เทคใช่ แต่ไม่มีทุน...ทำอย่างไรถึงจะลดช่องว่างระหว่างนักลงทุน กับ Deep Tech Startup ได้ | Techsauce

เทคใช่ แต่ไม่มีทุน...ทำอย่างไรถึงจะลดช่องว่างระหว่างนักลงทุน กับ Deep Tech Startup ได้

เราต่างทราบกันเป็นอย่างดีว่า Deep Tech เป็นเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหายิ่งใหญ่และซับซ้อนของโลกใบนี้ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและความมั่นคงทางอาหาร แต่ในทางกลับกันการลงทุนเพื่อสนับสนุน Deep Tech Startup นั้นกลับไม่ได้รับเงินทุนมากพอที่จะนำพาธุรกิจให้เติบโตได้

ที่เป็นเช่นนี้ มีสาเหตุหลัก คือ ความขัดแย้งทางความคิดระหว่างผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการลงทุน รวมไปถึงอคติที่มีต่อแนวทางการลงทุน เนื่องจาก Deep Tech เป็นเทคโนโลยีที่ใหม่และซับซ้อน รูปแบบการลงทุนแบบดั้งเดิมอาจนำมาใช้ไม่ได้…. Gapระหว่างนักลงทุนกับ Deep Tech Startup มีอะไรบ้าง แล้วปัญหานี้จะแก้ได้อย่างไร ไปหาคำตอบพร้อมกันในบทความนี้ ซึ่งได้เรียบเรียงมาจาก สรุป session Deep Tech Investment Insights: Current Gaps and Future Pathways จัดโดย Hello Tomorrow APAC

Deep Tech

Venture Capital กับ Deep Tech Startup

ช่องโหว่ที่เกิดขึ้นจากโมเดลการลงทุนของ Venture Capital แบบดั้งเดิม

  • โดยปกติแล้ว หุ้นส่วนของบริษัท Venture Capital (General Partner) มักจะคุ้นชินกับโครงสร้างการบริหารทุนขนาดใหญ่ที่มีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ หรือ AUM มีค่าบริหารจัดการที่คงที่ ซึ่งถ้าหาก Venture Capital หลีกออกจากโมเดลรูปแบบเช่นนี้ ก็ยิ่งเพิ่มอุปสรรคในการดึงดูดเงินทุนจากนักลงทุนของบริษัทได้  (Limited Partner) 
  • จึงทำให้กองทุนของ Venture Capital จัดประเภทนวัตกรรม Deep Tech ว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะกองทุน Venture Capital ใดที่มีกำหนดการลงทุนในระยะเวลาจำกัดที่ 10 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่การพัฒนา Deep Tech ยังไม่เห็นภาพและเป็นรูปเป็นร่าง การลงทุนใน Deep Tech ภายในระยะเวลาดังกล่าวจึงอาจไม่สร้างกำไรได้
  • การประเมินศักยภาพเทคโนโลยี Deep Tech ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรม แทบจะไม่มีกองทุน Venture Capital ใดที่มีผู้เชี่ยวชาญที่มีคุณสมบัติเหมาะสม หรือมีที่ปรึกษาที่มีความเข้าใจมากพอ

“ จากการสำรวจของ Hello Tomorrow ล่าสุดพบว่า กองทุนที่ลงทุนใน Deep Tech กว่า 81% โดยเฉลี่ยแล้วนักลงทุนขาดความเชี่ยวชาญในการประเมินศักยภาพของ Deep Tech”

อุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่าง VCs และนักลงทุน Limited Partner (LP)

  • Venture Capital มักจะสนใจในส่วนของผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน ในขณะที่องค์กรที่ร่วมในฐานะนักลงทุนแบบ LP ไม่เพียงแต่คาดหวังในผลตอบแทนเท่านั้น ยังคงพิจารณา Startup ว่าจะช่วยขยายเครือข่ายการจัดหานวัตกรรมของตนได้หรือไม่ด้วย

  • แรงจูงใจที่แตกต่างกันเช่นนี้จึงทำให้องค์กรต่าง ๆ (ที่ส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับกองทุน Deep Tech เนื่องจากอาจเป็นผู้ซื้อกิจการ หรือเป็นลูกค้าของ Startup ในอนาคต) อาจเข้ามาลงทุนและปรับตัวเองให้เข้ากับ VC ได้ยาก

  • ช่องโหว่ที่เกิดขึ้นสามารถเติมเต็มได้ผ่านการปรับโครงสร้างการบริหารร่วมระหว่าง VCs และ LPs ที่มาจากองค์กรใหม่ได้ เช่น GPs หรือผู้บริหารกองทุน สามารถอนุญาตให้ LPs ขององค์กรที่มีบทบาทสำคัญ มาร่วมเป็นผู้บริหารในคณะกรรมการการลงทุนของกองทุน และอนุญาตให้ LP มีส่วนร่วมในการเลือกดีลที่เหมะสม และสามารถประเมินผลลัพธ์ที่ได้จากการลงทุน

อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากแนวคิดของ Limited Partner (LP) ที่มีต่อนวัตกรรม Deep Tech

  • Limited Partners (LPs) ยังคงลังเลที่จะลงทุนในกองทุนเทคโนโลยี Deep Tech เนื่องจากมีภาพจำว่ามีความเสี่ยงเกินไป หรือ ให้ผลตอบแทนไม่ตรงกับที่คาดหวัง นอกจากนี้ Limited Partners ไม่มีความรู้ความเข้าใจวิทยาศาสตร์ที่เบื้องหลังเทคโนโลยีมากพอ เช่นเดียวกันนี้ แม้แต่ธนาคารก็ห้ามปราม Limited Partners เข้ามาลงทุน เพราะตัวธุรกิจไม่น่าสนใจพอที่จะโน้มน้าวใจนักลงทุนได้

  • นักลงทุนหุ้นส่วนจำกัด LPs มักจะเชื่อมั่นบริษัท Venture Capital จากประวัติของกองทุนและชื่อผู้ก่อตั้ง มากกว่าแนวทางที่ VC เลือกจะลงทุนในนวัตกรรมต่าง ๆ  จากข้อมูลของ Mountain Ventures LPs กว่า 60% กล่าวว่าประวัติของกองทุนจะเป็นเกณฑ์อันดับแรกที่มีผลต่อการตัดสินใจ

  • อย่างไรก็ตาม ต่อให้พื้นฐานประวัติการลงทุนของ VC นี้ดี ใช่ว่าจะนำไปใช้กับกองทุนที่มีอยู่เป็นส่วนใหญ่ได้ แม้ว่าผลตอบแทนที่ได้จากการเข้าไปลงทุนในนวัตกรรมเทคโนโลยี แต่ในเทคโนโลยี Deep Tech อาจจะได้ผลตอบแทนต่ำกว่ามาก ดังนั้นผลการดำเนินงานย้อนหลังอาจไม่ตอบโจทย์ LPs ได้ทั้งหมด 

อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากความคาดหวังของ CVCs / VCs ที่มีต่อ Deep-Tech Startups

  • Venture Capital ส่วนใหญ่มักมีภาระทางการเงินที่ผูกพันต่อนักลงทุน LPs มักจะมองว่ากองทุนที่ดีจะต้องให้ผลตอบแทนตามที่กำหนดเวลาไว้ VCs จึงคาดหวังที่จะเห็น Startup จดทะเบียนเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ให้ได้โดยเร็ว

  • Startup ธุรกิจ Deep Tech ส่วนมากมักมีนวัตกรรมขั้นสูง และเต็มไปด้วยแนวคิดเชิงทฤษฎี จนทำให้ Venture Capital มองเห็นภาพได้ยากว่า Startup เหล่านี้จะนำเทคโนโลยีเหล่านี้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้จริง และนำวางจำหน่ายในท้องตลาด จนสามารถขยายขนาดธุรกิจ และนำบริษัทจดทะเบียนสู่ตลาดหลักทรัพย์ได้อย่างไร

  • CVC หรือ Corporate Venture Capital ซึ่งเป็นบริษัทที่ก่อตั้งเพื่อบริหารกองทุนโดยเฉพาะ 

  • ผู้ก่อตั้ง Startup (Founder) ควรเรียนรู้ว่าจะนำเทคโนโลยี Deep-Tech มาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ดีขึ้น และควรวางแผนถึงรายได้และการนำบริษัทจดทะเบียนสู่ตลาดหลักทรัพย์อย่างเป็นกิจจะลักษณะ

  • ทางผู้ก่อตั้ง Startup และ CVCs จะต้องร่วมกันจัดโครงสร้างการบริหารที่สร้างสรรค์มากพอเพื่อดึงจุดเด่นให้กับ Startup ในการสร้างกำไร ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตโดยรวมของ Venture นั้น ๆ

Corporate กับ Deep Tech Startup

ช่องโหว่ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างองค์กร (Corporate) และ Deep-Tech Startup

  • เมื่อถึงเวลาที่ต้องร่วมมือกันในด้านของเงินทุน องค์กรมักจะมีขั้นตอนการดำเนินการที่ยาวนานและซับซ้อน ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อ Startup ที่ต้องการเงินทุนในเวลารวดเร็วเพื่อพัฒนานวัตกรรมให้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์จริง

  • ผลประโยชน์ระยะยาวระหว่างบริษัทและ Startup อาจแตกต่างไปตามกาลเวลา

  • องค์กรมักถนัดที่จะทำงานกับเทคโนโลยีที่ทราบดีอยู่แล้วและเห็นผลออกมาเป็นรูปธรรม (อย่างน้อยสามารถพัฒนา Minimum Viable Product ออกมาทดสอบตลาดได้) มากกว่าเทคโนโลยีที่เป็นเพียงแนวคิด ซึ่งหากสตาร์ทอัพที่ทำงานด้าน Deep-Tech ยังไม่มีการออกแบบหน้าตาผลิตภัณฑ์ให้เห็นภาพ องค์กรอาจจะสนับสนุน Startup ด้วยเงินทุนจำนวนน้อย

  • องค์กรทั่วไปมีความสุขมากหากได้พัฒนาร่วมกันกับ Startup แต่อาจไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะ Startup บางส่วนใช้เวลายาวนานเกินกว่าที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกสู่ท้องตลาดได้

  • เพื่อให้การร่วมมือครั้งนี้ประสบผลสำเร็จ ทั้งองค์กรและ Startup เองต้องพิจารณาในหลายแง่มุม โดยเฉพาะระยะเวลาการพัฒนา หรือประเด็นต่าง ๆ อาทิ การร่วมกันลงทุน หรือการร่วมกันพัฒนา

ความท้าทายเฉพาะ Deep Tech Startup เอง

อุปสรรคทั่วไปที่ Startup ต้องเผชิญ

  • การเข้าถึงแหล่งเงินทุน

  • การเข้าถึงผู้ประกอบการธุรกิจที่มีความสามารถ เนื่องจากผู้ที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอาจไม่ต้องเป็นผู้ประกอบการที่ดีที่สุดเสมอไป

  • การเข้าถึงลูกค้า สำหรับกรณี Deep Tech ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจ B2B

อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการระดมทุน

  • เงินระดมทุนที่ได้จากภาครัฐจะเป็นกุญแจสำคัญในการเริ่มต้นทำธุรกิจ Startup ในช่วงแรก ด้วยเหตุนี้ Startup ควรสำรวจนโยบายต่าง ๆ ที่มีอยู่ในภาครัฐก่อน รัฐบาลเองก็ต้องการ Startups ให้มีส่วนร่วมในการสร้างแรงงานที่มีรายได้สูง อีกทั้งสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

  • สำหรับการลงทุนในจำนวนเงินที่สูงขึ้น องค์กรส่วนใหญ่จะอาศัยคณะกรรมการการลงทุน และหน่วยงานส่วนใหญ่มีงบประมาณดำเนินงานที่มากพอที่จะครอบคลุมต้นทุนเหล่านั้น ซึ่งจะช่วยให้สตาร์ทอัพระดมทุนได้ง่ายขึ้น

อุปสรรคจากการขาดแคลนบุคลากรที่มีฝีมือ

  • Startup มักจะขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถในการบริหารผลิตภัณฑ์ กล่าวคือ การนำนวัตกรรมดังกล่าวเป็นที่ต้องการจริงในตลาด (commercialization) 

  • Startup ที่พัฒนาเทคโนโลยี Deep tech ส่วนใหญ่ไม่มีเงินมากพอที่จะไปจ้าง Product Person (Product Owner ที่เข้าใจ market / customer รู้จัก pain-point มากพอที่พัฒนานวัตกรรมเป็นสินค้าได้ หรือผู้จัดการ) จึงเน้นไปที่จ้างนักวางแผนการตลาดในตอนท้าย ซึ่งแท้จริงแล้ว Product Talent จำเป็นมากสำหรับองค์กรตั้งแต่ช่วงต้นของการพัฒนานวัตกรรม

  • องค์กรส่วนใหญ่มีปัญหาด้านการจ้าง Product Talent ในเอเชีย แต่ด้วยโควิด-19 และการทำงานทางไกล ได้เอื้อให้องค์กรสามารถดึงดูด Talent ต่างชาติให้เข้ามาทำงานได้มากขึ้น

  • บริษัทพัฒนาโทรศัพท์ หรือแพลตฟอร์ม E-Commerce ไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป คนรุ่นต่อไปอยากจะทำงานที่มีความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงโลก ด้วยเหตุนี้ผู้ก่อตั้ง Deep tech Startup จะต้องใช้กลยุทธ์การเล่าเรื่องขายบริษัทให้เป็น เพื่อนำคนที่ดีที่สุดมาทำงานร่วมกับองค์กร

Open Commercialisation แนวคิดของการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นของ Deep Tech Startup

การเปิดโอกาสให้พาร์ทเนอร์ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาด (Open Commercialisation)แนวคิดใหม่ที่เกิดขึ้น คล้ายกับแนวคิด Open Innovation โดยจะสนับสนุนให้มีความร่วมมือระหว่างองค์กรอื่น ๆ ในระบบนิเวศเดียวกัน แต่จะเกิดขึ้นในขั้นตอนช่วงท้ายของการพัฒนาผลิตภัณฑ์

ด้วยวิธีดังกล่าว จะช่วยผลักดันให้แต่ละองค์กรร่วมมือกันมากขึ้น ซึ่งอาจจะได้ผู้ที่มีความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ตลาดมากขึ้น และบางทีอาจมีผู้นำบางส่วนจากธุรกิจต่าง ๆ ที่มาจากบรรษัทข้ามชาติมายื่นมือช่วยเหลือ Deep-Tech Startups ได้

อย่างไรก็ตามจากปัญหาในเรื่องของการลงทุนใน Deep Tech Startup นั้น ได้เกิดขึ้นทั่วโลก สำหรับประเทศไทยเองก็เช่นเดียวกัน

Techsauce จึงได้มีการร่วมมือกับ Hello Tomorrow เดินหน้ายกระดับประสิทธิภาพองค์กรด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีขั้นสูง หรือ DeepTech โดยการเชื่อมโยงองค์กรในประเทศไทยกับกลุ่ม DeepTech Startups ผ่านการร่วมมือทั้งในรูปแบบพันธมิตรและการเข้าลงทุน สนใจติดต่อได้ที่ [email protected]

================================

สรุปประเด็นจากการเสวนาระหว่าง
Eugene Wee, Director – Enterprise, A*STAR
Isabel Fox, General Partner, Outsized Ventures
Mark Phong, Asia R&I Director Advanced Research Labs & Business Development, L’Oreal Research & Innovation
Ernest Xue, Head, Hello Tomorrow Asia Pacific

ที่มา: Hello Tomorrow

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

VC เผยวิธีมองสตาร์ทอัพให้ขาด ก่อน ORZON Ventures เข้าไปลงทุน

คุยกับ 'คุณณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล ผู้อำนวยการการลงทุน ORZON Ventures' เรื่องการทำงานระหว่าง OR กับ 500 TukTuks, เกณฑ์การพิจารณาสตาร์ทอัพที่น่าลงทุน, เหตุที่บางดีลเกิด/ไม่เกิด รวม...

Responsive image

ติววิชา Sustainability ก่อนมุ่งสู่ ‘ESG Report’ คอนเทนต์ที่สตาร์ทอัพควรอ่าน จากงาน ESG ESSENTIAL WORKSHOP

Key Messages เกี่ยวกับ Sustainability & ESG จากงานสัมมนา ESG ESSENTIAL WORKSHOP: Navigating Sustainability for Post-Revenue Startups ในโครงการ KATALYST by KBank โดย Beacon VC...

Responsive image

ปรับองค์กรสู่ Digital Future เริ่มที่ ‘คน’ หรือ ‘เทคโนโลยี’ ฟัง NTT DATA ผู้เชี่ยวชาญ Digital Transformation

บทความนี้ Techsauce จะพาไปหาคำตอบว่า…ทำไมทรัพยากรคนถึงมีผลต่อ Digital Transformation และองค์กรควรรับมืออย่างไร?...