คุยกับ Co-Founder และ CEO ของ Grab 'Anthony Tan' หลังเปิดตัว Grab Ventures | Techsauce

คุยกับ Co-Founder และ CEO ของ Grab 'Anthony Tan' หลังเปิดตัว Grab Ventures

คำต่อคำสัมภาษณ์ Anthony Tan CEO และ Co-Founder ของ Grab หลังจากเปิดตัว Grab Ventures อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา โดย Dan Murphy นักข่าวจาก CNBC 

Dan Murphy นักข่าวจาก CNBC สัมภาษณ์ Anthony Tan ซึ่งเป็น CEO และ Co-Founder ของ Grab หลังจากเปิดตัว Grab Ventures อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา รายละเอียดทั้งหมดมีดังนี้

Dan Murphy: ช่วยเล่าให้ฟังเกี่ยวกับการเปิด Grab Ventures อย่างเป็นทางการให้เราฟังหน่อยครับ

Anthony Tan: Grab Ventures ถือเป็นสุดยอดแผนกด้านนวัตกรรมเลยก็ว่าได้ เรากำลังสนใจในการลงทุนเพื่อเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยียุคถัดไปอย่างจริงจัง สิ่งหนึ่งที่เราคิดคือ "ทำไมพวกเขาถึงคิดว่าจะเลือกพวกเรา?" เหตุผลมีดังนี้

หนึ่ง เรามีฐานผู้ใช้งานที่ติดตั้งแอปนับร้อยล้านรายใน Southeast Asia เราให้บริการใน 217 เมืองของ 8 ประเทศอย่างกว้าง ซึ่งสามารถเสนอสิ่งต่างๆ ให้กับสตาร์ทอัพได้

สอง เรายังมีกองทัพผู้ให้บริการขนาดใหญ่มากกว่า 3 ล้านรายซึ่งเราทำงานกับพวดเขาอย่างใกล้ชิด นี่จึงถือเป็นเครือข่ายอุปทาน (Supply Network) ที่เราสามารถสนับสนุน Startup ที่ทำงานกับเราได้

สาม เรามีใบอนุญาตการให้บริการชำระเงิน (Payment License) และบริการ E-Payment Wallet ในหลายประเทศทั่วภูมิภาคนี้

ซึ่งย้ำตรงนี้ว่าถ้าคุณมาทำงานร่วมกับเรา คุณจะได้ใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์ม Mobile Payment และ Wallet ที่เรามีได้เลย ซึ่งในตอนนี้เรายินดีอย่างยิ่งที่จะได้ทำงานร่วมกับบรรดา Startup อย่างใกล้ชิด

ดังนั้น คำถามที่ว่า เรามีวิธีการเลือกสตาร์ทอัพอย่างไร หรือ สตาร์ทอัพแบบไหนที่เราจะเลือกทำงานด้วย? คำตอบก็คือ เราจะเลือกสตาร์ทอัพมาแค่ 8-10 รายมาในปีหน้า โดยมีหลักเกณฑ์สำคัญ คือ เป็นสตาร์ทอัพที่อยู่ในขั้น Growth Stage หรือไม่? หรือดูว่าสตาร์ทอัพรายนั้นโตเร็วไปหรือช้าไปหรือไม่? เรารู้สึกว่าสตาร์ทอัพที่อยู่ในสิงคโปร์ หรือประเทศไทย หรืออินโดนีเวีย หรือที่ใดก็ตามแต่ พวกเขาต้องการขยายตัวเองขึ้นสู่ระดับภูมิภาค ซึ่งเราสามารถช่วยในพวกเขาเพิ่มมูลค่าหรือ Value ให้มีมากขึ้นได้

Dan: เรื่องเงินทุนอาจไม่ใช่เรื่องสำคัญว่ามีเท่าไหร่? แต่บอกให้ผมทราบหน่อยได้หรือไม่ว่า คุณต้องการให้ Grab Ventures ทำเงินได้เท่าไหร่? และ มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ในการสร้าง Grab Ventures นี้ขึ้นมา?

Anthony: จริงๆ แล้วเรื่องงบดุล (Balance Sheet) ถือเป็นเรื่องหลังๆ ของเรา และคุณก็น่าจะรู้อยู่แล้วว่าเรายินดีที่ปรับงบดุลให้มีความยืดหยุ่นได้ ดังนั้นเรื่องของงบดุลถือเป็น Portfolio ด้านการลงทุนของบริษัท สตาร์ทอัพบางรายเราอาจเข้าไปมีตำแหน่งเต็มตัว บางรายเราอาจมีตำแหน่งในบางส่วน แต่เราจะช่วยให้พวกเขาโตขึ้นด้วยการนำลูกค้ามาให้กับพวกเขา ดังนั้นเรื่องงบดุลของเราถือเป็นเรื่องหลังเลย

Dan: ดูเหมือนว่าตอนนี้ Grab พยายามที่จะเป็นทุกอย่างให้กับทุกคน เนื่องจากในมือข้างหนึ่งคุณเพิ่งได้กิจการ Uber ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไป ต่อมาคุณกำลังขยายเข้าสู่บริการอาหาร ต่อมาคุณกำลังขยายการชำระเงิน ล่าสุดตอนนี้คุณกำลังทำงานใหญ่เกินตัวหรือไม่? และนี่คือการละสายตาของคุณออกจากรางวัลในช่วงเวลาที่การแข่งขันกำลังจะเพิ่มขึ้นในตลาดนี้และตลาดอื่น ๆ ที่คุณดำเนินการอยู่หรือไม่?

Anthony: เราไม่ได้โฟกัสเกี่ยวกับเรื่องภายในบริษัทตัวเอง เราโฟกัสว่าอะไรคือสิ่งที่ใช่สำหรับผู้บริโภค และสิ่งที่ใช่สำหรับผู้บริโภคก็คือการคำนึงถึงชีวิตผู้บริโภคนั่นเอง เมื่อคุณต้องการไปทำงานในตอนเช้า เราก็มีบริการมาให้คุณ ในช่วงมื้อกลางวัน คุณไม่อยากฝ่ารถติดไปใช่ไหม? เราก็มีบริการสั่งอาหารผ่าน GrabFood ในตอนเย็น คุณไม่ได้เร่งรีบจะกลับบ้าน คุณก็ขึ้น GrabShuttle [บริการรถตู้และรถเมล์ของ Grab ในสิงคโปร์] มาได้ ในระหว่างวัน คุณซื้อกาแฟมา คุณก็จ่ายด้วย GrabPay ได้ ซึ่งเราต้องการเป็นแอปในทุกๆ วัน (Everyday App) ที่ให้บริการเพื่อคุณ

ดังนั้นในความเป็นจริง เรามีโฟกัสที่ชัดเจนอย่างมาก และโฟกัสนี้อยู่ที่ผู้บริโภค และเรากำลังหาวิธีการให้บริการที่ดีที่สุดแก่ผู้บริโภคของเรา

Dan: ผมต้องการถามเกี่ยวกับข้อกังวลด้านการแข่งขัน เนื่องจากดูเหมือนว่าตั้งแต่การเข้าซื้อกิจการ Uber ไป Grab กำลังถูกตรวจสอบโดยหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อป้องการผูกขาด (Antitrust Regulator) ที่กังวลในเรื่องการแข่งขัน ซึ่งไม่ใช่แค่ในสิงคโปร์เท่านั้น แต่หมายถึงตลาดในประเทศอื่นๆ ที่คุณเข้าไปด้วย คุณอัพเดทให้เราฟังได้หรือไม่ว่าประเด็นดังกล่าวจะถูกแก้ไขในเร็วๆ นี้อย่างไร? และตอนนี้คุณยืนอยู่ตรงไหน?

Anthony: เราทำงานร่วมกับรัฐบาลในทุกๆ ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลสิงคโปร์, เวียดนาม, ฟิลิปปินส์ เรากำลังจับมือทำงานร่วมกัน และหาวิธีแก้ปัญหาที่รัฐบาลประเทศต่างๆ เป็นห่วงอยู่ในหลายประเด็น คำถามต่อมาก็คือ "เราทำงานในประเด็นเดียวกันกับรัฐบาลหรือไม่?" และ "รัฐบาลในหลายประเทศเป็นห่วงในเรื่องอะไร?" คำตอบก็คือพวกเป็นห่วงเกี่ยวกับการสร้างงานที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก หรือการสร้างโอกาสในการสร้างรายได้ขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ Grab เราเชี่ยวชาญอยู่แล้ว วันนี้เราสามารถสร้างโอกาสในการเพิ่มรายได้มากกว่า 6 ล้านตำแหน่ง โดยขณะนี้เราก็กำลังเพิ่ม 6 ล้านเป็น 20 ล้าน, 20 ล้านเป็น 50 ล้าน

ซึ่งเป้าหมายของ Grab Ventures คือการทำให้บริษัทที่อยู่ Portfolio ของเราได้ด้วยกันกับเรา ใน Ecosystem หนึ่งเดียวนี้ได้อย่างไร ซึ่งเราจะเพิ่มผู้ประกอบการรายย่อยให้มีมากขึ้นนับพันล้านราย และนำพวกเราเศรษฐกิจใหม่ที่แท้จจริงให้ได้ นั่นเป็นสิ่งรัฐบาลในหลายประเทศเป็นห่วงเราในเรื่องนี้

Grab ก็ต้องทำงานร่วมกับรัฐบาลหลายประเทศ ซึ่ง Anthony Tan, CEO & Co-Founder ก็ต้องเคยเข้าพบ ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยด้วยเช่นกัน

Dan: แต่เมื่อการแข่งขันเข้ามาถึง คุณมั่นใจหรือไม่ว่าปัญหาเหล่านั้นจะถูกแก้ไขโดยไม่มีการลงโทษและเสียค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มเติม?

Anthony: วิธีการที่ผมเห็นคือ หนึ่ง โฟกัสไปที่ผู้บริโภครวมถึงทำงานร่วมกับรัฐบาล สองในการแข่งขันนี้ ผมคิดว่าสภาพแวดล้อมตอนนี้มีการแข่งขันสูงมาก เราเห็นคู่แข่งหลายรายเข้ามาในตลาด หรือหลายรายกำลังจะเข้ามา หลายรายได้เข้ามาในตลาดแล้ว และการแข่งขันก็ดำเนินไปอย่างรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้นสำหรับเรา เราไม่ได้โฟกัสที่การแข่งขัน เราโฟกัสไปที่ผู้บริโภค

Dan: เมื่อพูดถึง Go-Jek (คู่แข่งของ Grab) ซึ่งกำลังจะเข้ามาแข่งขันในตลาดเดียวกับคุณ อย่าง Uber ที่เคยเข้ามา Southeast Asia ก็เป็นธุรกิจที่ไม่ได้เข้าใจในตลาดนี้มากนัก ซึ่งแน่นอนว่าก็เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ แต่ Go-Jek ก็ตีให้แตกได้ยากกว่า ซึ่งก็พูดตรงๆ ว่าพวกเขาก็มีโมเดลที่แปลกใหม่ พวกเขาประสบความสำเร็จจากการทำธุรกิจในอินโดนีเซีย ดังนั้นคุณกังวลใจต่อ Go-Jek หรือไม่ที่กำลังเข้ามาในตลาดสิงคโปร์ และธุรกิจของคุณเตรียมตัวกับการแข่งขันในรอบใหม่นี้อย่างไรบ้าง?

Anthony: Grab เรานั้นชัดเจนมาก เราได้ผ่านบททดสอบการต่อสู้มาหลายครั้งแล้ว เราก็เคยพบและสู้กับคู่แข่งที่ใหญ่กว่าอย่าง Easy Taxi จากบริษัทที่ใหญ่กว่าเราออย่าง Rocket Internet เราสู้กับ Uber เรียกได้เราสู้จนอย่างไม่ย้อท้อ หลายบริษัทก็มีขนาดใหญ่และใหญ่กว่าเราเมื่อเทียบในระดับโลก เราก็ทำให้เห็นว่าเราสามารถก้าวข้ามความท้าทายต่างๆ มาได้ตลอด

ปัจจุบันเราเชื่อว่าการแข่งขันจะทำให้เราแข็งแกร่งขึ้น และทำให้เราได้รับบทเรียนที่ดีกลับมา เพราะเหล็กถูกเหลาไปอย่างไรก็เป็นเหล็ก แต่เราจะแข็งแกร่งขึ้นได้อย่างไร?

ประการต่อมา เรากำลังคิดถึงตลาดอย่างอินโดนีเซีย ยกตัวอย่างเช่น เช่น พวกเราเข้ามาทีหลัง เรายอมรับ แต่ถึงแม้ว่าเราจะเข้ามาในตลาดทีหลัง ถ้าคุณดูที่ข้อมูล โดยเมื่อคุณดูไปที่จำนวนการทำธุรกรรม, คุณดูไปที่รายได้, คุณดูไปที่การจอง, คุณดูไปที่คนขับรถ ก็จะพบว่าเราคือบริษัท Ride-Hailing อันดับหนึ่งในอินโดนีเซีย ถึงแม้ว่าเราจะเข้ามาในตลาดทีหลังก็ตาม

เมื่อเราพูดถึงภูมิภาคที่กว้างกว่าออกไป เราจะพบว่า Southeast Asia มีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก การดำเนินการในแต่ละประเทศก็จะแตกต่างออกไปไม่เหมือนกัน ผู้คนต่างๆ สามารถพูดได้ว่าเขาอยากจะขยายสู่ระดับภูมิภาค พวกเขาต้องการก้าวออกไปข้างหน้า แต่คุณต้องทำงานกับหลายรัฐบาลและหลายรัฐมนตรีที่อยู่ในแต่ละรัฐบาลคุณต้องทำงานกับพาร์ทเนอร์ต่างๆ หลายรายที่อยู่ในแต่ละประเทศ ซึ่งก็จะมีความแตกต่างกันอย่างมาก แตกต่างทั้งในด้านภาษาทางการและภาษาท้องถิ่น ดังนั้นความซับซ้อนจึงเพิ่มแบบ Exponential

ซึ่งเราพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเราสามารถประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจกับทุกตลาดของภูมิภาคนี้

Dan: งั้นเราขอถามคำถามสุดท้ายอย่างรวดเร็วก่อนที่คุณจะต้องไปแล้ว จากที่ผมระบุว่าคุณกำลังมองหาวิธีแก้ปัญหาหลายๆ อย่างอยู่ในตอนนี้ คำถามคือปัญหาอะไรบ้างที่ Grab กำลังจะแก้ไขภายในระยะเวลา 5-10 ปีข้างหน้านี้? คุณมองธุรกิจของคุณในกรอบเวลา 5-10 ปีหลังจากนี้เป็นอย่างไร?

Anthony: ตอบง่ายมากครับ ในสิบปี ห้าปี สามปี หรือหวังว่าในระยะอันใกล้นี้ คุณจะพูดได้ว่า Grab จะเปิดช่องทางให้ธุรกิจขนาดย่อม (Micro Business) นับร้อยล้านรายที่อยู่ใน Southeast Asia ด้วยบริษัทใน Portfolio ของ Grab และ Ecosystem ของ Grab และช่วยบรรเทาความยากจนและนำเศรษฐกิจใหม่มาสู่ Southeast Asia ได้อย่างแท้จริงครับ

อ้างอิงข้อมูลจากบทสัมภาษณ์ของ CNBC (CNBC Interview) และภาพจาก Grab

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

VC เผยวิธีมองสตาร์ทอัพให้ขาด ก่อน ORZON Ventures เข้าไปลงทุน

คุยกับ 'คุณณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล ผู้อำนวยการการลงทุน ORZON Ventures' เรื่องการทำงานระหว่าง OR กับ 500 TukTuks, เกณฑ์การพิจารณาสตาร์ทอัพที่น่าลงทุน, เหตุที่บางดีลเกิด/ไม่เกิด รวม...

Responsive image

ติววิชา Sustainability ก่อนมุ่งสู่ ‘ESG Report’ คอนเทนต์ที่สตาร์ทอัพควรอ่าน จากงาน ESG ESSENTIAL WORKSHOP

Key Messages เกี่ยวกับ Sustainability & ESG จากงานสัมมนา ESG ESSENTIAL WORKSHOP: Navigating Sustainability for Post-Revenue Startups ในโครงการ KATALYST by KBank โดย Beacon VC...

Responsive image

ปรับองค์กรสู่ Digital Future เริ่มที่ ‘คน’ หรือ ‘เทคโนโลยี’ ฟัง NTT DATA ผู้เชี่ยวชาญ Digital Transformation

บทความนี้ Techsauce จะพาไปหาคำตอบว่า…ทำไมทรัพยากรคนถึงมีผลต่อ Digital Transformation และองค์กรควรรับมืออย่างไร?...