ยุคของโรงงานอัจฉริยะ: เหล่าผู้ผลิตจะมุ่งสู่อนาคตให้เร็วขึ้นได้อย่างไร

ยุคของโรงงานอัจฉริยะ: เหล่าผู้ผลิตจะมุ่งสู่อนาคตให้เร็วขึ้นได้อย่างไร

บทความนี้เขียนโดยนายแอนโธนี บอร์น ประธาน บริษัท ไอเอฟเอส อินดัสทรีส์

ธุรกิจต่างๆ มักจะพูดอยู่บ่อยครั้งว่า พวกเขาจะล้มละลาย ถ้าหากไม่เปลี่ยนไปเป็นดิจิทัลอย่างรวดเร็ว แต่สำหรับบรรดาผู้ผลิตแล้ว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ถ้าหากต้องหยุดการผลิตแม้จะเพียงแค่วันเดียว ก็อาจเกิดความเสียหายที่เรียกกลับคืนมาไม่ได้ และมีความเป็นไปได้ที่จะสูญเสียรายได้หลายล้าน

จากมุมมองด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และการจัดวางรูปแบบของที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพนั้น โรงงานอัจฉริยะได้รับการยกย่องว่า เป็นวิธีที่เหล่าผู้ผลิตจะสามารถประสบความสำเร็จในการมุ่งสู่การเปลี่ยนแปลงดิจิทัลอย่างแท้จริง โดยในโรงงานเหล่านี้ หุ่นยนต์ และเครื่องจักร จะรับข้อมูลที่ถ่ายทอดตามเวลาจริงจากอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเอาไว้ เพื่อเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับความต้องการใหม่ พร้อมบริหารจัดการกระบวนการผลิตทั้งหมดแบบอัตโนมัติ

อย่างไรก็ตาม สำหรับหลายคนแล้ว โรงงานอัจฉริยะยังเป็นดินแดนในฝันที่อยู่ห่างไกลออกไป โดยผลการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ของแคปเจมิไน แสดงให้เห็นว่า 76% ของผู้ผลิตกำลังริเริ่มโรงงานอัจฉริยะ หรือกำลังทำงานเพื่อมุ่งตรงสู่ด้านนี้อย่างต่อเนื่อง มีเพียง 14% เท่านั้นที่มีความพึงพอใจอย่างแท้จริงกับระดับความสำเร็จของพวกเขา

กระนั้นก็ตาม กลุ่มผู้ผลิตไม่ควรรู้สึกว่าถูกครอบงำจนเกินไป และกลุ่มที่มีความเคลื่อนไหวในเรื่องโรงงานอัจฉริยะนี้ ก็ไม่ควรเปลี่ยนแปลงมากเกินไป เร็วเกินไป หรือลงมือทำโดยไม่ได้รับคำปรึกษาอย่างเหมาะสมเสียก่อน

เรื่องที่ผู้ผลิตทุกรายจำเป็นที่จะต้องพิจารณาหากต้องการเปิดตัวโรงงานอัจฉริยะ

1. การเข้าถึงครั้งแรกของธุรกิจ

เจ้าของธุรกิจ หรือผู้จัดการโครงการ และผู้อำนวย ที่ต้องการจะเริ่มต้นทำโรงงานอัจฉริยะ ไม่ควรบอกลูกค้า หรือคณะกรรมการบริหารบริษัทว่า พวกเขากำลังเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล แต่การประสบผลทางธุรกิจที่ดีกว่าเดิมในอนาคต จะเป็นการพิสูจน์ถึงการคงอยู่ของธุรกิจ และการได้รับมูลค่าที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากโรงงานผลิตและระบบนิเวศโดยรวม

สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ ในโรงงานอัจฉริยะควรสร้างการเชื่อมต่อระบบไอที/โอทีในวงกว้าง และนำทุกอย่างมารวมไว้ด้วยกันอย่างสมบูรณ์

โรงงานอัจฉริยะจะช่วยให้ผู้ผลิตได้รับประโยชน์ จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนมหาศาล ซึ่งด้วยข้อมูลเหล่านี้ พวกเขาสามารถ

  • ระบุและแก้ไขปัญหาเรื่องคุณภาพ
  • เรียนรู้และปรับเข้ากับความต้องการใหม่ได้อย่างรวดเร็ว
  • คาดการณ์ถึงความไร้ประสิทธิผลในการดำเนินงาน หรือความผันผวนในการจัดหาและความต้องการที่เกิดขึ้น
  • ตอบสนองต่อความต้องการได้ทันเวลา

2. เชื่อมต่อเทคโนโลยีทางกายภาพและดิจิทัลเข้าด้วยกัน

ผู้ผลิตบางรายมีระบบจักรกลที่ใช้มานานกว่า 50 ปี ซึ่งการที่เทคโนโลยีต่างๆ อาทิ ระบบกระบวนการทำงานโดยอัตโนมัติด้วยหุ่นยนต์ (Robotic Processing Automation: RPA) นำเสนอโอกาสที่จะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงให้กับอุตสาหกรรมนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ผลิตจะต้องเปลี่ยนเครื่องจักรที่ล้าสมัยในทันทีที่ทำได้ ไม่ใช่เพียงแค่การปรับปรุงเครื่องจักรเท่านั้น

เทคโนโลยีหนึ่งที่จำเป็นสำหรับโรงงานอัจฉริยะทุกแห่งและอยู่กึ่งกลางระหว่างโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและดิจิทัล ก็คือ อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) โดยประโยชน์จากอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ สำหรับอุตสาหกรรม (IIoT) ได้รับการสนับสนุนอย่างแพร่หลาย ซึ่งอุปกรณ์ IoT จะรับข้อมูลมาจากเซ็นเซอร์ที่อยู่นอกโรงงานผลิตและจากเครื่องจักรในโรงงาน แต่ที่สำคัญก็คือ แนวทางนี้ยังช่วยธุรกิจขยายการดำเนินงานและนำเสนอบริการใหม่ๆ ให้กับลูกค้าได้ด้วย จึงไม่น่าแปลกใจที่บริการภิวัฒน์จะขึ้นอยู่กับตัวเรา และบรรดาผู้ผลิตที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเพิ่มบริการให้กับผลิตภัณฑ์ตัวเอง เพื่อนำเสนอผลลัพธ์ได้มากขึ้นจากความช่วยเหลือของโซลูชัน IoT ก็มีสิทธิ์ที่จะพลาดโอกาสทางธุรกิจที่มีค่าหรืออาจแย่กว่านั้นก็เป็นได้

3. มุ่งเน้นในเรื่องผู้คนและการสร้างพันธมิตร

โฉมหน้าภายในโรงงานจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างคาดไม่ถึงในช่วงไม่กี่ปีที่จะถึงนี้ หุ่นยนต์จะทำงานอัตโนมัติ 24 ชั่วโมง 7 วัน ในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีหน้าต่างและมีแสงน้อย อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่จะไม่เปลี่ยนไป ก็คือคนจะยังเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดของผู้ผลิต

การปรับทักษะใหม่และเพิ่มทักษะให้กับลูกจ้างถือเป็นการเปิดวิสัยทัศน์พวกเขาให้เห็นถึงศิลปะของความเป็นไปได้ และทำให้พวกเขาอยู่รอดบนการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การปรับเป้าหมายในสถานที่ทำงาน แม้จะเป็นภาระอันยิ่งใหญ่ แต่ก็เป็นความรับผิดชอบที่จำเป็นต้องทำ

4. เริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ แล้วค่อยๆ ปรับขยาย

การลงทุนด้านโรงงานอัจฉริยะจำเป็นต้องแย่งย่อยการทำงานให้มีขนาดเล็กลง โดยคำนึงถึงโอกาสในลักษณะที่จำเพาะเจาะจงเป็นอย่างแรก จะเห็นได้ว่ามูลค่าและการเติบโตนั้นสามารถสร้างขึ้นมาได้จากการปรับขนาดสินทรัพย์เพียงอย่างเดียว รวมถึงดำเนินการทดสอบกระบวนการทำงานและเทคโนโลยีที่อยู่รายล้อมอย่างละเอียด ซึ่งปัจจุบันมีศูนย์ทดสอบที่น่าทึ่งและพร้อมให้บริการอยู่ทั่วโลก (อย่างเช่น “แคตาปุลท์” ในสหราชอาณาจักร) ที่ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถทดสอบแนวคิดนี้ได้อย่างปลอดภัยภายใต้สภาพแวดล้อมที่บริหารจัดการได้

อำนาจที่แท้จริงของโรงงานอัจฉริยะ คือความสามารถในการปรับตัวและเติบโตไปพร้อมกับความต้องการที่ปรับเปลี่ยนไปขององค์กร ผู้ผลิตจำเป็นต้องก้าวไปทีละขั้นเพื่อเดินหน้าสู่อนาคตและต้องตระหนักว่า มีความเชี่ยวชาญที่ถูกต้องเหมาะสมรออยู่ข้างนอกเพื่อช่วยเหลือพวกเขาให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายทางธุรกิจที่วางไว้จากการปรับใช้แนวทางโรงงานอัจฉริยะที่มีความเข้ากันได้ดีกับระบบปัจจุบัน ทำงานในรูปแบบอัตโนมัติ และมีความยืดหยุ่นสูง

เกี่ยวกับไอเอฟเอส

ไอเอฟเอส (IFS™) เป็นผู้นำระดับโลกด้านการพัฒนาและนำเสนอซอฟต์แวร์สำหรับการวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning หรือ ERP) การบริหารจัดการสินทรัพย์ขององค์กร (Enterprise Asset Management หรือ EAM) และ การบริหารจัดการงานบริการขององค์กร (Enterprise Service Management หรือ ESM) ทั้งนี้ ไอเอฟเอสก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2526 โดยมีส่วนช่วยสนับสนุนให้ลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายสามารถดำเนินธุรกิจได้ดีขึ้น ตลอดจนผลักดันให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน พร้อมทั้งจัดเตรียมสิ่งต่างๆ สำหรับอุตสาหกรรมเพื่อให้พร้อมรับมือกับอนาคต ไอเอฟเอส มีพนักงาน 2,800 คนที่พร้อมให้การสนับสนุนผู้ใช้ทั่วโลกมากกว่า 1 ล้านคนผ่านสำนักงานสาขาในเขตพื้นที่ต่างๆ และผ่านเครือข่ายพันธมิตรที่กำลังขยายตัวเพิ่มมากขึ้น

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ติดตามรายละเอียดได้ที่: IFSworld.com

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

VC เผยวิธีมองสตาร์ทอัพให้ขาด ก่อน ORZON Ventures เข้าไปลงทุน

คุยกับ 'คุณณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล ผู้อำนวยการการลงทุน ORZON Ventures' เรื่องการทำงานระหว่าง OR กับ 500 TukTuks, เกณฑ์การพิจารณาสตาร์ทอัพที่น่าลงทุน, เหตุที่บางดีลเกิด/ไม่เกิด รวม...

Responsive image

ติววิชา Sustainability ก่อนมุ่งสู่ ‘ESG Report’ คอนเทนต์ที่สตาร์ทอัพควรอ่าน จากงาน ESG ESSENTIAL WORKSHOP

Key Messages เกี่ยวกับ Sustainability & ESG จากงานสัมมนา ESG ESSENTIAL WORKSHOP: Navigating Sustainability for Post-Revenue Startups ในโครงการ KATALYST by KBank โดย Beacon VC...

Responsive image

ปรับองค์กรสู่ Digital Future เริ่มที่ ‘คน’ หรือ ‘เทคโนโลยี’ ฟัง NTT DATA ผู้เชี่ยวชาญ Digital Transformation

บทความนี้ Techsauce จะพาไปหาคำตอบว่า…ทำไมทรัพยากรคนถึงมีผลต่อ Digital Transformation และองค์กรควรรับมืออย่างไร?...