สถานการณ์ Covid-19 ซึ่งเป็นตัวแปรให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นทั่วโลก ทำให้ทั้งในฝั่งของผู้บริโภคและธุรกิจเร่งปรับตัวเข้าสู่โลกดิจิทัล แนวโน้มที่สำคัญคือการปรับตัวใหญ่ในครั้งนี้จะไม่ย้อนกลับไปยังจุดเดิมอีกต่อไป อัตราการเปลี่ยนเข้ามาใช้จ่ายออนไลน์ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้บทบาทของ Payment Gateway หรือช่องทางชำระเงินออนไลน์มีความสำคัญมากขึ้น คำถามที่น่าสนใจคือหากกิจกรรมทางเศรษฐกิจต้องเปลี่ยนเป็นดิจิทัลเกือบทั้งหมด เรามีระบบชำระเงินออนไลน์ที่รองรับกับการใช้จ่ายในรูปแบบใดบ้าง ครอบคลุมคนทุกกลุ่มหรือไม่ หรือปริมาณ Data ที่เพิ่มขึ้นมาอย่างมหาศาลในช่วง Covid-19 จะทำให้โจทย์ของ Payment Gateway เปลี่ยนไปอย่างไร
ชวนทุกท่านมาเจาะลึกบทบาทของ Payment Gateway กับคุณเพิ่มบุญ เอี่ยมสุภาษิต Founder และ CEO ของ Prain FinTech เจ้าของบริการ Payment Gateway อย่าง ChillPay ซึ่งจะมาช่วยฉายภาพให้เห็นโจทย์สำคัญของการชำระเงินออนไลน์ของประเทศไทยในปัจจุบัน รวมถึงเทรนด์การเติบโตของ Social Commerce ที่มีโอกาสเติบโตอย่างมหาศาลในตลาดประเทศไทยรวมถึงในเอเชีย โดยมีหัวใจสำคัญคือเรื่องของการที่ธุรกิจจะ Utilize Data และยกระดับการทำธุรกิจ Social Commerce ได้อย่างไร
จุดที่น่าสนใจในการปรับตัวสู่พฤติกรรมดิจิทัลของผู้บริโภคคือในบรรดากิจกรรมออนไลน์ทั้งหมด ตั้งแต่การใช้ Social Media ทำธุรกรรมทางการเงิน ดูหนังฟังเพลง เล่นเกม ไปจนถึงการเรียนออนไลน์ ETDA สำรวจพบว่าสองอันดับแรกของกิจกรรมออนไลน์ที่มีการเติบโตของผู้ใช้งานมากที่สุดคือการสั่งอาหาร และการชำระค่าสินค้าและบริการ ผลสำรวจจาก McKinsey & Company ตอกย้ำแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกันเมื่อพบว่าในช่วงวิกฤต Covid-19 นี้ กลุ่ม Grocery คืออุตสาหกรรมที่ผู้บริโภคหันมาใช้จ่ายในช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ (เพิ่มขึ้นมา31%) มากไปกว่านั้นคือ 75% ของผู้บริโภคที่พฤติกรรมเปลี่ยนไปนี้บอกว่าจะไม่กลับไปใช้จ่ายในรูปแบบเดิม
ธุรกิจออนไลน์จะเก็บเงินจากลูกค้าได้อย่างไร? คำถามง่ายๆ แต่เป็นพื้นฐานสำคัญในโลกเศรษฐกิจดิจิทัล แน่นอนว่ากลุ่มธุรกิจ Payment Gateway เป็นส่วนสำคัญที่เข้ามาตอบโจทย์นี้ ทุกวันนี้ผู้บริโภคมีตัวเลือกในการจ่ายเงินอยู่จำนวนมาก แต่เมื่อเข้าสู่การจ่ายเงินแบบออนไลน์คนเป็นจำนวนมากมักจะคุ้นเคยกับการผูกการจ่ายออนไลน์กับบัตรเครดิต แต่ในปัจจุบันประเทศไทยมีบัตรเครดิตอยู่ประมาณ 22 ล้านใบ จากจำนวนคนถือบัตร 8 ล้านคน ดังนั้นจึงมีคนจำนวนอีกประมาณ 85% ที่ไม่มีบัตรเครดิต กรณีนี้กลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำอาจจะเข้าไม่ถึงบริการ ในทางกลับกันตอนนี้ประเทศไทยมีอินเทอร์เน็ตให้บริการครอบคลุมกว่า 95% ของทั้งประเทศ ดังนั้นโจทย์สำคัญของธุรกิจ Payment Gateway คือจะทำอย่างไรให้คนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงการซื้อของออนไลน์ได้ และจะทำอย่างไรให้ขั้นตอนการชำระเงินเป็นไปได้ง่าย และสะดวก ดังนั้นบริการของ ChillPay จึงรองรับช่องทางการรับชำระเงินที่หลากหลาย ตั้งแต่ Internet & Mobile Banking, บัตรเครดิต, Counter Bill Payment, Kiosk Machine ต่างๆ ไปจนถึง QR Code
“ChillPay พยายามคิดในมุมที่ครอบคลุมคนทั้งหมด สำหรับกลุ่มคนรายได้น้อยตัวเลือกในการชำระเงินออนไลน์ก็จะมีช่องทางค่อนข้างจำกัด ตั้งแต่ว่าพวกเขาสามารถเข้าถึง Internet Banking หรือ PromptPay ได้หรือไม่ หรือถ้าเป็นกลุ่มคนที่ใช้แต่เงินสด ไม่มีบัญชีธนาคารเลย จะใช้วิธีอะไรที่จะทำให้เขาจ่ายเงินได้บ้าง ซึ่ง ChillPay ของเราก็มีบริการตู้ Kiosk Machine ที่ร่วมทำกับตู้บุญเติมซึ่งมีจุดให้บริการกว่า 130,000 จุดทั่วประเทศที่สามารถรองรับการจ่ายผ่านเงินสดได้เลย ซึ่งเป็นช่องทางที่เข้าถึงกลุ่มคนรายได้น้อยตามต่างจังหวัดได้มาก”
การให้บริการของ Payment Gateway สำหรับ ChillPay จะแบ่งออกตามSegment ของลูกค้า หมายถึงต้องมีช่องทางการชำระเงินหรือ Payment Channel ที่ตอบโจทย์ทุกพฤติกรรมลูกค้าใน Segment นั้นๆ เช่น สำหรับธุรกิจที่ขายสินค้าพรีเมียมลูกค้าอาจต้องการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต หรือหากเป็นเด็กๆ ที่เล่นเกมออนไลน์ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่มีบัตรเครดิตหรืออาจจะยังเข้าไม่ถึง Internet Banking หรือแม้แต่บัญชีธนาคาร ก็อาจจะเป็นการชำระเงินออนไลน์ผ่านทางตู้บุญเติม หรือเคาน์เตอร์ร้านสะดวกซื้อที่รองรับการจ่ายเงินสด
ประสบการณ์ของผู้บริโภคดิจิทัลเป็นเรื่องที่ทุกธุรกิจให้ความสำคัญเป็นปัจจัยต้นๆ เมื่อแบรนด์ที่เป็นเจ้าของสินค้าและบริการต่างต้องการส่งมอบประสบการณ์ที่ดีตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ Journey ของลูกค้า บริการ Payment Gateway นอกจากจะต้องตอบโจทย์ประสิทธิภาพด้านความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย โจทย์ที่ ChillPay คิดต่อคือเรื่องของประสบการณ์ของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์สินค้าและบริการ คือที่มาของสิ่งที่เรียกว่า White Label Service
“อย่างแรกเลย ChillPay เป็นบริการที่เรียกว่า White Label Service หมายความว่าเราสามารถ Integrate เข้ากับ Mobile Application, Website หรือช่องทางการชำระเงินอื่นๆ ได้ ดังนั้นเวลาที่ลูกค้าจะชำระเงินจะแทบไม่เห็นโลโก้ของ ChillPay เลย ตัวอย่างเช่นตอนนี้เราให้บริการกับ กฟผ.(การไฟฟ้าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) เวลาที่ผู้ใช้บริการจะชำระค่าไฟฟ้าก็สามารถกดจากแอปฯ ของกฟผ.ได้เลย ผู้ใช้บริการมีความเชื่อถือในแบรนด์ของกฟผ.โดยที่ไม่ต้องมาทำความรู้จักกับ ChillPay ใหม่ นี่คือความหมายของ White Label Service ที่เราจะไป Intregrate กับผู้ให้บริการเพื่อให้การบริการเป็นไปอย่างไม่สะดุด ชำระเงินได้อย่างสะดวก”
ChillPay เป็นบริการที่เรียกว่า White Label Service หมายความว่าเราสามารถ Integrate เข้ากับ Mobile Application, Website หรือช่องทางการชำระเงินอื่นๆ ได้ ดังนั้นเวลาที่ลูกค้าจะชำระเงินจะแทบไม่เห็นโลโก้ของ ChillPay เลย
กระแสเงินสดเป็นหัวใจสำคัญสำหรับทุกธุรกิจ และยิ่งสำคัญขึ้นไปอีกท่ามกลางวิกฤต Covid-19 จนมีคำกล่าวกันว่าในช่วงเวลานี้คือเวลาที่เรียกว่า Cash is King หนึ่งใน Pain Point สำหรับร้านค้าเมื่อรับการชำระเงินออนไลน์คือการที่ร้านค้าต้องส่งมอบสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า ‘ทันที’ แต่ในส่วนของการรับเงินต้องรอรอบเวลาการจ่ายเงินจาก Payment Gateway โดยอาจจะเป็นรอบเวลา 7 วัน หรือ 15 วัน รอบเวลาการจ่ายเงินดังกล่าวอาจเป็นหนึ่งปัญหาสำคัญสำหรับสภาพคล่องของธุรกิจ
จุดนี้คือความแตกต่างสำคัญสำหรับ ChillPay ที่สามารถให้ร้านค้ารับเงินแบบ T+1 หรือวันทำการถัดไป นั่นคือหลังจากที่ลูกค้าชำระเงินผ่านระบบ ChillPay แล้ว ร้านค้าจะสามารถได้รับเงินจากทาง ChillPay ได้ในวันทำการถัดไป
จากการประเมินของ Priceza สถานการณ์ Covid-19 อาจทำให้ตลาด E-Commerce ในประเทศไทยมีอัตราการเติบโตสูงขึ้น 35 % หรือคิดเป็นมูลค่า 220,000 ล้านบาท ทั้งยังชี้ว่าตลาด E-Commerce มีมูลค่าเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ของตลาดค้าปลีกทั้งหมดในประเทศ นั่นหมายถึงโอกาสในการเติบโตที่จะเกิดขึ้นได้อีกมาก
ETDA บ่งชี้ข้อมูลที่น่าสนใจของตลาด E-Commerce ไทยในปัจจุบัน ขณะที่ช่องทางการขายสินค้าและบริการผ่านทาง Social Media จะเป็นที่นิยมมากที่สุดในฝั่งของผู้ขาย แต่ในฝั่งของผู้บริโภคนั้นกลับยังนิยมซื้อสินค้าและบริการผ่านทาง E-Marketplace มากที่สุด แต่หากมองจากการใช้งาน Social Media ซึ่งเป็นกิจกรรมออนไลน์อันดับหนึ่งของคนไทยในปีที่ผ่านมา (2019) ก็อาจบอกได้ว่า Social Commerce มีโอกาสในการพัฒนาได้อีกมาก โดยเฉพาะเรื่องคุณสมบัติเด่นในเรื่องของการเชื่อมต่อและโต้ตอบกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย และการแก้ Pain Point ที่สำคัญอย่าง ‘การชำระเงิน’
“ทุกวันนี้ถ้าเราลองสำรวจตลาด ร้านค้าต่างๆ ในประเทศไทยใช้ช่องทาง Social Media ในการขายสินค้าร่วมด้วยกว่า 95 เปอร์เซนต์ ตั้งแต่ร้านค้าเล็กๆ ไปจนถึงแบรนด์ใหญ่ต่างก็มีช่องทางการขายผ่าน Social Media เราจะเห็นการมาของ Chatbot ซึ่งสะท้อนพฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนไป จากแต่ก่อนที่การซื้อของออนไลน์เป็นการเลือกสินค้าใส่ตะกร้าและชำระเงิน กลายเป็นความต้องการที่จะแชทถามข้อมูลก่อนซื้อของ”
“พอตัดสินใจซื้อสินค้า ขั้นตอนของการชำระเงินในตอนนี้ 90 กว่าเปอร์เซนต์ในประเทศไทยใช้วิธีManual คือการส่งเลขบัญชีให้โอนเงิน แต่อย่างกรณีที่ลูกค้าอยากชำระเงินผ่านบัตรเครดิต เพราะไม่มีเงินสดหรืออยากสะสมแต้มก็ไม่สามารถทำได้สำหรับร้านค้าเล็กๆ หรือการชำระเงินด้วยวิธีอื่นๆ เช่น ชำระผ่าน eWallet ก็มีข้อจำกัดค่อนข้างมาก”
การมองเห็นโอกาสดังกล่าวจึงเป็นที่มาของ Product ตัวใหม่ของบริษัทฯ อย่าง ChillPay ME ซึ่งเป็น Social Network Payment Gateway ที่ถูกออกแบบให้กับกิจกรรมการซื้อขายบน Social Media โดยเฉพาะ รองรับการจ่ายเงินออนไลน์ที่เป็นมิตรกับSocial Network ทุก Platform ไปจนถึงระบบสำหรับร้านค้าไม่ว่าจะเป็นการส่งหลักฐานชำระเงิน หรือการแจ้งเตือนยอดโอนเข้า
“ซึ่งพฤติกรรมและ Pain Point ลักษณะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับประเทศไทย เราพบว่าเกิดขึ้นกับทั้งเอเชียที่โดยภาพรวมกว่า 80 เปอร์เซนต์ของร้านค้ามีช่องทางการขายผ่าน Social Media ซึ่งเรามองว่าบริการของ ChillPay ME จะตอบโจทย์ทั้งตลาดในประเทศไทยและต่างประเทศ”
ผู้บริโภคที่เข้าผันสู่โลกดิจิทัลอย่างฉับพลันทำให้เกิด Data จำนวนมหาศาล ตรงจุดนี้เองได้สร้างโจทย์ใหม่ให้กับ Payment Gateway ที่อาจจะไม่ได้เป็นเพียงตัวแทนในการชำระเงินออนไลน์อย่างเดียวอีกต่อไป เพราะสิ่งที่ Payment Gateway มีคือ Data ที่เป็นธุรกรรมแบบเจาะจงของการขายออนไลน์ ซึ่งเป็น Data ที่แม้แต่สถาบันทางการเงินไม่สามารถที่จะเข้าถึงหรือแยกแยะธุรกรรมประเภทนี้ได้ ซึ่งการ Utilize Data ที่มีอยู่นี้เองที่จะมายกระดับการขายสินค้าและบริการผ่านช่องทาง Social Media ด้วยการต่อยอดไปสู่การสร้าง ‘CRM’
“เรามองว่า Social Media แตกต่างจากแพลตฟอร์ม E-Marketplace ตรงที่ Social Media ไม่ได้เป็นแพลตฟอร์มที่สร้างมาเพื่อการขายของโดยตรง แต่เกิดการ Apply ไปปรับใช้ในการขายของ ทำให้ไม่มีระบบ CRM ที่ช่วยสนับสนุนการขายอย่างที่ควรจะเป็น ตัวอย่างที่เกิดขึ้นคือร้านค้าหากอยากจัดโปรโมชั่น ก็ต้องมาจัดการข้อมูลหลังบ้านเองแบบ Manual หรือสมมติอยากแจกคูปองส่วนลดแบบออนไลน์ก็ทำไม่ได้ เพราะไม่สามารถสร้างฟีเจอร์การใช้คูปองขึ้นมาเองได้ ดังนั้นสำหรับร้านค้าออนไลน์เหล่านี้การทำโปรโมชั่นบนระบบ Social Media จึงเป็นไปได้ยาก และมีข้อผิดพลาดได้ง่าย”
ดังนั้น ChillPay ME จึงใช้จุดแข็งจากการสามารถเข้าถึงพฤติกรรมการทำธุรกรรมทางการเงินและ Integrate ระบบ CRM เข้ากับ Social Media ร้านค้าจึงสามารถตัดสินใจได้แบบ Data-Driven ในเรื่องของการจัดโปรโมชั่น หรือลูกเล่นการตลาดในรูปแบบต่างๆ และทำออกมาได้อย่างเป็นระบบ
Social Media แตกต่างจากแพลตฟอร์ม E-Marketplace ตรงที่ Social Media ไม่ได้เป็นแพลตฟอร์มที่สร้างมาเพื่อการขายของโดยตรง แต่เกิดการ Apply ไปปรับใช้ในการขายของ ทำให้ไม่มีระบบ CRM ที่ช่วยสนับสนุนการขายอย่างที่ควรจะเป็น
อีกการต่อยอดของการ Utilize Data คือการสามารถทำ Credit Scoring ให้กับร้านค้า เพราะด้วยบทบาท Payment Gateway ทำให้สามารถเข้าใจถึงสภาพธุรกิจและยอดขายของกิจการร้านค้าได้ดีกว่าสถาบันทางการเงิน ปัญหาในอดีตที่เคยเกิดขึ้นคือสถาบันการเงินอยากปล่อยกู้ แต่ไม่มีข้อมูลของร้านค้า ขณะที่ฝั่งร้านค้าก็ไม่มีหลักฐานยืนยันรายได้ที่เพียงพอ การทำ Credit Scoring จึงเหมือนเป็น Lending Matching ที่ช่วยทั้งในฝั่งของสถาบันทางการเงินและร้านค้า ท้ายสุดคือเป็นกลยุทธ์ที่ย้อนมาสร้าง Royalty ให้กับตัว ChillPay ME เอง
“นี่คือความแตกต่างจาก Payment Gateway เจ้าอื่นๆ ที่จะมีรายรับเพียงทางเดียวจาก Transaction Fee เราพยายามจะคิดออกไปนอกกรอบและสร้างความแตกต่างออกไปจากรายอื่นในตลาด ซึ่งโมเดลนี้เราก็จะได้ Royalty จากร้านค้าด้วยเพราะหากเขาทำธุรกรรมผ่าน ChillPay ME เขาก็ได้ Credit Scoring จากเรา นี่ก็คือโมเดลของทาง ChillPay ME ที่เราเอา Data ที่มีมา Utilizeและทำให้เกิดประโยชน์มากขึ้น.”
บทความนี้เป็น Advertorial
Sign in to read unlimited free articles