BANPU ขยายฐานธุรกิจพลังงานใน US ครอบคลุมต้นน้ำยันปลายน้ำ รองรับโอกาสสร้างผลตอบแทนมั่นคง | Techsauce

BANPU ขยายฐานธุรกิจพลังงานใน US ครอบคลุมต้นน้ำยันปลายน้ำ รองรับโอกาสสร้างผลตอบแทนมั่นคง

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ ตอกย้ำทิศทางการสร้างการเติบโตของห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจพลังงานในสหรัฐอเมริกาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานที่สะอาดขึ้นและนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น โดยรุดขยายธุรกิจในปี 2566 - 2568

ตามแผนการจัดสรรงบลงทุน (CAPEX) ในสัดส่วนร้อยละ 40 เพื่อการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับก๊าซธรรมชาติ (Gas-based business) และอีกร้อยละ 60 ในธุรกิจพลังงานหมุนเวียน เทคโนโลยีพลังงาน และธุรกิจอื่นๆ ภายใต้   กลยุทธ์ Greener & Smarter และจุดยืนในการส่งมอบอนาคตพลังงานเพื่อความยั่งยืน (Smarter Energy for Sustainability) 

นางสมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เผยว่า “บ้านปูขยายการเติบโตของธุรกิจในสหรัฐฯ ให้ครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำมาอย่างต่อเนื่อง โดยเล็งเห็นว่าสหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งในประเทศยุทธศาสตร์ทางธุรกิจที่สำคัญของบ้านปู ผนวกกับทิศทางอุตสาหกรรมพลังงานในสหรัฐอเมริกาที่ยังคงมีแนวโน้มเป็นบวกที่เอื้อให้บ้านปูขยายการเติบโตในธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ธุรกิจโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ที่อยู่ในตลาดไฟฟ้าเสรี Electric Reliability Council of Texas หรือ ERCOT ซึ่งเป็น 1 ใน 7 ตลาดไฟฟ้าที่มีการเติบโตสูงสุดของสหรัฐฯ ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ยังต่อยอดสู่ธุรกิจพลังงานที่เกี่ยวเนื่องในตลาดไฟฟ้าเสรี ทั้งธุรกิจซื้อขายไฟ (Power Trading) และธุรกิจค้าปลีกไฟฟ้า (Power Retail) เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าโดยตรงให้แก่ผู้บริโภครายย่อย ทั้งหมดนี้ล้วนตอบโจทย์การทำธุรกิจพลังงานครบวงจรของบ้านปู และเสริมสร้างระบบนิเวศที่แข็งแกร่งในประเทศที่บริษัทฯ เข้าไปลงทุน โดยให้ความสำคัญกับการสร้างรายได้และกระแสเงินสดได้อย่างต่อเนื่อง” 

ล่าสุดจากความสำเร็จในการลงทุนเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2566 ในโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วอย่าง Temple II ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (High Efficiency, Low Emissions: HELE) ที่มีกำลังผลิต 755 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ในรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา อยู่ติดกับโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ Temple I ที่มีอยู่เดิม ส่งผลให้การดำเนินการและบริหารจัดการโรงไฟฟ้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น เอื้อต่อการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้ได้ประโยชน์สูงสุด (Economies of Scale) อีกทั้งยังพร้อมผสานพลังและสร้างคุณค่าร่วมกันกับแหล่งก๊าซธรรมชาติที่มีอยู่เดิมของบ้านปู ไม่ว่าจะเป็นแหล่งก๊าซบาร์เนตต์ (Barnett) ในรัฐเท็กซัส ที่บ้านปูบริหารจัดการระบบกลางน้ำซึ่งเป็นท่อขนส่งก๊าซความยาวมากกว่า 778 ไมล์ และระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องเอง นอกจากนั้น บ้านปูยังมีแหล่งก๊าซมาร์เซลลัส (Marcellus) ในรัฐเพนซิลเวเนีย ซึ่งรวมทั้งสองแหล่งแล้วมีกำลังผลิตถึง 900 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และมีปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองที่พิสูจน์แล้ว (1P) ในสหรัฐฯ 5.8 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตเทียบเท่า โดยในปัจจุบันบ้านปูยังคงสถานะเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุด 20 อันดับแรกของสหรัฐฯ และในปีที่ผ่านมา ธุรกิจก๊าซธรรมชาติก็สามารถสร้าง EBITDA ให้บ้านปูถึง 1,052 ล้านเหรียญสหรัฐ ยิ่งไปกว่านั้น บ้านปูยังสนับสนุนการยกระดับความยั่งยืนในกระบวนการผลิต ตอกย้ำการดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG ด้วยการพัฒนาโครงการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture, Utilization and Storage: CCUS) ในแหล่งก๊าซธรรมชาติบาร์เนตต์ ที่สอดรับนโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะพร้อมเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ภายในปีนี้ 

ในครึ่งปีหลังคาดการณ์ว่าผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ยังคงแข็งแกร่ง จากราคาก๊าซธรรมชาติและปริมาณความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามรายงานของ EIA[2] ในขณะที่กลุ่มธุรกิจผลิตพลังงานจะสามารถรับรู้รายได้เพิ่มเติมจากโรงไฟฟ้า Temple II ที่เข้าไปลงทุนได้ทันที 

“บ้านปูเชื่อมั่นว่าทิศทางการลงทุนและดำเนินธุรกิจในประเทศยุทธศาสตร์ ทั้งในสหรัฐอเมริกาและประเทศต่างๆ ในพอร์ตธุรกิจ ที่มุ่งสร้างความแข็งแกร่งของระบบนิเวศธุรกิจ เชื่อมโยงตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ จะสามารถสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนให้กับผู้ถือหุ้นและนักลงทุนได้ตามที่บริษัทฯ มุ่งหวัง” นางสมฤดี กล่าวทิ้งท้าย  

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับธุรกิจของบ้านปูได้ที่ https://www.banpu.com/ และ เฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/Banpuofficialth/     


Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

AirAsia MOVE ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ สู่ผู้นำแพลตฟอร์มเดินทาง OTA แบบคุ้มครบจบในแอปเดียว พร้อมแพ็กเกจบินทั่วอาเซียนแบบไม่จำกัด

airasia Superapp ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ในชื่อ AirAsia MOVE พร้อมปรับโฉมแอปพลิเคชันใหม่ และเสริมกลยุทธ์ด้านธุรกิจเพื่อผลักดันให้ AirAsia Move เป็นผู้นำด้านแพลตฟอร์ม OTA (ตัวแทนด้านก...

Responsive image

คนไทยไปญี่ปุ่น เตรียมสแกนจ่ายได้ ผ่านระบบ QR Code คาดเริ่มเมษาปีหน้า

สำนักข่าว Nikkei Asia รายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นได้เริ่มพูดคุยกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อเปิดใช้งานบริการชำระเงินผ่าน QR Code ร่วมกัน ช่วยให้นักท่องเที่ยวใช้จ่ายสะดวกสบาย ไ...

Responsive image

Jitta ก้าวสู่ปีที่ 12 เดินหน้าแก้วิกฤตการเงิน หนุนคนไทยออมและลงทุนอัตโนมัติ

Jitta เข้าสู่ปีที่ 12 เติบโตอย่างแข็งแกร่งบนเป้าหมายที่จะสร้างนวัตกรรมทางการเงิน เพื่อช่วยให้คนไทยเข้าถึงการลงทุนที่ง่ายและสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า...