม น้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กก. ที่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลัง ที่นั่งคนขับ (Space Cab) ให้จัดเก็บภาษี ในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 5 – 8 ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2569 – 31 ธ.ค. 2578

22. รถยนต์กระบะ 4 ประตู (Double Cab) ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตาม มูลค่าร้อยละ 8 – 13 ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2569 – 31 ธ.ค. 2578

23. รถยนต์กระบะ 4 ประตู (Double Cab) ที่ใช้เชื้อเพลิง ประเภทไบโอดีเซล (B20) ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า ร้อยละ 6 – 12 ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2569 – 31 ธ.ค. 2578

24. รถยนต์กระบะแบบพลังงานไฟฟ้า (Electric Powered Vehicle) ให้จัดเก็บภาษี ในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 0 -2 ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2569 – 31 ธ.ค. 2578

25. รถยนต์กระบะแบบเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Powered Vehicle) ให้จัดเก็บภาษีในอัตรา ตามมูลค่าร้อยละ 0 – 1 ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2569 – 31 ธ.ค. 2578

26. รถยนต์ต้นแบบที่ผลิตหรือนำเข้ามาโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำไปวิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะที่ไม่เคยมีการจำหน่าย ในท้องตลาด จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 0 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2569

27. รถยนต์ประเภทอื่น ๆ นอกจากข้อ 15 – ข้อ 26 ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 15 – 50 ตั้งแต่ วันที่ 1 ม.ค. 2569 เป็นต้นไป โดยจะพิจารณาจากความจุกระบอกสูบ อัตรา การปล่อย CO2

ขณะที่ การปรับปรุงโครงสร้างการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสินค้า รถจักรยานยนต์รวม 4 ประเภท ได้แก่

1. แบบพลังงานไฟฟ้า โดยจะพิจารณาจากแรงดันไฟฟ้า ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า ร้อยละ 0 – 10 ตั้งแต่ 1 ม.ค. พ.ศ. 2569 เป็นต้นไป

2. แบบที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิง หรือแบบผสมที่ใช้พลังงาน เชื้อเพลิงและไฟฟ้า ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 4 – 25

3. รถจักรยานยนต์ต้นแบบที่ผลิตหรือนำเข้ามาโดยมี วัตถุประสงค์เพื่อนำไปวิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะ ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 0 ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2569 เป็นต้นไป

4. รถจักรยานยนต์อื่น ๆ นอกจากข้อ 1 – ข้อ 3 แบ่งเป็น 2 ช่วงระยะเวลาคือ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2569 – 31 ธ.ค. 2572 และตั้งแต่ วันที่ 1 ม.ค. 2573 เป็นต้นไป ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า ร้อยละ 25 – 30

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

AirAsia MOVE ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ สู่ผู้นำแพลตฟอร์มเดินทาง OTA แบบคุ้มครบจบในแอปเดียว พร้อมแพ็กเกจบินทั่วอาเซียนแบบไม่จำกัด

airasia Superapp ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ในชื่อ AirAsia MOVE พร้อมปรับโฉมแอปพลิเคชันใหม่ และเสริมกลยุทธ์ด้านธุรกิจเพื่อผลักดันให้ AirAsia Move เป็นผู้นำด้านแพลตฟอร์ม OTA (ตัวแทนด้านก...

Responsive image

คนไทยไปญี่ปุ่น เตรียมสแกนจ่ายได้ ผ่านระบบ QR Code คาดเริ่มเมษาปีหน้า

สำนักข่าว Nikkei Asia รายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นได้เริ่มพูดคุยกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อเปิดใช้งานบริการชำระเงินผ่าน QR Code ร่วมกัน ช่วยให้นักท่องเที่ยวใช้จ่ายสะดวกสบาย ไ...

Responsive image

Jitta ก้าวสู่ปีที่ 12 เดินหน้าแก้วิกฤตการเงิน หนุนคนไทยออมและลงทุนอัตโนมัติ

Jitta เข้าสู่ปีที่ 12 เติบโตอย่างแข็งแกร่งบนเป้าหมายที่จะสร้างนวัตกรรมทางการเงิน เพื่อช่วยให้คนไทยเข้าถึงการลงทุนที่ง่ายและสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า...