Deloitte เผย ESG เป็นวาระขับเคลื่อนธุรกิจขององค์กรอย่างยั่งยืน | Techsauce

Deloitte เผย ESG เป็นวาระขับเคลื่อนธุรกิจขององค์กรอย่างยั่งยืน

ดีลอยท์ ประเทศไทย เผยรายงานผลการสำรวจ Thailand ESG and Sustainability Survey Report 2022 พบว่า ESG มีความสำคัญต่อการพัฒนาภูมิทัศน์ทางธุรกิจมากขึ้นเป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้เกิดการวางมาตรฐานในการวัดผลการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจตามหลักเกณฑ์ด้าน ESG นอกจากนี้ ความสนใจของนักลงทุนในบริษัทต่างๆ ที่มีการดำเนินการตามเป้าหมาย ESG อย่างจริงจังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

นายกษิติ เกตุสุริยงค์ Sustainability & Climate Leader ดีลอยท์ ประเทศไทย กล่าวว่า “ปัจจุบันประเด็นด้าน ESG หรือ สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล กลายเป็นประเด็นหลักในการตัดสินใจในทางธุรกิจมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง การประเมินความเสี่ยงและเปิดรับโอกาสที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้าน ESG ขององค์กร เพื่อปกป้องผลประโยชน์ระยะยาวของธุรกิจ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น ผลการสำรวจของดีลอยท์ ประเทศไทย เผยให้เห็นความท้าทายหลายประการในการบูรณาการ ESG เข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจตั้งแต่การประเมินความเสี่ยง การประหยัดต้นทุน ไปจนถึงการหาตลาด และโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ”

ดีลอยท์ ประเทศไทยได้ทำการสำรวจ Thailand ESG and Sustainability Survey Report 2022 กับผู้บริหารระดับ C-suite และผู้บริหารในระดับต่างๆ จากบริษัทชั้นนำของประเทศไทย จำนวน 106 บริษัท ครอบคลุมภาคอุตสาหกรรมหลัก เช่น กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมและทรัพยากร กลุ่มธุรกิจการเงิน กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มวิทยาศาสตร์ชีวภาพและการแพทย์ และอื่นๆ ในระหว่างเดือนสิงหาคม – กันยายน 2565 โดยการสำรวจประเด็นด้าน ESG และความยั่งยืนของประเทศไทยในครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อสะท้อนภาพธุรกิจและการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมในปัจจุบัน

โดยผลจากการสำรวจพบประเด็นสำคัญ 4 ประการ คือ

ESG ในองค์กร จากการสำรวจพบว่า ผู้นำส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับสร้างการตระหนักรู้ด้าน ESG ในองค์กร และการบูรณาการ ESG เข้ากับกลยุทธ์ขององค์กร โดยผู้บริหารระดับสูง (C-Level) มีแนวโน้มที่จะเน้นการรายงาน ESG ให้สอดคล้องกับกรอบการรายงานของ ‘56-1 One Report’ ที่ได้ปรับปรุงประสิทธิภาพการเปิดเผยข้อมูล  โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจตามกรอบของ ESG นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 34 ให้ข้อมูลว่า บริษัทได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการด้านความยั่งยืนเพื่อกำกับดูแลและขับเคลื่อนวาระ ESG ในองค์กรแล้ว และบางบริษัทได้กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบด้าน ESG ให้กับคณะกรรมการบริหาร เพื่อผลักดันประเด็นความยั่งยืนของบริษัท ซึ่งบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการด้านนี้มากกว่าบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียน นอกจากนี้ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนมากเห็นว่า การดำเนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัทที่ดีขึ้นจะก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวก 3 ประการ ได้แก่ การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและลดต้นทุน  ภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของแบรนด์ และการบริหารความเสี่ยง 

บทบาทของสายงานการเงินด้านความยั่งยืน จากการสำรวจพบว่า ร้อยละ 85 ของผู้ตอบแบบสอบถามที่อยู่ในสายงานบัญชีและการเงิน เห็นตรงกันว่า ความยั่งยืนมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในด้านการเงิน นอกจากนี้ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการจัดทำรายงานเกี่ยวกับตัวชี้วัดด้านความยั่งยืน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรอบการรายงานมาตรฐาน โดยร้อยละ 19 มองว่าสายงานบัญชีและการเงินจะเป็นตัวขับเคลื่อนในการกำหนดและบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังชี้ให้เห็นว่า สำหรับบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนยังคงมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนอย่างเต็มที่โดยบูรณาการเข้าไปในกระบวนการจัดการประสิทธิภาพองค์กร นอกจากนี้ กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมและทรัพยากร เป็นอุตสาหกรรมอันดับต้น ๆ ที่ได้ออกผลิตภัณฑ์ทางการเงิน หรือสินเชื่อสีเขียวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และยังมุ่งเน้นนวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำอีกด้วย ซึ่งอาจเป็นผลจาก Social License to Operate ผลักดันให้ดำเนินการ เนื่องจากการดำเนินการของกลุ่มนี้อาจก่อผลกระทบทางลบทางสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่น

การรายงานความยั่งยืน จากการสำรวจของดีลอยท์ พบว่า ร้อยละ 51 ของผู้ตอบแบบสอบถามมีการจัดทำรายงานเกี่ยวกับการดำเนินงานด้าน ESG และมีตัวชี้วัดเป็นส่วนหนึ่งของการรายงานตามรอบการจัดทำรายงาน ทั้งนี้ผู้ตอบแบบสำรวจกว่าหนึ่งในสี่ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้าน ESG แต่ไม่ได้มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อสาธารณะ นอกจากนี้ การสำรวจยังพบว่า การขาดเทคโนโลยีสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การขาดความสามารถและทักษะภายในองค์กร และการไม่มีข้อมูลที่เพียงพอ เป็นข้อกังวลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงานให้สมบูรณ์อย่างมีประสิทธิภาพตามข้อกำหนดด้านความยั่งยืน 

ระบบ กระบวนการ และข้อมูล เกือบครึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามมีความกังวลว่า องค์กรของตนไม่มีเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่จำเป็นเพียงพอต่อการดำเนินการตามข้อกำหนดใหม่ๆ ในการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้แบบฟอร์ม spreadsheet ในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้าน ESG ของทั้งองค์กร อย่างไรก็ตาม วิธีนี้อาจไม่เหมาะกับบางบริษัทที่มีกระบวนการดำเนินการหลายขั้นตอน ที่อาจส่งต่อเพื่อรวบรวมไว้ที่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือมีกระบวนการรวบรวมข้อมูลการแยกจากกัน ดังนั้น จึงเป็นเรื่องยากที่จะรวมข้อมูลจากหลายหน่วยงาน และอาจเกิดความผิดพลาดจากการทำงานของคนได้ นอกจากนี้ ผลสำรวจพบว่า บริษัทของผู้ตอบแบบสำรวจใช้กรอบการรายงานสากลที่พัฒนาโดย GRI (Global Reporting Initiative) เป็นมาตรฐานหลักในการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG และใช้กรอบตัวชี้วัด ESG ภายในองค์กร (Internal ESG KPI) มากำหนดโครงสร้างรูปแบบหลักสำหรับการรวบรวมข้อมูลในองค์กร

ดร. นเรนทร์ ชุติจิรวงศ์ ผู้อำนวยการบริหาร Clients and Markets ดีลอยท์ ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า “ตอนนี้เป็นเวลาที่ธุรกิจควรจะเริ่มบูรณาการ ESG ให้มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ กำหนดเป้าหมายและกระบวนการความยั่งยืนขององค์กรเพื่อดำเนินการด้าน ESG และเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG ที่จะกลายเป็นข้อบังคับสำหรับองค์กรธุรกิจในการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม การดำเนินการบนพื้นฐานของความยั่งยืนจะช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถก้าวผ่านสถานการณ์วิกฤติต่างๆ และปรับตัวให้พร้อมรับกับดิสรัปชั่นในอนาคต”

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

AirAsia MOVE ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ สู่ผู้นำแพลตฟอร์มเดินทาง OTA แบบคุ้มครบจบในแอปเดียว พร้อมแพ็กเกจบินทั่วอาเซียนแบบไม่จำกัด

airasia Superapp ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ในชื่อ AirAsia MOVE พร้อมปรับโฉมแอปพลิเคชันใหม่ และเสริมกลยุทธ์ด้านธุรกิจเพื่อผลักดันให้ AirAsia Move เป็นผู้นำด้านแพลตฟอร์ม OTA (ตัวแทนด้านก...

Responsive image

Indorama Ventures ออกหุ้นกู้ 1 หมื่นล้าน ตอกย้ำผู้นำธุรกิจยั่งยืน

Indorama Ventures ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ประกาศความสำเร็จในการระดมทุน 1 หมื่นล้านบาท ผ่านการออกหุ้นกู้สกุลเงินบาทให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนร...

Responsive image

Jitta ก้าวสู่ปีที่ 12 เดินหน้าแก้วิกฤตการเงิน หนุนคนไทยออมและลงทุนอัตโนมัติ

Jitta เข้าสู่ปีที่ 12 เติบโตอย่างแข็งแกร่งบนเป้าหมายที่จะสร้างนวัตกรรมทางการเงิน เพื่อช่วยให้คนไทยเข้าถึงการลงทุนที่ง่ายและสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า...