ESG คือหน้าที่ของทุกคน 3 มุมมองจาก ผู้ประกอบการ นักลงทุน และนักรณรงค์ | Techsauce

ESG คือหน้าที่ของทุกคน 3 มุมมองจาก ผู้ประกอบการ นักลงทุน และนักรณรงค์

Session สุดท้ายจากงาน Techsauce Global Summit 2023 ที่บรรยายโดยคุณ Dora Damjanovic, คุณเข็มอัปสร สิริสุขะ และคุณณิชาภัทร อาร์ค ในหัวข้อ Social Impact and Innovative Changes อีกหนึ่งหัวข้อสำคัญของซึ่งมุ่งเน้นในการสร้างผลกระทบเชิงบวกให้แก่โลก

ผู้บรรยายทั้ง 3 ท่านได้มาแบ่งปันประสบการณ์และข้อมูลเชิงลึกที่สามารถทำให้โลกใบนี้ดีขึ้นได้ ทั้งในแง่ผู้ประกอบการ นักลงทุน และนักรณรงค์ โดยประเด็นที่ถูกพูดถึงใน Session นี้จะเจาะไปในมุมของ “พลังของสิ่งเล็ก ๆ ที่สามารถสร้างความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่แก่โลกใบนี้ได้” 

กุญแจสำคัญที่จะก้าวไปสู่ความรับผิดชอบและยั่งยืน

ในปัจจุบันมีปัญหามากมายที่มนุษยชาติต้องเผชิญ ทั้งโรคระบาด, วิกฤตทางการเงิน, ปัญหาสภาพภูมิอากาศ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ไม่สามารถแก้ไขได้จากหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องอาศัยสามัคคีและความร่วมมือของทุกคน

คุณ Dora Damjanovic เผยว่า แม้ว่าเวียนนาจะเป็นที่ทำงานขององค์การสหประชาชาติ แต่เมื่อได้พูดคุยกับผู้คนที่นั่นถึงแนวคิดเกี่ยวกับความยั่งยืน ESG สิ่งเหล่านี้กลับเป็นเรื่องที่น้อยคนจะรู้ และหลายคนคิดว่ามันเป็นเรื่องที่มีไว้สำหรับภาครัฐ และภาคธุรกิจใหญ่ ๆ เท่านั้น 

ดังนั้น กุญแจสำคัญที่จะนำมนุษยชาติก้าวไปสู่ความรับผิดชอบและยั่งยืน คือ การทำให้ทุกคนรู้และเข้าใจว่าแนวคิดเกี่ยวกับความยั่งยืน ESG, SDGs รวมถึงแนวทางอื่น ๆ อีกมากมายเป็นหน้าที่ที่ ‘ทุกคน’ ในโลกต้องใส่ใจ ไม่ใช่เพียงแค่ภาครัฐและภาคธุรกิจใหญ่ ๆ

นอกจากมุมมองของนักรณรงค์แล้ว คุณเชอร์รี่ เข็มอัปสร สิริสุขะ ก็ได้แบ่งปันในมุมมองของนักธุรกิจและผู้ประกอบการที่ดำเนินกิจการเพื่อสังคม โดยมุ่งเน้นไปที่ ธุรกิจควรให้ความสำคัญในเรื่องของ ESG และความยั่งยืน เพราะหากพูดถึงประเด็นเหล่านี้ในแง่ของผู้ประกอบการ ความยั่งยืนไม่ได้ครอบคลุมแค่เรื่องสิ่งแวดล้อมหรือปัญหาสังคมเท่านั้น แต่ยังกว้างไปถึงเรื่องวิกฤตโลกที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตหลายส่วน เช่น สภาพความเป็นอยู่ การดูแลสุขภาพ และเศรษฐกิจ 

คุณเชอร์รี่ได้แบ่งปันแนวทางที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคมของตัวเอง 3 ข้อหลัก ๆ ดังนี้

  1. นำแนวคิด ESG มาตั้งเป็น 1 แกนในการดำเนินธุรกิจ: จะทำให้เรามีหลักในการดำเนินธุรกิจไปพร้อม ๆ กับการสร้างความยั่งยืนให้กับสังคม
  2. ในทุก ๆ การผลิตบรรจุภัณฑ์จะต้องช่วยลดของเสียและมลพิษ: ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมเท่าที่เราสามารถจ่ายได้ นอกจากจะเป็นการช่วยลดขยะในทางหนึ่ง ยังช่วยสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ลูกค้าและคนที่ติดตามแบรนด์บนโซเชียลมีเดียได้อีกทางด้วย
  3. เงินทุนหมุนเวียน: กำไรที่ได้มาส่วนหนึ่งจะหมุนเวียนกลับมาสนับสนุนเกษตรกรชาวไทยที่ใช้เกษตรกรรมแบบปฏิรูปปลูกข้าว เพราะนอกจากเกษตรกรเหล่านี้จะปลูกข้าวอินทรีย์ที่ปราศจากสารเคมีแล้ว ยังดูแลป่าไม้รอบ ๆ ทุ่งนาด้วย จึงเป็นสาเหตุที่พวกเขาควรได้รับเงินสนับสนุนเพื่อที่จะได้ทำเกษตรแบบนี้ต่อไปได้

ในฐานะนักลงทุน คุณณิชาภัทร อาร์ค ก็มองว่านักลงทุนก็ต้องให้ความสำคัญต่อ ESG อย่างจริงจังเช่นเดียวกัน เพราะความยั่งยืนนั้นครอบคลุมทุกส่วนของชีวิต ซึ่งในแง่ของนักลงทุน ESG เป็นเหมือนสิ่งที่ช่วยยกระดับคุณภาพของ 3 Bottom Line ได้แก่ ชีวิตผู้คน โลก และสิ่งสำคัญที่นักลงทุนมองหาอย่างผลกำไร

เพราะในการดำเนินธุรกิจที่ดีและยั่งยืน ไม่สามารถทำเพื่อผู้คนและโลกเท่านั้น แต่ธุรกิจก็จำเป็นต้องสามารถทำกำไรเพื่อให้มันดำเนินต่อไปได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นในแนวทางการลงทุนของนักลงทุนที่สนับสนุนความยั่งยืนจึงต้องสนับสนุน Startup และบริษัทเทคโนโลยีที่ยอมรับหลักการ ESG 

ความเท่าเทียมในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี

เห็นได้ว่าในโลกของการลงทุนด้านเทคโนโลยีและธุรกิจ ผู้นำและผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่มักเป็นผู้ชาย ซึ่งคุณณิชาภัทร ได้อธิบายถึง 3 วิธีที่จะสร้างความเท่าเทียมทางเพศในวงการเทคโนโลยีและการลงทุน ข้อแรก ควรมีกองทุนที่ช่วยเหลือผู้ประกอบการสตรีอย่างจริงจัง เช่น Michael Blakey จาก Cocoon Ventures ที่ดำเนินการเพื่อให้คำปรึกษาแก่ Founder เพศหญิงมา 3 - 4 ปี 

ข้อสอง กองทุนอาจต้องมุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนบริษัทที่มีผู้ร่วมก่อตั้งที่เป็นผู้หญิงอย่างน้อย 1 คน หรือร่วมลงทุนในธุรกิจที่มีผู้หญิงอยู่ในทีม คล้ายเป็นข้อกำหนดทางอ้อมที่จะช่วยเปิดโอกาสให้ผู้หญิงมีบทบาทมากขึ้น และข้อสุดท้าย Openspace ก็ได้มีส่วนในการผลักดันโครงการนี้ ด้วยการดึงดูดผู้หญิงที่เป็นมืออาชีพเข้ามามีบทบาทด้านการลงทุนมากขึ้น โดยมีการจัด session เพื่อให้คำปรึกษาแก่นักลงทุนหญิงทุกปี เพื่อส่งเสริมให้ผู้หญิงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโลกแห่งเทคโนโลยีมากขึ้น

คุณเชอร์รี่ได้เสริมว่า ปัญหาความเท่าเทียมทางเพศ แพร่กระจายไปทุก ๆ วงการ ซึ่งสิ่งที่จะช่วยให้ปัญหานี้หมดไปและเกิดความยั่งยืนในภาคสังคม คือการที่มุ่งเน้นไปที่ความสามารถและทักษะของบุคคล ไม่ใช่เพศ ทุกคนควรปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงก็ตาม

วาระปี 2030 เมื่อสังคมและเทคโนโลยีผสานกัน

193 ประเทศ ร่วมลงนามรับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน  (SDGs) ปี 2030 โดยมีทั้งหมด 17 เป้าหมายที่จะนำโลกไปสู่ความยั่งยืนที่แท้จริง ดังนั้นวาระใหม่ได้กำลังเริ่มขึ้น แนวคิดทางธุรกิจและการดำเนินชีวิตก็ควรต้องปรับเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน  การเริ่มต้นด้วยการตั้งเป้าหมายว่าจะทำให้ธุรกิจเติบโตไปพร้อมกับความยั่งยืนได้อย่างไร ถือเป็นเรื่องใหญ่และน่าตื่นเต้นมาก 

การใช้นวัตกรรมที่ผสานสังคมและเทคโนโลยีเข้าหากันเพื่อสร้างโลกใบใหม่ให้ดีขึ้น คงเป็นเรื่องที่หลาย ๆ คนอยากเห็น เพราะที่ผ่านมาเราได้เห็นเทคโนโลยีที่สามารถเปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์ ตั้งแต่การสร้างบ้าน ทำฟาร์ม ไปจนถึงวิธีคิด ในเรื่องของความยั่งยืนไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ประกอบการ นักรณรงค์ นักลงทุน หรือแม้แต่คนธรรมดาตัวเล็ก ๆ ก็สามารถเริ่มต้นได้ เพราะทุกคนสามารถกลายเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้ในโลกปัจจุบัน เพราะเป้าหมายหลักไม่ใช่แค่การประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ แต่เป็นการปลูกฝังวิธีคิดว่าความยั่งยืนเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของทุกคนบนโลก

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

VC เผยวิธีมองสตาร์ทอัพให้ขาด ก่อน ORZON Ventures เข้าไปลงทุน

คุยกับ 'คุณณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล ผู้อำนวยการการลงทุน ORZON Ventures' เรื่องการทำงานระหว่าง OR กับ 500 TukTuks, เกณฑ์การพิจารณาสตาร์ทอัพที่น่าลงทุน, เหตุที่บางดีลเกิด/ไม่เกิด รวม...

Responsive image

ติววิชา Sustainability ก่อนมุ่งสู่ ‘ESG Report’ คอนเทนต์ที่สตาร์ทอัพควรอ่าน จากงาน ESG ESSENTIAL WORKSHOP

Key Messages เกี่ยวกับ Sustainability & ESG จากงานสัมมนา ESG ESSENTIAL WORKSHOP: Navigating Sustainability for Post-Revenue Startups ในโครงการ KATALYST by KBank โดย Beacon VC...

Responsive image

ปรับองค์กรสู่ Digital Future เริ่มที่ ‘คน’ หรือ ‘เทคโนโลยี’ ฟัง NTT DATA ผู้เชี่ยวชาญ Digital Transformation

บทความนี้ Techsauce จะพาไปหาคำตอบว่า…ทำไมทรัพยากรคนถึงมีผลต่อ Digital Transformation และองค์กรควรรับมืออย่างไร?...