CYBER ELITE จับมือ IBM เสริมแกร่งพร้อมให้บริการ CSOC มุ่งเป้าขยายตลาดสู่อาเซียน | Techsauce

CYBER ELITE จับมือ IBM เสริมแกร่งพร้อมให้บริการ CSOC มุ่งเป้าขยายตลาดสู่อาเซียน

CYBER ELITE จับมือ IBM ยกระดับการป้องกันภัยคุมคามโลกไซเบอร์ พร้อมให้บริการ CSOC ตั้งเป้าหมายลูกค้าตั้งแต่ระดับ SMB ถึง ระดับ Enterprise  มั่นใจส่วนแบ่งตลาด 30% ขึ้นอันดับ 1 ผู้ให้บริการ CSOC ในไทย ภายใน 3 ปี และเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการ CSOC ระดับ regional ในอาเซียน ภายใน 5 ปี 

CYBER ELITE จับมือ IBM เสริมแกร่งพร้อมให้บริการ CSOC มุ่งเป้าขยายตลาดสู่อาเซียน

ดร. ศุภกร กังพิศดาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด ในกลุ่มเบญจจินดา กล่าวว่า ในครึ่งปีแรกของการเปิดดำเนินการ บริษัทฯ มีอัตราการเติบโตเป็นไปในทิศทางที่ดี โดยมีอัตราการเติบโต Year-Over-Year Growth เกินกว่า 400% โดยรายได้หลักมาจากการให้บริการด้าน Cyber Security Solution และ Security Advisory ในขณะที่มีดำเนินการยกระดับบริการ Managed Security Services ให้สอดคล้องกับบริบทในการดำเนินธุรกิจ 

ในส่วนของทิศทางในครึ่งปีหลังของปี 2565 ของ ไซเบอร์ อีลีท จะดำเนินการสานต่อความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจในแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์มการให้บริการป้องกันภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายตั้งแต่องค์กรระดับ SMB ถึงองค์กรระดับ Enterprise   ครอบคลุมธุรกิจภาคการเงิน พลังงาน โทรคมนาคม ภาครัฐ รวมทั้งองค์กรที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)  สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย  (คปภ.) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ( กสทช.) ที่ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ข้อบังคับด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์  และเนื่องจากบริการนี้เป็นส่วนหนึ่งของบริการ Managed Security Services ที่ ไซเบอร์ อีลีท ให้บริการอยู่แล้ว สำหรับลูกค้าเดิมจึงสามารถต่อยอดไปใช้บริการดังกล่าวได้ทันที  ขณะที่ลูกค้าใหม่ ทั้งที่ไม่เคยใช้บริการรายใดหรือต้องการย้ายมารับบริการไซเบอร์ อีลีท ก็มารับบริการได้ในอัตราค่าบริการที่สามารถรองรับได้  คิดเป็นสัดส่วนลูกค้าใหม่ และลูกค้าเก่า ที่ยกระดับบริการในอัตรา 50:50 

กลยุทธ์หลักของไซเบอร์ อีลีท สำหรับการสร้างธุรกิจด้าน Managed Security Services คือ “Managed everything with forward-looking cyber risk awareness” โดยที่มุ่งเป้าไปที่การสร้างบริการที่หลากหลายและแตกต่างที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถเห็นความเสี่ยงทางด้านไซเบอร์ภายในองค์กรได้ก่อนที่เหตุจะเกิด เพื่อที่จะสามารถวางแผนป้องกันได้ล่วงหน้าได้ ซึ่งปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของกลยุทธ์นี้คือ ข้อมูลที่มีคุณภาพ บุคลากรที่มีความสามารถ และที่ขาดไม่ได้คือ เทคโนโลยีชั้นนำที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการวิเคราะห์ประเด็นความเสี่ยงและภัยคุกคาม รวมทั้งช่วยลดเวลาในการเผชิญเหตุทางไซเบอร์ได้

โดยไซเบอร์ อีลีท ได้ร่วมมือเป็นพันธมิตร พร้อมนำเทคโนโลยีระดับโลกของไอบีเอ็มเข้ายกระดับการให้บริการศูนย์เฝ้าระวังภัยคุกคาม เป็นศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์แบบครบวงจร หรือ Cyber Security Operations Center (CSOC) เพื่อช่วยองค์กรเฝ้าระวังภัยคุกคามไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง ตรวจจับการโจมตีได้อย่างรวดเร็วก่อนที่จะสร้างความเสียหายแก่องค์กรด้วยเทคโนโลยีชั้นนำจากไอบีเอ็ม  

ทั้งนี้ความร่วมมือระหว่างไซเบอร์ อีลีท และ ไอบีเอ็ม ในครั้งนี้จะผสานความแข็งแกร่งระหว่างกันให้ดูแลป้องกันภัยคุกคามให้กับลูกค้าได้อย่างแข็งแกร่ง ด้วยจุดเด่น ของไซเบอร์ อีลีท มีบุคลากรที่มีประสบการณ์ และมีความเข้าใจบริบทด้านการบริหารจัดการด้านไซเบอร์ขององค์กร รวมทั้งมีความสามารถในการออกแบบและติดตั้งเทคโนโลยีด้านความมั่นคงปลอดภัยที่ทันสมัยเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าของแต่ละองค์กร  ขณะที่ไอบีเอ็ม เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีชั้นนำของโลก 

“ความร่วมมือระหว่างไซเบอร์ อีลีท กับไอบีเอ็มในครั้งนี้เป็นการยกระดับเทคโนโลยี Threat Intelligence จากภายนอกเข้าไปเพื่อเสริมความสามารถในการรับรู้เทรนด์ของภัยคุกคามล่าสุด เพื่อให้ระบบตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามไซเบอร์ได้รวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น”  ดร.ศุภกรกล่าว

สำหรับจุดเด่นของบริการ CSOC ของ Cyber Elite ที่มีความเชื่อถือได้ด้วย การได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC27001:2013 (Information Security Management System) และ ISO27701:2019 (Privacy Information Management System) การเฝ้าระวังภัยคุกคามไซเบอร์แบบ 24 x 7  จัดเก็บ Log ตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ แจ้งเตือนเมื่อเกิดภัยคุกคาม ให้คำแนะนำอย่างรวดเร็วและแม่นยำ  ลงพื้นที่เพื่อรับมือ ตอบสนอง เพื่อช่วยระงับเหตุการณ์ และแก้ไขภัยคุกคามไซเบอร์ การจัดทำรายงานการแจ้งเตือนจากฐานข้อมูล Threat Intelligence และรายงานเหตุการณ์ภัยคุกคามที่ตรวจพบ พร้อมระบุคำแนะนำอย่างครบถ้วน  การจัดทำเงื่อนไขการตรวจจับและวิธีปฏิบัติเพื่อตอบสนองต่อเหตุผิดปกติให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมขององค์กร การตรวจจับภัยคุกคามเชิงรุกด้วยบริการ Threat Intelligence, Threat Hunting, User and Entity Behavior Analytics และอื่นๆ

นอกจากนี้ ไซเบอร์ อีลีท ได้จัดรูปแบบโซลูชันและจัดทำกระบวนการด้านความมั่นคงปลอดภัยแก่ลูกค้าโดยพิจารณาจากสภาพแวดล้อมขององค์กรเป็นหลัก ซึ่งองค์กรแต่ละรายจะได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่างเหมาะสมต่อสภาพความเสี่ยงต่อภัยคุกคามของแต่ละองค์กร

สำหรับปี 2565 ตลาด Cybersecurity  ยังเติบโตในอัตราประมาณ 10% ในขณะที่ตลาดของ Managed Security Service มีการเติบโตในอัตราประมาณ 10-15% บริการ CSOC ของไซเบอร์ อีลีท ตั้งเป้ารายได้ปีแรกของการให้บริการ CSOC ไว้มูลค่า 150 ล้านบาท และรายได้ในปีนี้จะเป็นไปตามเป้าหมาย 350 ล้านบาท ถึง 400 ล้านบาท จากลูกค้าที่ได้ตามเป้าหมายในกลุ่มภาคการเงิน ภาครัฐ และภาคธุรกิจที่เป็นองค์กรภายใต้กำกับของหน่วยงานกำกับต่าง ๆ 

“ ความร่วมมือเป็นพันธมิตรกับไอบีเอ็ม ทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งอื่นๆ ในไทย การดูแลลูกค้า ตลอดจนเป็นไปตามเป้าหมายการขยายฐานลูกค้าของไซเบอร์ อีลีทไปในประเทศอาเซียน” ดร.ศุภกร กล่าว

คุณภาวศุทธิ ศรีวิโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจไอบีเอ็ม ซอฟต์แวร์ กล่าวว่า “วันนี้เอเชียเป็นเป้าโจมตีไซเบอร์สูงสุด โดยมีอุตสาหกรรมบริการทางการเงินและประกันภัยเป็นกลุ่มที่ถูกโจมตีมากที่สุด การโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มจำนวนและทวีความซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ และวันนี้กลายเป็นภัยคุกคามสูงสุดของทุกองค์กรทั่วโลก สิ่งนี้ตอกย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่องค์กรต้องเร่งลงทุนในเทคโนโลยีที่ช่วยมอนิเตอร์ ตรวจจับ หรือตอบสนองการโจมตี” 

“ในแต่ละวันไอบีเอ็มเฝ้าติดเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย 150,000 ล้านเหตุการณ์ ในกว่า 130 ประเทศ โดยเป็นหนึ่งในผู้นำโลกที่มีศักยภาพครอบคลุมที่สุดในแง่การวิจัยพัฒนาและเทคโนโลยีด้านซิเคียวริตี้ เมื่อผนวกเทคโนโลยี SOAR, SIEM และ UEBA ระดับโลกของไอบีเอ็ม เข้ากับความเข้าใจในสภาพแวดล้อมของภัยคุกคามไซเบอร์ในไทยเป็นอย่างดีของไซเบอร์ อีลีท จึงเป็นสองพลังที่จะช่วยองค์กรจัดการความเสี่ยงและป้องกันภัยคุกคามใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด” คุณภาวศุทธิ กล่าวทิ้งท้าย

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

AirAsia MOVE ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ สู่ผู้นำแพลตฟอร์มเดินทาง OTA แบบคุ้มครบจบในแอปเดียว พร้อมแพ็กเกจบินทั่วอาเซียนแบบไม่จำกัด

airasia Superapp ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ในชื่อ AirAsia MOVE พร้อมปรับโฉมแอปพลิเคชันใหม่ และเสริมกลยุทธ์ด้านธุรกิจเพื่อผลักดันให้ AirAsia Move เป็นผู้นำด้านแพลตฟอร์ม OTA (ตัวแทนด้านก...

Responsive image

คนไทยไปญี่ปุ่น เตรียมสแกนจ่ายได้ ผ่านระบบ QR Code คาดเริ่มเมษาปีหน้า

สำนักข่าว Nikkei Asia รายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นได้เริ่มพูดคุยกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อเปิดใช้งานบริการชำระเงินผ่าน QR Code ร่วมกัน ช่วยให้นักท่องเที่ยวใช้จ่ายสะดวกสบาย ไ...

Responsive image

Jitta ก้าวสู่ปีที่ 12 เดินหน้าแก้วิกฤตการเงิน หนุนคนไทยออมและลงทุนอัตโนมัติ

Jitta เข้าสู่ปีที่ 12 เติบโตอย่างแข็งแกร่งบนเป้าหมายที่จะสร้างนวัตกรรมทางการเงิน เพื่อช่วยให้คนไทยเข้าถึงการลงทุนที่ง่ายและสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า...