Deep Tech หรือ Deep Technology เทคโนโลยีขั้นสูงที่กำลังมีความสำคัญมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะจะสามารถเปลี่ยนโลกและชีวิตประจำวันไปตลอดกาล ที่ไม่ใช่แค่มิติสะดวกสบาย แต่เป็นช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เทคโนโลยีทั่วไปไม่สามารถแก้ได้ โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่ Deep Tech จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อการทำ Digital Transformation ขององค์กร
แต่กระนั้น Deep Tech จะมีผลอย่างไรบ้าง และเราจะต้องเตรียมตัวรับมืออย่างไรสำหรับเทรนด์ Deep Tech ในปี 2022 นี้ ดังนั้นในบทความนี้ Techsauce ได้มีการถอดบทสัมภาษณ์ คุณปริชญ์ รังสิมานนท์ Co-Founder Looloo Technology ในรายการ Deep Drive Talk ที่เราจะมาพูดคุยกันถึงเรื่องของ Deep Tech ในองค์กร กับหัวข้อ Deep Tech จะช่วยติดปีก Digital Transformation ขององค์กรได้อย่างไร ?
คุณปริชญ์ กล่าวว่า ใน ปี 2022 นี้เป็นปีของ AI อย่าง Deep Tech โดยหลายๆปีที่ผ่านมาทุกคนมักจะพูดถึง Digital Transformation ซึ่งหลายๆบริษัทได้เริ่มทำ แต่ในปีที่ผ่านมาด้วยสถานการณ์โควิดได้มีการ Drive Digital Transformation ด้วยเหตุที่เร็วที่สุดอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งเห็นได้จากสตาร์ทอัพไทยที่ Exit สู่ Unicorn หลายรายทางด้านเทคโนโลยี
โดยการที่มีสตาร์ทอัพที่ Exit จำนวนมาก กับเงินที่ไหลเข้ามากับสตาร์ทอัพช่วงนี้ที่ทำด้านเทคโนโลยี ทำให้เหมือน Landscape เพราะการแข่งขันมันเปลี่ยน หลายๆบริษัทที่เคยเป็นเสือนอนกิน หรือใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรม ณ วันนี้ความใหญ่ไม่ใช่ข้อได้เปรียบอีกต่อไป เนื่องจากปลาใหญ่ไม่ได้กินปลาเล็ก แต่ปลาไวที่มาไวด้วยเทคโนโลยีจะกินปลาช้า
ฉะนั้นในปีนี้เป็นปีที่เสือเริ่มตื่น หลายคนจะมีเงินลงทุนไปลงทุนให้กับบริษัทต่างประเทศในหลายๆด้าน เพื่อเดินหน้าเข้าสู่ประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจประเภท Healthcare, Automotive, Landing ฉะนั้นปีนี้เป็นปีที่คนไทยเริ่มตื่นตัวว่าจะสู้ได้อย่างไรในการแข่งขันนี้
สังเกตุได้จากลูกค้าที่คุยกับบอร์ดมานาน หลังจากเห็นคู่แข่งเริ่มมีการตื่นตัว และเข้ามาสู่อุตสาหกรรมมากมายก็เริ่มตื่นตัวตามเช่นกัน ฉะนั้นในปี 2022 จะเป็นปีที่หลาย ๆ ธุรกิจเริ่มนำ Data มาใช้อย่างจริงจัง และนำ AI มาใช้ในกระบวนการอย่างจริงจัง
ทั้งนี้คุณปริชญ์ กล่าวเสริมว่า หลายๆคนติดภาพเก่า ๆ ว่าตนเองใหญ่ที่สุดใน Market และมี Infarsucture ที่ดีที่สุด และมีการเก็บ Data ไว้ แต่ถึงเวลามีหลายบริษัทลงมาเล่นด้วยการใช้ AI ทำให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีขึ้น ทำให้ตอบสนอง Production chain ได้ดีขึ้น ฉะนั้นความใหญ่จะไม่ใช่การได้เปรียบอีกต่อไป การใช้ Data เรายิง Add ด้วยจำนวนเท่ากันไปสู่คนที่ใช่ ยังไงก็ประหยัดกว่าการยิง Add แบบกระจาย
ดังนั้นในตอนนี้คนเริ่มที่จะเข้าใจมากขึ้นทั้งคนรุ่นเก่า และคนรุ่นใหม่ โดยที่ช่วงโควิดก็ได้มีการหันมาใช้ Zoom หรือ Google Meet มากขึ้น ฉะนั้นผู้ใหญ่หลายๆคนเริ่มเข้าใจในเทคโนโลยี ช่วงนี้เป็นช่วงที่คนเริ่มโอเคกับการลงทุนใน Technology มากขึ้น
ทั้งนี้ในมุมมองของ คุณปริชญ์ มองว่า Deep Tech มีความสำคัญมากในการ Digital Transformation ในองค์กรและองค์ประกอบสำคัญคือ Culture คือการเปลี่ยนคนให้เข้าใจว่า Digital Transformation มา ทุกอย่างจะทำเหมือนเดิมไม่ได้ โดยจะต้องเปลี่ยนเป็น Data Driven Organization
ดังนั้นต้องเปลี่ยนทั้งองค์กร ต้องเปิดโอกาสให้เอา Data มาวาง แม้กระทั่งเด็กรุ่นใหม่ และสามารถเถียงได้ ผ่านการเปิดโอกาสให้เด็กรุ่นใหม่กล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น และต้องมีการเปิดใจยอมรับ อย่างน้อยควรเริ่มก่อนว่าสิ่งที่ทำทุกวันนี้มีการเก็บ Data อย่างไร รวมทั้งเริ่มคิดว่าเราแข่งกับคนทั่วโลก ซึ่งเทคโนโลยีและ AI ไม่เหมือนเดิม ฉะนั้นถ้าไม่เตรียมตัวที่จะรับ Invest Change ตรงนี้ก็จะเหนื่อย จึงต้องเริ่มที่ Culture
“ผมว่าคนไทยยังไม่ตื่นตัวพอสมควร เพราะเราอยู่ในประเทศที่ค่อนข้างสบาย หลายๆอย่าง Protect ได้ ฉะนั้นเราจะเห็นหลายบริษัทที่ใหญ่และสบาย อย่าง ลูกค้าของเราที่เป็น บริษัทเก็บรถมือสอง ซึ่งเขาคิดว่าใหญ่ที่สุดในประเทศมีโครงสร้างพื้นฐานทั่วประเทศ แต่วันดีคืนดีจะมีบริษัทจากสิงคโปร์ที่ระดมทุนมา 600 ล้านเหรียญ เพื่อลงตลาดไทยและอินโดนีเซีย แต่เมื่อเวลาเงินมาจากต่างประเทศคือเงินที่พร้อมจะเสี่ยงเพื่อชิงสัดส่วนทางการตลาด แล้วเราจะกล้าขาดทุนกับเขาหรือไม่ ? ดังนั้นหากไปสู้กับเขาเพื่อขยับตลาดเราจะสามารถกล้าทิ้งมูลค่าตลาดกว่าหมื่นล้านหรือไม่ ? ซึ่งทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นว่าแม้ว่าจะมีตลาดใหญ่แค่ไหน แต่หากไม่พร้อมที่จะ Transform องค์กร ไม่พร้อมนำ AI เข้ามาในองค์กร ก็จะตามไม่ทันนั่นเอง ดังนั้นคุณสามารถสู้ด้วยความเร็ว และนำเครื่องมือต่าง ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์”
ขณะเดียวกัน คุณปริชญ์ กล่าวเสริมว่า หากอยากจะนำ Deep Tech เข้ามาใช้ หรือ Transform องค์กรในฐานะผู้ประกอบการควรจะเริ่มจากการเก็บ Data ที่ถูกต้องโดยการใช้วิศวกรเข้ามาช่วย โดยเริ่มจากเก็บอะไรดี เก็บยังไง ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดี
รวมทั้งมองว่า Mindset สำคัญ ที่จะเปิดรับความคิดว่า ทุกวันนี้เราต้องคิดว่าอะไรที่จะทำให้ก้าวกระโดดและก้าวไปข้างหน้า พร้อมกับมองว่าอีก 10 ปีข้างหน้าเทคโนโลยีอะไรจะมาดิสรัปชั่นธุรกิจของเรา และเราจะไปอยู่จุดนั้นได้อย่างไร
อย่างเช่น Gulf ไป Binance หรือ SCB ไป Bitkub ซึ่งคือการกระโดดข้าม ไม่ใช่การทำของเดิม ๆ ให้ดีขึ้น โดยการคิดไปให้ไกลว่าหากวันนี้เราอยู่ตรงนี้เราจะก้าวไปข้างหน้าได้อย่างไร หรือแม้กระทั่งประเทศไทยมีงบประมาณทางด้านการวิจัยและพัฒนา แต่เราจะต้องดูว่าอะไรคือวิจัยพื้นฐานที่จะทำให้เราก้าวไปข้างหน้าได้ ซึ่งหากเราทำไม่ได้ก็อาจจะต้องดึงคนข้างนอกมาช่วย
อย่างเช่น Fast Fashion ที่ทุกคนต่างรู้จัก แต่ทุกวันนี้คือ Real-time Fashion ตัวอย่าง SHEIN ของจีนโตขึ้น 14 เท่า โดยการใช้ AI Analyze Feed และจากนั้นส่งให้ทีมดีไซน์เนอร์และออกเป็นผลิตภัณฑ์ในตลาดทันที ฉะนั้นประเทศไทยประมาณ 90% คิดว่า Fast Fashion คือสิ่งที่ดี เร็ว แต่ทุกวันนี้ต่างประเทศไปถึง Real-time Fashion ดังนั้นเรายังช้าในการ Adopt ใช้หลายๆอย่าง ประเทศไทยจึงต้องเริ่มตื่นตัวและรับรู้ว่า Deep Tech กำลังมา
สำหรับความท้าทายของ Deep Tech Startup ที่จะต้องเจอนั่นคือ ประเทศไทยที่ลูกค้าหลายคนคิดว่ามีการเก็บ Data มหาศาล แต่เมื่อเข้าไปดูอาจจะพบว่าการเก็บนี้ไม่สมบูรณ์ เก็บไม่ดี ไม่ถูกต้อง ดังนั้นสิ่งที่เก็บ Data มาทั้งหมดอาจจะใช้ไม่ได้ จึงต้องเริ่มการเก็บใหม่
ฉะนั้นจึงถือเป็น Barrier อันนึง ถ้าเข้าใจถึงการใช้ Technology แต่ Barrier หลายๆอย่างเกิดจากการที่ไม่เข้าใจว่าจะสามารถใช้ Data ทำไม ?
รวมทั้งผู้บริหารหลายๆที่เป็นธุรกิจครอบครัว เมื่อถือเวลามีโปรเจ็กต์ที่ลูกอยากได้ แต่จะมีบุคคลอื่นเข้ามาตรงกลาง
ฉะนั้นสิ่งที่ Looloo พยายามทำทุกครั้งตอนเจอลูกค้าใหม่ๆ คือ เราจะต้องนำ Design thinking มาเวิร์คชอปเพื่อ Aligned vision ของทุกคน เพื่อวาง Direction ให้ชัดเจน เพื่อวางเป้าหมายให้ไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้ Looloo ได้ตั้งแผนก Design thinking ขึ้น เพื่อ Aligned vision เพียงอย่างเดียว
ทั้งนี้ด้วยความที่ Technology ของประเทศไทยมีความมาไวไปไว คุณปริชญ์ มองว่า เทคโนโลยีในประเทศไทยมีความมาไวไปไวเหมือน Bitcoin ซึ่งถือเป็น Short Term แต่เราต้องเริ่มที่จะมอง Long Term อย่างเช่น เทคโนโลยีเมกะเทรนด์ที่กำลังมา อย่าง Bitcoin เป็นแค่ Subset ของ Blockchain ฉะนั้นองค์กรหลายๆองค์กร จะต้องมีการ Digitization ที่ไม่ได้ผูกติดไปกับ Short term trend ที่ขึ้น-ลง
หรือแม้กระทั่ง AI เป็นเมกะเทรนด์ที่โลกเปลี่ยนจริงๆ ดังนั้นต้องเตรียมตัวพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง อย่างเช่นเกิดสภาวะโลกร้อน ยังไงพลังงานก็มา จึงเป็นเหตุผลให้อย่ามอง Short term ดังนั้นถ้าคุณเป็นองค์กรและเห็นว่าเทรนด์กำลังมา และยังไม่เปลี่ยนจะหนัก และอนาคตอีก 5-10 ปีเราจะเหนื่อย และจะแข่งขันกับคู่แข่งยังไง เพราะคู่แข่งเริ่มมีการปรับตัว
ดังนั้นจึงอยากให้ลองปรับตัว อย่างเช่นสิ่งที่ Looloo ทำให้ลูกค้า จากการที่ลูกค้ามีการขายออฟไลน์มานาน แต่เมื่อ Lazada, Shopee มา เทรนด์ Ecommerce เริ่มมาแรง ดังนั้นแบรนด์จึงต้องมี E-commerce ด้วยเช่นกัน และต้องเข้าใจลูกค้ามากกว่าเพื่อให้สามารถสู้คู่แข่งให้ได้ ทั้งด้านโลจิสติกส์ หรือแม้กระทั่งเชนร้านอาหารใหญ่ๆ ผ่านการใช้ Data เข้ามาบริหารจัดการ
และสิ่งสำคัญคือ ต้องปรับตัว พร้อมกับไปอยู่หน้าเทรนด์นั้นให้ได้ อย่างเช่น blockchain, AI คุณจะสามารถทำอะไรกับสิ่งเหล่านี้ได้ ดังนั้นอย่าท้อ และอย่าตระหนกตกใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น และทำให้ดีที่สุด พร้อมกับคิดว่าการนำ Deep Tech ไปใช้ในด้านใดจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กรของคุณ
ทั้งนี้คำแนะนำสำหรับคนที่เริ่มทำ Startup ควรเตรียมตัวรับมือกับความมาไวไปไวของ Technology อย่างไร ? นั้น
คุณปริชญ์ ทิ้งท้ายว่า ต้องพยายามอ่านเยอะๆ และ 3 สิ่งที่ต้องรู้จักคือ Learn / Unlearn / Relearn ที่เป็นทางรอดเมื่อโลกเข้าสู่ Digital Transformation รวมทั้งสิ่งสำคัญคือพยายามอยู่ในเทรนด์ให้ได้
รับฟัง : Deep Tech จะช่วยติดปีก Digital Transformation ขององค์กรได้อย่างไร ? ได้ที่นี่
Sign in to read unlimited free articles