หากพูดถึงในเรื่องของ Climate Tech แน่นอนว่าหลาย ๆ คนอาจนึกถึงเรื่อง Solar, EVs หรือแม้แต่ Decarbonisation clean tech แต่แท้ที่จริงแล้วทุก ๆ อุตสาหกรรมตั้งแต่เกษตรกรรมไปจนถึงฟินเทคต่างก็มีความข้องเกี่ยวกับ Climate Tech ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ซึ่งในเซสชั่นนี้ Alina Truhina และ Paul Ark หุ้นส่วนผู้ก่อตั้งและผู้ร่วมทุนของ The Radical Fund ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนในระยะเริ่มต้นสำหรับสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีซึ่งมุ่งเน้นเรื่องของ Climate Change ได้ให้มุมมองของพวกเขาเกี่ยวกับ “Climate Technology โอกาสแห่งอนาคตของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ไว้ดังนี้
Alina กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ในขณะเดียวกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลับมีความเสี่ยงมากขึ้น เพราะตามสถิติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ก่อมลพิษมากเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกาและจีน
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนสนใจลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น การมีเศรษฐกิจที่เติบโตและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง จำนวนประชากรคนรุ่นใหม่ที่เพิ่มขึ้น และทรัพยากรที่น่าสนใจอีกมากมายซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่จะช่วยทำให้ Climate Tech เติบโตเพิ่มขึ้นและกลายเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เติบโตเร็วที่สุดในธุรกิจร่วมทุน Paul เสริม
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เผชิญกับความเปราะบางจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เสี่ยงต่อการหยุดชะงักทางเศรษฐกิจและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม GDP ประมาณ 40% ของภูมิภาคอาจตกอยู่ในความเสี่ยงภายในปี 2050
1.โอกาสที่จะลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ
2.โอกาสปลดล็อกทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
3.โอกาสในการส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน
ซึ่งการลงทุนด้าน Climate Tech สามารถให้ผลตอบแทนทางการเงินและผลกระทบทั่วโลกได้จริง
การจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต้องใช้แนวทางที่หลากหลาย รวมถึงรูปแบบธุรกิจนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคและส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน
การเติบโตของ Climate Tech ไม่ใช่แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ต้องค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป ต้องแก้ปัญหาอย่างถาวร เพราะปัญหาเกี่ยวการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะไม่มีวันหายไป ซึ่งแตกต่างจากการลงทุนในรูปแบบอื่น ๆ ที่อาจจะทำให้เกิดวิกฤตการณ์ฟองสบู่ได้ ทำให้นวัตกรรม Climate Tech เป็นสิ่งที่สำคัญที่ควรจะต้องมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง
ความสนน่าใจในเทคโนโลยีด้านสภาพอากาศ หรือ Climate change คือการตอบสนองต่อปัญหาระดับโลก เพราะฉะนั้นอย่างที่กล่าวข้างต้นอุตสาหกรรมนี้ต้องการการลงทุนที่สม่ำเสมอและหลากหลายในระยะยาว เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมและจัดการกับความท้าทายด้านสภาพอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
Sign in to read unlimited free articles