ทำ Startup ยังไงให้รุ่ง ? ถอดรหัสความสำเร็จของสตาร์ทอัพเกาหลี จากบริษัทจัดเก็บนามบัตร สู่แอปฯระดับโลก | Techsauce

ทำ Startup ยังไงให้รุ่ง ? ถอดรหัสความสำเร็จของสตาร์ทอัพเกาหลี จากบริษัทจัดเก็บนามบัตร สู่แอปฯระดับโลก

ถอดบทเรียนการเริ่มต้นธุรกิจสตาร์ทอัพของคุณชเวแจโฮ ซีอีโอบริษัท Drama& company บริษัทที่มีมูลค่าการลงทุนไปถึงระดับ Series D ที่เริ่มต้นจากบริษัทจัดเก็บนามบัตร ไปสู่ Remember แอปพลิเคชันครอบคลุมทุกเรื่องการสมัครงานสำหรับชาวเกาหลีใต้ 

คุณชเวแจโฮได้เล่าเรื่องราวจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพของตน พร้อมแนวคิดที่พาไปสู่ความสำเร็จ เทคนิคการหาทีมและการหานักลงทุน เรื่องราวความล้มเหลวและความประทับใจในการทำธุรกิจภายในงาน Comeup 2023  ที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ใฝ่ฝันจะเริ่มต้นธุรกิจสตาร์ทอัพ

ก่อนจะเริ่มต้นเราต้องรู้ก่อนว่าอยากสร้างอะไร

จุดเริ่มต้นของบริษัท Drama& company เริ่มต้นจากความคิดของคุณชเวแจโฮ ที่อยากจะสร้าง Professional Network หรือเครือข่ายเพื่อการประกอบอาชีพ เหมือนอย่าง LinkedIn ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก แต่ในเอเชียรวมถึงเกาหลี Professional Network ยังมีภาพที่ไม่ชัดเจน ซึ่งคุณชเวแจโฮจึงตั้งใจจะจับตลาดในกลุ่มผู้ใช้นี้

ชเวแจโฮคิดไปถึงเรื่องนามบัตรก่อนเป็นอันดับแรก โดยคิดว่าถ้าสร้างเว็บไซต์ทำนามบัตรออนไลน์เฉย ๆ คงไม่สามารถทำให้คนเข้ามาใช้งานเยอะ อยากมากก็คงได้สิบกว่าคนต่อวัน แต่จุดที่ชเวแจโฮมองเห็นคือ Pain point ของการรักษานามบัตร ยิ่งเราสร้างคอนเน็คชั่นมากเท่าไร นามบัตรเราก็จะมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นบริษัทของเขาจึงเริ่มต้นด้วยระบบรักษานามบัตรแบบออนไลน์นั่นเอง

ต่อมาได้เปิดตัวแอปพลิเคชัน Remember ได้เปิดตัวฟีเจอร์เพิ่มเติมที่ครอบคลุมการใช้งานได้แก่ 

  • Career ฟีเจอร์สร้างโปรไฟล์ในแอป เพิ่มโอกาสหางานที่ใช่ 
  • Community ฟีเจอร์สำหรับแแลกเปลี่ยนข้อมูลและพูดคุยกับเพื่อนร่วมวงการ 
  • Now ฟีเจอร์รับข่าวสารจากทางเศรษฐกิจบริษัทชั้นนำ
  • Business card ฟีเจอร์จัดการนามบัตร เพียงแค่ถ่ายรูปก็สามารถเก็บนามบัตรได้หลายสิบใบในที่เดียว ไม่ต้องกังวลว่าจะทำหายอีกต่อไป

ปัจจุบัน Remember จึงกลายเป็นแอปพลิเคชันที่ตอบโจทย์สำหรับคนทำงาน โดยมียอดผู้ใช้งานในเกาหลีใต้กว่า 3.8 ล้านคน และ 1 ล้านคนในญี่ปุ่น 

ทีม แนวคิด และนักลงทุน สามสิ่งสร้างบริษัทให้แข็งแกร่ง

ชเวแจโฮกล่าวว่ามีสามสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในช่วงเริ่มต้นของธุรกิจนั่นก็คือ mindset ที่ตั้งใจจะแก้ปัญหาให้กับลุกค้าแบบครอบคลุม หา pain point ของลูกค้าให้ชัดเจน และต้องทีมที่ดี ทีมที่มีเป้าหมายไปในแนวทางเดียวกัน และสามารถทำงานร่วมกันได้เข้าขา ท้ายที่สุดคือนักลงทุนที่เข้าใจ vision ของบริษัท สามสิ่งนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสให้บริษัทเติบโตได้อย่างรวดเร็วในระยะแรก

ทีมแบบไหนล่ะที่เหมาะสมในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ

คุณชเวแจโฮกล่าวว่า แน่นอนว่าบริษัทสร้างใหม่ยังไงก็ไม่ได้รับความนิยมเท่ากับบริษัทชั้นนำอย่างแน่นอน ในช่วงแรกจึงต้องหาจากคนใกล้ตัวก่อน ไม่ว่าจะรู้จักบริษัทของตัวเองหรือไม่ก็ตาม ถ้าเข้าใจ Vision และเป้าหมายตรงกันแล้ว เชื่อว่านี่แหละคือทีมที่เหมาะสมสำหรับตัวเขาเอง

ทุกการเติบโตย่อมมีรอยยิ้มและนํ้าตา

คุณชเวแจโฮกล่าวว่า ในฐานะ ceo มีความลำบากกว่าตอนเป็นพนักงานธรรมดามาก เนื่องจากถ้าเราไม่พอใจในการทำงานเราก็สามารถบ่นหัวหน้า บ่นบริษัทได้ แต่พอเราเป็นประธานเองล่ะ เราจะบ่นใคร? 

เวลาที่บริษัทประสบปัญหา ผลลัพธ์ไม่ตรงเป้าหมาย พนักงานทำได้ไม่ตรงใจ เขามักจะมองเห็นว่าตัวเองคือต้นเหตุของปัญหาเพราะทุกขั้นตอนของบริษัทเขาเป็นคนสร้างมาเองกับมือ มันทำให้ทุกอย่างเหมือนชี้มาที่ตัวเอง เกิดเป็นความเครียด ความกดดันที่มากขึ้น 

แต่ใช่ว่าในทุกวันจะเป็นความแต่ความผิดหวังและความเครียดเสมอไป ชเวแจโฮกล่าวว่าผลลัพธ์ที่เขาได้จากการทำงานไม่ว่าจะเป็น การออกฟีเจอร์ใหม่ๆ ผลตอบรับจากแอปพลิเคชัน หรือมีทีมที่สนใจร่วมงานกับบริษัท เป็นสิ่งที่ทำให้เขามีความสุขและภูมิใจมาก นอกจากนี้เขายังภูมิใจในทีมงานของเขา ที่ขยันขันแข็งพาบริษัทให้ประสบความสำเร็จในระดับ Series D ได้ในปัจจุบัน

ถ้ามั่นใจในธุรกิจของตัวเอง ก็ไม่มีอะไรเป็นไปไม่ได้

กับคำถามที่ว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าจะต้องหานักลงทุนเพิ่ม? ในฐานะที่ผ่านการระดมทุนมาหลายครั้ง แต่ส่วนตัวเขาไม่ได้มีขั้นตอนที่ตายตัว แต่สิ่งสำคัญคือความมั่นใจในธุรกิจของตนเอง หาคำตอบตัวเองให้ได้ว่าทำไมเราต้องทำธุรกิจนี้ แล้วมันจะสร้างอะไรถ้าได้เงินทุนเพิ่ม ถ้าเรามั่นใจในคำตอบแล้วละก็ ก็เริ่มหานักลงทุนได้เลย ดังนั้น ถ้าเราแน่วแน่ในธุรกิจของตนมากพอ เชื่อว่าไม่มีอะไรเป็นไปไม่ได้แน่นอน

อ้างอิง: rememberapp



Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

VC เผยวิธีมองสตาร์ทอัพให้ขาด ก่อน ORZON Ventures เข้าไปลงทุน

คุยกับ 'คุณณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล ผู้อำนวยการการลงทุน ORZON Ventures' เรื่องการทำงานระหว่าง OR กับ 500 TukTuks, เกณฑ์การพิจารณาสตาร์ทอัพที่น่าลงทุน, เหตุที่บางดีลเกิด/ไม่เกิด รวม...

Responsive image

ติววิชา Sustainability ก่อนมุ่งสู่ ‘ESG Report’ คอนเทนต์ที่สตาร์ทอัพควรอ่าน จากงาน ESG ESSENTIAL WORKSHOP

Key Messages เกี่ยวกับ Sustainability & ESG จากงานสัมมนา ESG ESSENTIAL WORKSHOP: Navigating Sustainability for Post-Revenue Startups ในโครงการ KATALYST by KBank โดย Beacon VC...

Responsive image

ปรับองค์กรสู่ Digital Future เริ่มที่ ‘คน’ หรือ ‘เทคโนโลยี’ ฟัง NTT DATA ผู้เชี่ยวชาญ Digital Transformation

บทความนี้ Techsauce จะพาไปหาคำตอบว่า…ทำไมทรัพยากรคนถึงมีผลต่อ Digital Transformation และองค์กรควรรับมืออย่างไร?...