แบรนด์จะขับเคลื่อนธุรกิจด้วย Data อย่างไร | Techsauce

แบรนด์จะขับเคลื่อนธุรกิจด้วย Data อย่างไร

ร่วมค้นหาวิธีการนำ Data-Driven Marketing เข้ามาปรับใช้ให้ธุรกิจของคุณอยู่รอด จากผู้เชี่ยวชาญ และกรณีศึกษาการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยข้อมูลและเครื่องมือทางการตลาดจากองค์กรที่ประสบความสำเร็จ

บทความนี้เป็นสรุปสาระสำคัญจากงาน Data-Driven Marketing, know more about your customer ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยลูกค้า ขับเคลื่อนการตลาดด้วยข้อมูล ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง Techsauce และ ADA Thailand บริษัทชั้นนำด้านข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ในการทำ Technology Digital รวมถึงการวิเคราะห์และวางแผนการตลาดอย่างครบวงจร

ซึ่งในงานนี้เราได้ Speakers ผู้เชี่ยวชาญมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์และความรู้ 2 ท่าน ได้แก่

  • คุณธนุส เกิดลาภ Head of MarTech and Data Consulting, ADA in Thailand

  • คุณกฤษณะ งามสม Head of Business - The 1 

รับชมงานย้อนหลังได้ที่ : Link

ADA เป็นใคร ทำอะไร

ADA เป็นบริษัทชั้นนำด้านข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ (Data & AI) ที่ให้บริการทั้งด้าน Digital, Analytics และ Marketing Solutions ซึ่งรวมไปถึง e-Commerce Solution 

ปัจจุบัน  ADA ให้บริการอยู่ใน 10 ประเทศด้วยกัน ในภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศเกาหลี สำหรับ Shareholder ของ ADA นั้น มีตั้งแต่  Axiata Group กลุ่มบริษัทโทรคมนาคม, Sumitomo Corporation บริษัทนำเข้า–ส่งออก ผลิตภัณฑ์โลหะ ระบบการขนส่งและการก่อสร้างและสาธารณูปโภคพื้นฐาน และ SoftBank  กลุ่มบริษัทโทรคมนาคมข้ามชาติของญี่ปุ่น ซึ่ง Softbank ได้เข้ามาลงทุนใน ADA เพื่อเน้นเรื่องของการใช้งาน Data และ A.I ให้มากขึ้นด้วย

data-driven marketing, xact dataหลังจากนั้นคุณธนุสได้กล่าวถึง Xact Data ซึ่งเป็นเทคโนโลยี Data Platform ที่ ADA สร้างขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลจากหลายส่วนมาให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นงานบริการด้าน Digital Marketing Solutions ซึ่งมีตั้งแต่ Media Planning, Creative and Content, Ad Operations และ  Acquisition และงานบริการด้าน  MarTech (Marketing Technology) และการทำ Insight ต่าง ๆ ทั้งการสร้าง Customer Data Platform, Marketing Automation, UX/UI Optimization และ Data & Tech Integration 

สำหรับท่านที่สนใจบริการของ ADA สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.facebook.com/adadigitalthailand หรือ https://ada-asia.com/

Customer Journey ที่เปลี่ยนไป ความท้าทายใหม่ของแบรนด์ในการจัดเก็บข้อมูล

“Customer Journey ของลูกค้าไม่เคยเป็นเส้นตรงมาสักพักใหญ่” 

คุณธนุสได้กล่าวถึงเส้นทางของผู้บริโภคที่ปัจจุบันไม่ได้เป็นเส้นตรงอีกต่อไป เพราะปัจจุบัน Touch point หรือจุดที่ลูกค้าเข้ามาหาธุรกิจมีหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และการไปที่ร้านค้า ทำให้ Customer Journey มีความซับซ้อนกว่าเดิมมาก และทำให้เกิดข้อมูลมหาศาล ซึ่งโจทย์สำคัญคือ แบรนด์สามารถเก็บข้อมูลตรงนั้นมาใช้ประโยชน์ได้รึยัง ? 

“ความท้าทายของนักการตลาดในปัจจุบันคือ เราสามารถเข้าใจ วิเคราะห์ และคาดเดาลูกค้าได้มากแค่ไหน” คุณธนุสกล่าว อย่างไรก็ตามการที่จะสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าได้อย่างแม่นยำนั้นต้องใช้ข้อมูลมหาศาล และจากหลากหลายช่องทาง ซึ่งคุณธนุสย้ำว่าแบรนด์จำเป็นต้องหาวิธีจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ให้ได้ 

Xact Data เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนมุมมองการใช้ข้อมูลของธุรกิจ

คุณธนุสได้เล่าถึงการเก็บข้อมูล 3 ประเภท ได้แก่

  • First Party Data  ข้อมูลลูกค้าที่แบรนด์เป็นผู้เก็บข้อมูลโดยตรง เช่น ข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เป็นต้น ถือเป็นข้อมูลที่ง่ายที่สุดที่จะเข้าใจ แต่ยากที่สุดในการจัดเก็บ เพราะข้อมูลชุดนี้เราจะสามารถดึงได้จากผู้ที่เป็นลูกค้าเราแล้วเท่านั้น 
  • Second Party Data  การเก็บข้อมูลที่มีการหยิบยืมมาจากที่อื่นมาใช้งาน 
  • Third Party Data  ถังข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีการรวบรวมไว้ มีปริมาณข้อมูลค่อนข้างมาก เพราะมีการเก็บจากหลายแหล่ง เพื่อให้เราเห็นเทรนด์ผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ 

โดยคุณธนุสได้ยกตัวอย่างเจาะลึกการสร้าง Xact Data ซึ่งเป็นบริการ Third Party Data ของทาง ADA ที่ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการใช้งานแอปพลิเคชันบนมือถือ ซึ่งปัจจุบันสามารถเก็บข้อมูลจากผู้ใช้งานในประเทศไทยได้ถึง 45 ล้านบัญชี และมีแอปพลิเคชันที่อยู่ในฐานข้อมูลมากถึง 140,000 แอปฯ 

จากการใช้งาน Xact Data ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Footfall, Place of Interest, Persona, Device และ App Interest ด้วย โดยคุณธนุสกล่าวเสริมว่าการจัดเก็บข้อมูลจากการใช้งานแอปพลิเคชันบนมือถือนั้น ทำให้เราสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมและความสนใจของลูกค้า รวมไปถึงสามารถเก็บข้อมูลสถานที่ที่ผู้บริโภคเดินทางไป เพื่อเข้าถึงพฤติกรรมลูกค้าในโลกออฟไลน์ 

use case, adaเช่น หากแบรนด์ต้องการเข้าถึง Insight ของผู้บริโภคที่ชอบการท่องเที่ยว การติดตามข้อมูลจากการใช้งานแอปพลิเคชันนั้น นอกจากแบรนด์จะได้ข้อมูลการใช้งานบนโลกออนไลน์ ยังสามารถติดตามสถานที่ที่ผู้บริโภคกลุ่มนี้นิยมไปได้ด้วย หรือหากอยากติดตามพฤติกรรมของกลุ่มคนรักรถ ก็สามารถติดตามได้จากทั้งแอปพลิเคชันที่ใช้งาน รวมไปถึงสถานที่ที่ไป ไม่ว่าจะเป็นปั๊มน้ำมัน โชว์รูม เป็นต้น

นอกจากนั้นคุณธนุสได้ยกกรณีศึกษาจากแบรนด์เครื่องสำอางแบรนด์หนึ่งที่ทำงานร่วมกับ ADA ซึ่งช่วงแรกของการแพร่ระบาดของโควิด-19 แบรนด์มีโจทย์ใหญ่คือ จะทำอย่างไรให้ลูกค้าหน้าร้านมาใช้บริการช่องทางออนไลน์ ซึ่งเดิมทียอดขายส่วนใหญ่ของแบรนด์นั้นมาจากหน้าร้าน 

โดยวิธีการที่ทาง ADA ร่วมทำกับแบรนด์ เริ่มจากการ Define Customer (ระบุตัวลูกค้า) หลังจากนั้นจะใช้ Data Mix (การผสมผสานข้อมูลจากหลายแหล่ง) ซึ่งเป็นการดึงข้อมูลจากทั้งของแบรนด์เอง (1st Party) และที่หยิบยืมมา (2nd Party) รวมถึงการใช้ Xact ซึ่งเป็น 3rd Party Data ของทาง ADA ในการหากลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ และนำมาจัดทำ Conversion Strategy ซึ่งท้ายที่สุดแล้วได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ โดยกรณีศึกษานี้ได้รับรางวัล Award Winning Case Study จากทาง The Drum Award  ด้วย 

และไม่ใช่เพียงธุรกิจค้าปลีกเท่านั้น คุณธนุสกล่าวว่า วิธีนี้ยังถูกใช้ในหลายอุตสาหกรรมเช่นการเงิน โดยยกตัวอย่างจากกรณีศึกษาของธนาคารที่ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีโจทย์ในการหาที่ตั้งสาขาและตู้ ATM ให้เข้าถึงผู้บริโภคมากที่สุด 

ยกระดับธุรกิจด้วยการใช้ข้อมูล 


สำคัญกว่าเทคโนโลยีคือเป้าหมายและปัญหาที่จะแก้

ปัจจุบันเครื่องมือทางการตลาดที่เป็น MarTech นั้นมีอยู่มากมาย คุณธนุสเน้นย้ำว่าสิ่งที่ธุรกิจจำเป็นต้องคิดก่อนจะลงทุนก็คือการหาเครื่องมือที่เหมาะสมกับปัญหาที่เรากำลังเจออยู่หรือเป้าหมายของธุรกิจเรา 

“ไม่อยากให้ตั้งต้นด้วยเทคโนโลยี ผมมองว่าเทคโนโลยีมันมาทีหลัง อยากให้ตั้งต้นก่อนว่าโจทย์เราคืออะไรกันแน่ แล้วค่อยหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับมัน” 

จาก The 1 Card สู่ The 1 App หัวใจสำคัญคือข้อมูล 

คุณกฤษณะได้เล่าถึงจุดกำเนิดของ The 1 ซึ่งเป็น Loyalty Card ที่ใช้กับห้างสรรพสินค้าในเครือของเซนทรัลเอง จุดแข็งของการเป็น Loyalty Card คือการมีฐานข้อมูลลูกค้าจำนวนมหาศาล อีกทั้งยังมีข้อมูลในการทำธุรกรรมทั้งหมดของลูกค้าด้วย ซึ่งคุณกฤษณะกล่าวว่าข้อมูลตรงนี้เองเป็นหัวใจสำคัญที่ทาง The 1 นำมาต่อยอดเป็นโจทย์ใหม่ในการสร้าง Everyday Lifestyle Platform 

ในแอปพลิเคชัน The 1 นั้นจะมีทั้งฟังก์ชันในการสะสมและแลกคะแนนหรือสิทธิพิเศษต่าง ๆ มีการใช้เทคนิค Gamification สร้างภารกิจสะสมคะแนนเพื่อกระตุ้นยอดขาย นอกจากนั้นยังมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร โปรโมชัน การทำคอนเทนต์เพื่อโปรโมตสินค้าและบริการอีกด้วย ซึ่งคุณกฤษณะกล่าวว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเบื้องหน้าของแอปพลิเคชันที่ถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและเทคโนโลยีในการจัดการข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น Data Platform, ระบบ CRM, MarTech ฯลฯ 

ยิ่งไปกว่านั้น นอกจากการยกระดับบริการของตัวเองแล้ว The 1 ยังมีการขยายไปสู่การเป็น The 1 Business ซึ่งเป็นการใช้กรณีศึกษาและความเชี่ยวชาญของ The 1 ที่ผ่านการทำงานร่วมกับธุรกิจมามากมาย มาพัฒนาเป็นโซลูชันสำหรับให้บริการภาคธุรกิจ 

องค์กรจะเริ่มใช้ MarTech อย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพ ?

สำหรับคำถามที่ว่าบริษัทที่ดำเนินธุรกิจมานานแล้ว แต่ไม่เคยจัดการข้อมูลที่มีอยู่จำนวนมากของตัวเองเลย จะเริ่มต้นใช้ MarTech อย่างไร 

คุณธนุสกล่าวว่า ไม่ว่าจะเป็นบริษัทที่เพิ่งเริ่มดำเนินธุรกิจหรือบริษัทที่เป็นผู้เล่นในสนามนี้มาอย่างยาวนานก็ตาม จุดร่วมสำคัญหนึ่งที่องค์กรต้องคิดก่อนที่จะลงทุนกับการใช้เทคโนโลยีนั้นคือ ารเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 

โดยเริ่มแรกนั้นอาจจะทำการ Workshop หรือหา Use case มาศึกษาร่วมกันเสียก่อน เพื่อตั้งเป้าหมายร่วมกันให้ชัดเจน หรืออาจใช้วิธีการนำเอา Customer Journey มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อหาจุดที่เป็นปัญหาและจุดที่สามารถนำเทคโนโลยีเข้าไปสนับสนุนได้ในแต่ละ Touch Point 

สำหรับคุณกฤษณะกล่าวถึงสิ่งที่ต้องทำ 4 อย่าง ได้แก่ 

  1. ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน ซึ่งนอกจากเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว ทุกองคาพยพขององค์กรก็จำเป็นต้องเดินไปสู่เป้าหมายเป็นแนวเดียวกัน และนอกจากเป้าหมายหลักแล้วก็จำเป็นต้องมีเป้าหมายย่อยด้วย เช่น เป้าหมายจำนวนผู้ใช้งาน, ฟีเจอร์หลัก ฯลฯ 
  2. เก็บข้อมูล ซึ่งการเก็บข้อมูลอย่างละเอียดนั้น จะทำให้เรารู้ว่าเรายังขาดข้อมูลอะไรเพื่อจะบรรลุเป้าหมาย และต้องเก็บข้อมูลอะไรเพิ่มอีก 
  3. ปลี่ยนจากสิ่งที่เก็บ เป็นสิ่งที่ใช้ได้ หรือการนำข้อมูลที่จัดเก็บไว้มาใช้งานนั่นเอง โดยคุณกฤษณะได้ยกตัวอย่างจากกรณีศึกษาของทาง The 1 

“เรามีข้อมูลลูกค้าที่ซื้อ ขวดนม ผ้าอ้อม อาหารเสริมสำหรับเลี้ยงเด็ก ในความถี่ที่มากกว่า 1 ครั้ง ต่อเดือน กลุ่มนี้สามารถวิเคราะห์ได้ว่าเป็นคุณพ่อ คุณแม่ที่มีลูกในวัยทารก ถ้าเราไม่วิเคราะและจัดกลุ่มโดยตั้ง set assumption ของ Attribute ต่าง ๆ ขึ้นมา เราอาจจะไม่ได้ข้อมูลที่มีประโยชน์มากพอ เช่น คนที่ซื้อผ้าอ้อม 1 ครั้งตลอดทั้งปี อาจจะเป็นการซื้อเป็นของขวัญมากกว่าการซื้อไว้ใช้เอง เหล่านี้ เราจึงต้องให้ความสำคัญกับการตั้ง Scheme และ Criteria ของ Attribute ต่างๆ”

     4. สื่อสารออกไปหากลุ่มเป้าหมายในช่องทางที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เช่น                  SMS,  Application Notification, App Content, FB Ads ซึ่งเราควรจะทำให้ถูกเรื่อง               ถูกกลุ่มคนถูกเวลา หรือแม้กระทั่งสถานที่ 

แบรนด์น้องใหม่จะเริ่มเก็บข้อมูลลูกค้าอย่างไร

“การเก็บข้อมูล เราต้องมีเป้าหมายในการเก็บ ถ้าเก็บข้อมูลได้เยอะ แต่ไม่สามารถหา Insight อะไรจากมันได้เลย มันก็สูญเปล่า” 

คุณธนุสให้ความเห็นว่า สิ่งแรกที่แบรนด์จำเป็นต้องทำคือตั้งเป้าหมายของการเก็บข้อมูลในครั้งนี้เสียก่อน เช่น หากแบรนด์มีเป้าหมายจะยกระดับประสบการณ์ผู้บริโภคให้ดีขึ้น อาจจะมีการทำ Personalization การสร้าง Touch Point หรือ Channel ใหม่ๆ ให้ลูกค้าเข้าถึงได้หลากหลายขึ้น ในฝั่งของธุรกิจอาจจจะใช้ข้อมูลเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ามากขึ้น  

“ถ้าจะเริ่มง่ายๆ ต้องกำหนดให้ได้ก่อนว่าจะเก็บข้อมูลนี้ไปทำอะไร นอกจากนั้นอีกสิ่งสำคัญคือเราต้องวัดผลด้วย ว่าสิ่งที่ทำไปได้ผลไหม”

สร้าง Data Culture ให้เกิดขึ้นจริงในองค์กร

คุณกฤษณะกล่าวถึงการสร้างวัฒนธรรมการใช้ข้อมูลในการทำธุรกิจ โดยกล่าวว่าทุกก้าวของ The 1 นั้น จะมีการตัดสินใจด้วยข้อมูลเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบสินค้าบริการ การเข้าหาผู้บริโภคอย่างตรงจุด  

“สมมติผมเป็นผู้ชายที่ชอบ Gadget ผมก็จะได้ดีลที่เกี่ยวกับ Gadget มากขึ้นเรื่อย ๆ มากกว่าจะเป็นดีลที่เกี่ยวกับ Cosmetic”  

คุณกฤษณะยังได้ยกตัวอย่างบริการ The 1 Exclusive ซึ่งบริการนี้เกิดจากการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้จ่ายของลูกค้า เพื่อนำมาพัฒนาเป็นบริการที่เสริมสร้างให้ประสบการณ์ลูกค้าดียิ่งขึ้น 

“The1 เอง ก็ได้มีการค้นพบว่าเรามีกลุ่มลูกค้าระดับ Exclusive ที่มียอดซื้อสินค้าในอันดับต้น ๆ ในเครือ Central เราก็จะทำการวิเคราะห์ ทำความเข้าใจ และได้พัฒนาออกมาเป็น The 1 Exclusive ซึ่งกลุ่มลูกค้าที่ได้รับสิทธิ์เหล่านี้ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์พิเศษต่าง ๆ มากมาย เช่น ส่วนลดพิเศษ ที่จอดรถ การเข้าใช้บริการ Lounge เป็นต้น การทำลักษณะนี้จะเป็นการสร้าง Loyalty and CLV (Customer Lifetime Value)” 

นอกจากนั้นแล้ว หนึ่งในปัจจัยสำคัญในการสร้าง Data Culture ให้เกิดขึ้นจริงคือการให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงข้อมูล เครื่องมือ และนำข้อมูลที่เก็บได้ไปใช้ประโยชน์ เมื่อทำเช่นนี้แล้วทำให้ทุกธุรกิจในเครือสามารถตัดสินใจด้วยการใช้ข้อมูล เมื่อเกิดข้อผิดพลาดก็สามารถกลับมาวิเคราะห์จากข้อมูลได้ 

“หนึ่งในความน่าสนใจในการปลูกฝังการใช้ Data คือ การเข้าถึงและเข้าใจเครื่องมือทาง Data ไม่ว่าจะเป็น CRM, CDP หรือ MarTech ต่าง ๆ ทางทีม The1 ผู้รับผิดชอบระบบต่าง ๆ จะมีการเปิดให้ User ทีมต่างเข้าใช้งานระบบได้ และมีการสอนวิธีการใช้งาน อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจและนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทุกคนเข้ามาเกี่ยวข้องเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ว่า ทุกคนก็จะคิดแบบ Data-Driven เป็นหลัก ทุกครั้งที่มีปัญหาเราก็จะกลับไปดูที่ Data ทุกการกระทำ ทุกการตัดสินใจของเราก็จะชัดเจน เพราะมีข้อมูลเป็นพื้นฐาน” 

แล้วผู้บริโภคจะได้อะไรกลับไปบ้าง ?

แน่นอนว่าการเก็บข้อมูลนั้นเป็นประโยชน์ต่อแบรนด์ แล้วผู้บริโภคจะได้รับอะไรกลับไปบ้าง ? 

คุณกฤษณะตอบคำถามนี้ด้วยการยกตัวอย่างบริการ The1 for Business  จะเกี่ยวข้องการกับใช้ Data ในการทำธุรกิจ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น 

  • Loyalty & Rewards เป็น Solution ในการช่วยจัดการสิทธิประโยชน์ให้กับลูกค้า สะสมคะแนน แลกคะแนนต่างๆ พร้อมใช้ในทันที ภายใต้คอนเซ็ปต์ Ready-to-Scale เพราะมีลูกค้าจำนวนมาก รอพร้อมใช้บริการอยู่ 
  • Data & Insight เป็นบริการกลุ่มที่ทำให้แบรนด์ รู้จักและเข้าใจลูกค้าของตนเองมากขึ้น ผ่านการทำ Data Insight and Data Enrichment 
  • Reach & Engagement Solution ในการเข้าถึงลูกค้าอย่างตรงกลุ่ม ตามช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นของ The1 เองหรือช่องทาง Media อื่นๆ เช่น SMS, The1 App, FB Ads ผ่าน Custom Audience

ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนแล้วแต่เป็นการใช้ข้อมูลในการพัฒนาและต่อยอดธุรกิจ แน่นอนว่าในทางหนึ่งแบรนด์จะได้รับประโยชน์ แต่ขณะเดียวกัน ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์สูงสุดก็คือ ผู้บริโภคหรือลูกค้า ที่จะได้รับข้อมูลการโฆษณา ได้รับสิทธิประโยชน์ที่ตรงกับความต้องการ ได้รับประสบการณ์ในการบริการที่ดีกว่าเดิม  ท้ายที่สุดแล้วทำให้ทั้งแบรนด์และลูกค้าเองเติบโตไปพร้อมกันได้ 

คุณธนุสได้กล่าวเสริมถึงความสำคัญของการมี Data Partner ในขณะที่ข้อมูลของ The 1 ซึ่งถือเป็น 1st Party Data นั้น จะเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้จ่ายของลูกค้าใน Ecosystem เมื่อนำมาผสานกับ ข้อมูลของทาง ADA ที่ใช้ Xact Data เก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือและสถานที่ จะช่วยให้วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคได้ในทุกมิติ 

“การที่เราเอาข้อมูลสองชุดนี้มาประกอบกัน ทำให้เราเห็นภาพลูกค้าครบถ้วนมากขึ้น ทั้งพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอย สถานที่ที่ไป เป็นต้น การ Partner Data กัน ก็  เป็นการทำให้ข้อมูลที่เรามีสมบูรณ์ยิ่งขึ้น”

สำหรับท่านที่สนใจบริการของ ADA สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.facebook.com/adadigitalthailand หรือ https://ada-asia.com/

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

VC เผยวิธีมองสตาร์ทอัพให้ขาด ก่อน ORZON Ventures เข้าไปลงทุน

คุยกับ 'คุณณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล ผู้อำนวยการการลงทุน ORZON Ventures' เรื่องการทำงานระหว่าง OR กับ 500 TukTuks, เกณฑ์การพิจารณาสตาร์ทอัพที่น่าลงทุน, เหตุที่บางดีลเกิด/ไม่เกิด รวม...

Responsive image

ติววิชา Sustainability ก่อนมุ่งสู่ ‘ESG Report’ คอนเทนต์ที่สตาร์ทอัพควรอ่าน จากงาน ESG ESSENTIAL WORKSHOP

Key Messages เกี่ยวกับ Sustainability & ESG จากงานสัมมนา ESG ESSENTIAL WORKSHOP: Navigating Sustainability for Post-Revenue Startups ในโครงการ KATALYST by KBank โดย Beacon VC...

Responsive image

ปรับองค์กรสู่ Digital Future เริ่มที่ ‘คน’ หรือ ‘เทคโนโลยี’ ฟัง NTT DATA ผู้เชี่ยวชาญ Digital Transformation

บทความนี้ Techsauce จะพาไปหาคำตอบว่า…ทำไมทรัพยากรคนถึงมีผลต่อ Digital Transformation และองค์กรควรรับมืออย่างไร?...