ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้ผลักดันให้พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างไม่ต้องสงสัย หลายคนอาจจะได้เห็นพัฒนาการและตัวอย่างของกระแสสังคมไร้เงินสด หรือเป็นอีกคนที่ได้รับอิทธิพลกันบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นระบบ Contactless Payment ที่เพียงแค่แตะบัตรเครดิต บัตรเดบิตหรือ Smart Card ก็สามารถชำระเงินได้ทันที นาฬิกาฝังชิพอัจฉริยะผูกกับบัตรเครดิต การทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์บน PayPal ไปจนถึงการเข้ามาปฎิวัติโลกการเงินอย่างเทคโนโลยี Blockchian
ในทุกวันนี้ดูเหมือนว่าจะเต็มไปด้วยกระแสเทคโนโลยีใหม่ๆ และเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งการทำธุรกรรมออนไลน์ไม่เพียงแต่จะช่วยผู้บริโภคให้ได้รับความสะดวกสบายในการจับจ่ายใช้สอย ยังช่วยลดอัตราการฉกชิงวิ่งราว อย่างไรก็ตาม ก็ยังเป็นที่น่ากังวลในเรื่องของความเป็นส่วนตัว เนื่องจากทั้งทางผู้ประกอบการธนาคารหรือแม้แต่รัฐบาลเองก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลธุรกรรมส่วนบุคคลได้
เมื่อไม่นานมานี้รัฐบาลจีนประกาศระงับการเทรด Cryptocurrency รวมถึงแบนเว็บเทรดต่างชาติ อีกทั้งเว็บ BTCC บริษัท Bitcoin ที่ใหญ่ที่สุดในจีนก็ได้หยุดให้บริการซื้อขายเหรียญคริปโต เนื่องมาจากรัฐบาลจีนมองว่า Bitcoin จะถูกนำไปใช้ในทางผิดกฎหมาย การแข่งขันนี้ไม่ได้หยุดอยู่แค่สกุลเงินดิจิตอลเท่านั้น การต่อสู้ระหว่างผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ในจีนก็กำลังเป็นที่น่าจับตาเช่นกัน
ในประเทศจีน เทรนด์ของการออกจากบ้านโดยไม่พกอะไรติดตัวนอกจากโทรศัพท์มือถือกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เพียงมีเจ้าเครื่องเล็กๆ นี้ ทุกคนก็สามารถใช้จ่ายได้กับเกือบทุกอย่าง ตั้งแต่ซื้อบัตร Metrocards ไปจนถึงจองตั๋วเครื่องบิน แม้แต่ร้านอาหารสตรีทฟู้ดข้างทางก็ยังรับชำระเงินผ่านมือถือ การชำระเงินไม่เคยง่ายขนาดนี้มาก่อน จากรายงานปี 2017 พบว่ากว่า 660 ล้านคนใช้อินเตอร์เน็ตได้ใช้จ่ายผ่านมือถือรวมมูลค่ากว่า 9 ล้านล้านดอลล่าห์สหรัฐ และตัวเลขก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
การที่เทรนด์สังคมไร้เงินสดกำลังมาแรงในจีนมีปัจจัยอะไรเป็นตัวผลักดันบ้างมาดูกันค่ะ
ภาพจาก: Blog HQ Wharton FinTech Han
นอกจากนี้ Alipay ยังดำเนินธุรกิจ Taobao ซึ่งเป็นบริษัทอีคอมเมิร์ชที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน ส่วน WeChat Pay เป็นแอพพลิเคชันรับส่งข้อความที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ซึ่งข้อได้เปรียบเหล่านี้ทำให้ Alipay และ WeChat Pay กลายเป็นสองระบบการชำระเงินที่ได้รับความนิยมที่สุดในตลาดจีน โดยตามรายงานของ iResearch คิดเป็นร้อยละ 54 และ 40 ตามลำดับ
นอกจากการใช้ QR code ในการใช้จ่ายและโอนเงิน ซึ่งความสะดวก รวดเร็ว อีกทั้งการไม่มียอดโอนขั้นต่ำในแต่ละครั้งทำให้มีการนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายในบรรดาผู้ค้าและผู้บริโภคอีกทั้งยังรวมไปถึงคนที่อาศัยอยู่ในแถบชนบทด้วยเช่นกัน เหนือกว่านั้นคือระบบ Face Recognition การจดจำใบหน้าของ Alibaba ที่แค่เพียงสแกนใบหน้าก็สามารถชำระเงินผ่าน Alipay Account ได้ทันที
เส้นทางสังคมไร้เงินสดในประเทศไทยนั้นยังคงมีให้ได้เห็นข่าวความพยายามในการผลักดันให้เห็นกันอยู่เรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการที่รัฐบาลและกระทรวงการคลังได้พยายามผลักดันแผนยุทธศาสตร์ National e-Payment เพื่อทำการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานของระบบธนาคารในประเทศไทย และมีแผนยกระดับให้ประเทศเข้าสู่เศรษฐกิจยุค Cashless society เหมือนในหลายๆ ประเทศ อีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือการที่มีบริการโอนเงินแบบ ‘พร้อมเพย์ (PromptPay)’ ที่ผู้ใช้แค่ใส่เลขบัตรประชาชนหรือหมายเลขโทรศัพท์ก็สามารถทำธุรกรรมได้ทันที นับว่าเป็นอีกหนึ่งการช่วยอำนวยความสะดวกให้ประชาชนซึ่งก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตามเรื่องของความปลอดภัยยังคงเป็นเรื่องสำคัญ คนไทยจำนวนมากยังคงวิตกเกี่ยวกับความปลอดภัยของการชำระเงินออนไลน์อยู่ อีกทั้งเรื่องการขยายการชำระเงินแบบไร้เงินสดออกไปในพื้นที่ชนบทก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องค่อยๆ พัฒนากันไป ซึ่งล้วนเป็นปัญหาที่ประเทศที่ได้รับการพัฒนาได้เผชิญกันมาแล้วทั้งนั้น
อ้างอิงข้อมูลจาก: UBS, Financial Times, Techsauce
Sign in to read unlimited free articles