ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 องค์กรต่างก็เร่งปรับตัวและมุ่งสู่ digital transformation โดยทาง AWS (Amazon Web Services) ระบุว่า การนำระบบคลาวด์มาใช้ในองค์กรและอุตสาหกรรม จะเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าธุรกิจจะเป็นรูปแบบใด ขนาดไหนก็ตาม และการใช้ Data จะมีความสำคัญยิ่งกว่าที่ผ่านมา
ธนาคารโลกคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยจะเผชิญกับการเติบโตที่ช้าลงในปี 2566 เนื่องจากภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจทั่วโลก และตามรายงานของบริษัทวิจัย Gartner แม้จะเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ แต่ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการคลาวด์สาธารณะของประเทศไทย คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 31.8% ในปี 2566 ซึ่งสูงกว่าอัตราการเติบโตทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 20.7%
ในด้านค่าใช้จ่ายสำหรับบริการคลาวด์สาธารณะโดยผู้ใช้ในประเทศไทย ธนาคารโลกคาดว่า จะสูงถึง 54.4 ล้านบาทในปี 2566 โดยเพิ่มขึ้นจาก 41.3 ล้านบาทในปี 2565
ในวันแถลงข่าวทิศทางบริษัท คุณวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ Country Manager, AWS ประจำประเทศไทย กล่าวถึงเทรนด์ 5 ข้อจากงาน AWS re:Invent 2022 ดังนี้
เช่น การใช้คลาวด์ในเกม, การใช้คลาวด์ใน Healthcare เช่น OMIC ที่ลงลึกถึงการลำดับจีโนม รวมถึงการใช้คลาวด์ใน Supply Chain ซึ่งได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างจาก Trade War และ Tech War
เทรนด์ข้อนี้ต้องจัดเก็บข้อมูลมหาศาลมากด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Digital Twins สำหรับการสร้างตึก การประมวลผลรถในสนามแข่ง F1 ที่ต้องมีข้อมูลมากถึง 150 TB จึงจะประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลดความเสี่ยงให้ผู้ขับขี่
ที่สำคัญ AWS มุ่งสู่ Zero-ETL (Extract Transform Load) หรือ การจัดการและใช้พลังงานลดลงจนเป็นศูนย์ สอดคล้องกับการร่วมลดการปล่อยคาร์บอน การสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ในระดับโลก
เช่น การเข้าถึงการใช้งาน ผู้เข้าใช้งานหรือผู้ที่ต้องการข้อมูลสามารถ Generate ข้อมูลขึ้นมาดูได้ตามความต้องการ หรือองค์กรสามารถกำหนดได้ว่าแต่ละคนเข้าถึงข้อมูลได้ไม่เท่ากัน ตามความจำเป็นหรือตามบทบาทหน้าที่ เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลองค์กร หรือแม้แต่ลูกค้าก็สามารถขอข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ง่ายและปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยองค์กรไม่จำเป็นต้องไปควานหาข้อมูลเพื่อให้แต่ละฝ่ายแบบเดิมอีก จากการใช้โซลูชันใหม่ๆ เช่น Data Zone, Clean Rooms, Security Lake ของ AWS
เนื่องจากการใช้ชิปในตลาด ณ ปัจจุบัน ไม่สามารถจัดการต้นทุนและความร้อนที่เกิดขึ้นได้ทั้งกระบวนการ องค์กรจึงเริ่มสร้างชิปเอง เช่น AWS และลดการลงทุนด้านคลาวด์ลง ช่วยให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้
งาน AWS re:Invent 2022 ที่จัดขึ้น ณ เมืองลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา Adam Selipsky ซีอีโอ AWS ย้ำว่า 'ข้อมูล' เป็นรากฐานที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของทุกองค์กร ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ปริมาณข้อมูลจะมีมากขึ้นกว่าสองเท่าเมื่อเทียบกับช่วงเริ่มต้นของยุคดิจิทัล ด้วยเหตุนี้ การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่และการเติบโตของข้อมูลจึงเป็นทั้งความท้าทายและโอกาสสำหรับทุกองค์กร และเพื่อก้าวข้ามความท้าทายทั้งหลาย AWS จึงสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อช่วยให้การจัดการข้อมูลทำได้อย่างราบลื่นและเรียลไทม์
ถ้าเทียบกับระดับโลก การใช้งานคลาวด์ในไทยมีการเติบโตมากกว่าค่าเฉลี่ยของระดับโลก แสดงให้เห็นว่า องค์กรไทยเปิดรับการใช้คลาวด์มากขึ้น
คุณวัตสันกล่าวถึงการใช้คลาวด์ที่เพิ่มขึ้น สะท้อนการเปิดรับเทคโนโลยีของคนไทย และระบุว่า การใช้ข้อมูล 3 ด้านต่อไปนี้ จะสำคัญอย่างยิ่งในยุคหลังโควิด นั่นคือ
เนื่องจากจะมีปริมาณข้อมูลมากถึง 2 เท่าของข้อมูลที่เคยมีมาทั้งหมดภายใน 5 ปีข้างหน้า ผลิตภัณฑ์ที่ AWS สร้างขึ้นเพื่อตอบโจทย์การดำเนินงานด้านนี้ เช่น
เมื่อมีข้อมูลมากขึ้น การประมวลผลข้อมูลด้วยวิธีเดิมจะไม่สามารถทำได้ นอกจากนี้ ระบบยังต้องการความอัจฉริยะมากกว่าเดิมเพื่อใช้คาดการณ์อนาคต เทคโนโลยี AI/ML (Artificial Intelligence & Machine Learning) จึงจำเป็นและจะเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น
เมื่อมีข้อมูลมากขึ้น ระบบต้องประมวลผลเพิ่มขึ้น ก็ต้องการการจัดการด้านธรรมาภิบาลและความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้นไปด้วย สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ ได้แก่
สำหรับทิศทางธุรกิจของ AWS ในประเทศไทยในปีนี้ จะมุ่งเน้นไปที่ 3 กลุ่ม ได้แก่ ธุรกิจการเงิน ธุรกิจค้าปลีก และ อุตสาหกรรมการผลิต ทั้งนี้คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตสูงในด้านการใช้คลาวด์ และ AWS เองก็กำลังเพิ่มจำนวน AWS Partner และทีมงานในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง
ในปี 2564 AWS แต่งตั้ง บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น ประเทศไทย จำกัด มหาชน (SiS) ดิสทริบิวเตอร์สินค้าไอทีชั้นนำในประเทศไทย ซึ่งมีลูกค้าเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าไอทีมากกว่า 7,000 รายทั่วประเทศ ให้เป็นดิสทริบิวเตอร์อย่างเป็นทางการ โดย SiS จะเป็นเป็นดิสทริบิวเตอร์ของ AWS รายแรกในประเทศไทยสำหรับกลุ่มผู้ใช้บริการที่เป็นภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมการเติบโตด้านดิจิทัลโดยการขยายฐานคู่ค้าและตัวแทนจำหน่าย AWS ในประเทศไทย
ในปี 2566 นี้ SiS จะสนับสนุน reseller ในการสร้าง Solution Packages สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (small to medium-sized business: SMB) รวมถึงเว็บไซต์ การสำรองข้อมูล การย้ายข้อมูล และ VDI และสนับสนุน reseller ในการขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อการเข้าสู่ตลาดผ่านการสัมมนาผ่านเว็บการมีส่วนร่วมกับลูกค้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน และเพิ่มลูกค้าใหม่ในกลุ่ม SMB
เมื่อไม่นานมานี้ AWS ได้ประกาศแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานใหม่ในประเทศไทย AWS Asia Pacific (Bangkok) Region ด้วยเงินลงทุนมากกว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (หรือ 1.9 แสนล้านบาท) ในระยะเวลา 15 ปี ซึ่งถือเป็นการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดของ AWS ในประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน
ในปี 2565 AWS ประกาศแผนเตรียมเพิ่มบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์มายังประเทศไทยด้วย AWS Local Zone แห่งใหม่ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเปิดตัว Local Zones ใหม่ 10 แห่งทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (APJ) เพื่อทำให้ลูกค้าของ AWS ในประเทศไทยสามารถมอบประสิทธิภาพความเร็วในหลักหน่วยของมิลลิวินาที (single-digit millisecond) แก่ผู้ใช้ปลายทางของพวกเขาได้
การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว มีส่วนทำให้เกิดช่องว่างด้านทักษะดิจิทัลที่กว้างขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับความท้าทายในปี 2566 ทั้งภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และสถาบันการศึกษาจำเป็นต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้การฝึกอบรมทักษะมีความสำคัญมากกว่าที่เคย ภาครัฐและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วอาเซียนกำลังเผชิญกับการขาดแคลนผู้มีความสามารถและทักษะด้านดิจิทัล ซึ่ง AWS กำลังแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านดิจิทัล โดยจัดฝึกอบรมบุคลากรมาแล้วกว่า 700,000 คนทั่วอาเซียนด้วยทักษะด้านระบบคลาวด์ตั้งแต่ปี 2560
Sign in to read unlimited free articles