เกาะติด COP27 โลกร้อนขึ้น เก็บค่าชดเชยที่ใคร? | Techsauce

เกาะติด COP27 โลกร้อนขึ้น เก็บค่าชดเชยที่ใคร?

หากติดตามสถานการณ์ต่อเนื่องจากการประชุม COP26 ที่ประเทศสก็อตแลนด์ มีเรื่องที่ชวนให้หวั่นใจ คือ ประเทศส่วนใหญ่ไม่ได้มุ่งมั่นที่จะร่วมลดการปล่อยคาร์บอน ไม่ได้ยืนหยัดว่าจะดำเนินมาตรการใดอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากในปีที่ผ่านมา มีเพียง 26 จาก 193 ประเทศเท่านั้นที่ประกาศว่า ‘จะยกระดับมาตรการด้านภูมิอากาศ’ แล้วมาตรวัดว่ามีการ ‘ยกระดับ’ อยู่ตรงไหน?

สื่อนิวยอร์กไทมส์ เผยแพร่บทความในวันที่ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมาเกี่ยวกับการประชุม COP27 ว่า ประเทศกำลังพัฒนาจะเริ่มแสดงบทบาทด้านนโยบายภูมิอากาศมากขึ้น โดยเฉพาะ การเรียกร้องให้ ‘ประเทศที่ร่ำรวย’ จ่ายค่าชดเชยปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่ ‘ประเทศกำลังพัฒนา’ (โดยเฉพาะกลุ่มประเทศขนาดเล็ก) ซึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาสภาพภูมิอากาศ โดยที่พวกเขาไม่ได้เป็นคนก่อ

ขณะนี้ยังอยู่ระหว่าง การประชุม COP27 (หรือ การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 27) ณ เมืองชาร์มเอลชีค ประเทศอียิปต์ โดยการประชุมจะจะสิ้นสุดลงในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2022

รัสเซีย - ยูเครน สู้กันยังไง สะเทือนไปถึงตลาดพลังงานโลก

สถานการณ์เลวร้ายยังเกิดขึ้นมาซ้ำเติมและคร่าชีวิตมนุษย์ จากฝีมือของมนุษย์เอง นั่นคือ สงครามระหว่าง รัสเซีย - ยูเครน ที่ไม่ได้ก่อให้เกิดความสูญเสียในด้านชีวิตและทรัพย์สินของสองประเทศนี้เท่านั้น แต่ความเสียหายสะเทือนไปถึง ภาคพลังงาน ทั้งด้านการผลิต การขนส่ง อุตสาหกรรม ในหลายประเทศ นำโดยสหรัฐอเมริกาที่กดดันรัสเซียให้ยุติสงครามด้วยสารพัดวิธี หนึ่งในนั้นคือ คว่ำบาตรทางการค้า โดยสั่งห้ามนำเข้าน้ำมัน ก๊าซ และพลังงานอื่นๆ จากรัสเซีย ต่อมาสหภาพยุโรปก็สั่งแบนสินค้าที่เกี่ยวกับพลังงาน เบรกการลงทุนในภาคพลังงานรัสเซีย รวมถึงคุมเข้มเรื่องการส่งสินค้าออกไปยังรัสเซีย 

รัสเซียสู้กลับด้วยการปิดเส้นทางส่งออกพลังงาน หายนะย้อนศรเข้ายุโรปเต็มๆ เพราะฝั่งยุโรปไม่ได้มีพลังงานเพื่อใช้ขับเคลื่อนทุกสิ่งอย่างมากพอที่จะก้าวผ่านหน้าหนาวรอบนี้ไปได้ เนื่องจากทรัพยากรที่มีก็มีให้ใช้อย่างจำกัด ถึงจะประหยัดพลังงานสักแค่ไหน แผนการด้านสภาพภูมิอากาศในหลายประเทศก็ถึงคราวชะงักงัน เช่น เยอรมนีที่ปรับแผนการใช้พลังงานโดยกลับไปใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ในขณะที่สหภาพยุโรปหันไปผลักดันให้ประเทศในแอฟริกาพัฒนาแหล่งก๊าซมากขึ้น ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ไปรบเร้าให้พัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียน

International Energy Agency ระบุว่า สงครามครั้งนี้ อาจเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ ‘พลังงานสะอาด’ เร็วขึ้นก็เป็นได้ แต่อย่างไรก็ตาม เราต้องเกาะติดการประชุม COP27 เอาไว้  เพื่อดูว่าบรรดาผู้นำจะเห็นความสำคัญของปัญหาสภาพภูมิอากาศ  หรือใส่ใจเพียงการแก้ไขปัญหาพลังงานขาดแคลนที่กำลังเกิดขึ้น

โลกร้อนขึ้น ใครคือผู้ที่ต้องรับผิดชอบ ‘ค่าชดเชย’

เพื่อความยุติธรรม ค่าชดเชย กลายเป็นข้อเรียกร้องของประเทศขนาดเล็กที่ได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศแปรปรวน โดยประเทศที่ร่ำรวยต้องเป็นผู้จ่ายค่าชดเชยให้แก่ประเทศขนาดเล็ก เนื่องจากเป็น กลุ่มประเทศที่ผลิตก๊าซเรือนกระจกรวมกว่าครึ่งโลก! นับตั้งแต่มีการปล่อยคาร์บอน

คำถามที่ตามมาคือ ประเทศใดบ้างที่ได้ชื่อว่าเป็น ประเทศร่ำรวย?

ประเทศร่ำรวยตามนิยามของ UN คือ  23 ประเทศพัฒนาแล้ว อาทิ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สหราชอาณาจักร แคนาดา ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เบลเยียม กรีซ ออสเตรีย สวีเดน เดนมาร์ก ต้องร่วมกันรับผิดชอบการปล่อยคาร์บอนครึ่งหนึ่ง ส่วนประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาอีกกว่า 150 ประเทศ ต้องร่วมกันรับผิดชอบคาร์บอนอีกครึ่งที่เหลือ

หากดูตัวเลขโดยประมาณจากงานวิจัยระบุว่า  ประเทศกำลังพัฒนาจะได้รับผลกระทบจาก Climate Change ภายในปี 2030   คิดเป็นมูลค่าถึงปีละ 290 - 580 พันล้านดอลลาร์  (หรือราว 10.3 - 20.6 ล้านล้านบาท)

ในปีที่ผ่านมา กลุ่มประเทศร่ำรวยสัญญาว่า จะมอบเงินปีละ 40 ล้านล้านดอลลาร์ (หรือราว 1.425 ล้านล้านบาท) เพื่อช่วยให้ประเทศยากจนได้ปรับตัว โดยทาง UN ให้ข้อมูลว่า เงินจำนวนดังกล่าวยังน้อยกว่า 1 ใน 5 ของเงินที่ประเทศกำลังพัฒนาต้องการเสียอีก 

งานนี้ อเมริกาและยุโรปคงเกรงว่า ค่าชดเชยจะกลายเป็น ‘ความรับผิดชอบที่ไม่มีวันจบสิ้น’

“ไม่ยุติธรรมเลยที่ผู้ก่อมลพิษเก็บเกี่ยวผลกำไรมหาศาล แต่ไม่ได้รับผิดชอบตามสัดส่วนของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ประเทศเปราะบางต่อสภาพภูมิอากาศถูกทิ้งให้เป็นผู้รับผลกระทบด้านสภาพอากาศซึ่งทำลายชีวิต ที่อยู่อาศัย และตำแหน่งงานด้วย”

Lyndsay Walsh ที่ปรึกษานโยบายสภาพภูมิอากาศของ Oxfam และผู้ร่วมจัดทำรายงาน THE COST OF DELAY: WHY FINANCE TO ADDRESS LOSS AND DAMAGE MUST BE AGREED AT COP27 กล่าวต่อว่า 

“เราต้องหยุดความล่าช้านี้ ช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่ควรดำเนินการคือเมื่อ 31 ปีที่แล้ว และเวลาถัดไปที่ดีที่สุดก็คือ ตอนนี้”

อ้างอิง

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

AirAsia MOVE ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ สู่ผู้นำแพลตฟอร์มเดินทาง OTA แบบคุ้มครบจบในแอปเดียว พร้อมแพ็กเกจบินทั่วอาเซียนแบบไม่จำกัด

airasia Superapp ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ในชื่อ AirAsia MOVE พร้อมปรับโฉมแอปพลิเคชันใหม่ และเสริมกลยุทธ์ด้านธุรกิจเพื่อผลักดันให้ AirAsia Move เป็นผู้นำด้านแพลตฟอร์ม OTA (ตัวแทนด้านก...

Responsive image

คนไทยไปญี่ปุ่น เตรียมสแกนจ่ายได้ ผ่านระบบ QR Code คาดเริ่มเมษาปีหน้า

สำนักข่าว Nikkei Asia รายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นได้เริ่มพูดคุยกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อเปิดใช้งานบริการชำระเงินผ่าน QR Code ร่วมกัน ช่วยให้นักท่องเที่ยวใช้จ่ายสะดวกสบาย ไ...

Responsive image

Jitta ก้าวสู่ปีที่ 12 เดินหน้าแก้วิกฤตการเงิน หนุนคนไทยออมและลงทุนอัตโนมัติ

Jitta เข้าสู่ปีที่ 12 เติบโตอย่างแข็งแกร่งบนเป้าหมายที่จะสร้างนวัตกรรมทางการเงิน เพื่อช่วยให้คนไทยเข้าถึงการลงทุนที่ง่ายและสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า...