AIS โชว์ศักยภาพ 5G เร็ว แรง! บังคับรถยนต์ไร้คนขับข้ามภูมิภาค กรุงเทพฯ - หาดใหญ่ | Techsauce

AIS โชว์ศักยภาพ 5G เร็ว แรง! บังคับรถยนต์ไร้คนขับข้ามภูมิภาค กรุงเทพฯ - หาดใหญ่

นับเป็นการตอกย้ำความผู้นำอันดับ 1 ของ AIS ด้านนวัตกรรมเครือข่ายและเทคโนโลยีตัวจริง โดยล่าสุดทางเอไอเอส ร่วมกับภาครัฐ และภาคการศึกษา ประกอบด้วย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, กสทช. และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ลงพื้นที่ภาคใต้ทำการเปิดตัวและสาธิตนวัตกรรมต้นแบบที่ช่วยสอดส่องดูแลความปลอดภัยจากเทคโนโลยี 5G บนสภาพแวดล้อมจริง บนคลื่นความถี่ 28 GHz ภายใต้การสนับสนุนของ กสทช. เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และยกระดับการใช้ชีวิตของชุมชนและประชาชนไปอีกขั้น

คุณปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าทั่วไป เอไอเอส ยกตัวอย่างการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีระดับโลกมาให้บริการ อาทิ

  • เครือข่าย AIS NEXT G เร็ว แรงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • เครือข่าย AIS 4.5G และ AIS 4G ADVANCED ที่รองรับเทคโนโลยีขั้นสูง การันตีด้วยรางวัลเครือข่ายมือถือที่เร็วที่สุดในไทย 4 ปีซ้อนจาก Ookla Speedtest
  • การเปิดพื้นที่ให้นิสิต นักศึกษา นักวิจัย และประชาชนได้ร่วมศึกษา ทดลอง ทดสอบการใช้งาน 5G ในหลากหลายมิติอย่างต่อเนื่อง
  • พร้อมเปิดพื้นที่ AIS D.C. ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรียม เป็นพื้นที่จัดแสดงเทคโนโลยี 5G เพื่อให้ผู้สนใจและประชาชนทั่วไป ได้สัมผัสเทคโนโลยีล้ำสมัย ช่วยสร้างเสริมองค์ความรู้ ขยายขีดความสามารถ และผลักดันให้ทุกภาคส่วนใน Ecosystem พร้อมรับการใช้เทคโนโลยี 5G ในอนาคต
  • โครงการ “อุ่นใจ Cyber สร้างทักษะและการตระหนักรู้เกี่ยวกับดิจิทัลควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะการใช้ดิจิทัล (DQ) อย่างรู้เท่าทัน และป้องกันความเสี่ยงจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต

Smart City Model in Campus ระบบต้นแบบเมืองอัจฉริยะ

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวถึงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล สำนักวิจัยและพัฒนา ในการนำเทคโนโลยี Internet of Things (IoT), Big Data และระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ออกแบบระบบต้นแบบเมืองอัจฉริยะ อันเป็นโครงการที่ได้รับสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล ทำการพัฒนาและปรับปรุงเมือง อาทิ ระบบ Smart street light ระบบไฟส่องสว่างบนถนน, ติดตั้งระบบสื่อสารข้อมูลดิจิทัลผ่านเครือข่ายคลาวน์และป้ายสื่อสารแบบดิจิทัล อีกทั้งการพัฒนารถ EV ซึ่งเป็นต้นแบบของยานยนต์ไร้คนขับและการควบคุมจากระยะไกล ผ่านรูปแบบของ V2X โดยทำงานวิจัยและพัฒนาอย่างใกล้ชิดในการศึกษา ทดลอง ทดสอบ  เทคโนโลยี 5G ร่วมกับ ภาคเอกชน และทางเอไอเอส ในมิติต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

ส่งเสริมการพัฒนาดิจิทัลแก่คนรุ่นใหม่

ปฏิเสธไม่ได้ว่า digital disruption ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันของเราตลอดเวลา ด้านคุณมหัณนพ อภินันทนพงศ์ หัวหน้าส่วนงานปฏิบัติการภูมิภาค ภาคใต้ เอไอเอส กล่าวถึง ตัวอย่างที่ทางเอไอเอสได้นำร่องสร้างโครงการนวัตกรรมร่วมกับทางภาคใต้ อย่างโปรแกรมวัดความฉลาดด้านดิจิทัล (DQ) บรรจุในสถาบันการศึกษา การสร้างแพลตฟอร์ม iFarm ฟาร์มอัจฉริยะ Intelligent Farm พร้อมเปิดศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรฟาร์มสุข ที่ฟาร์มไพรวัลย์ จังหวัดสงขลา อีกทั้งการนำเทคโนโลยี IoT ซึ่งจะช่วยเกษตรกรในการทำงานเพื่อให้ผลผลิตออกมาให้ได้มาตรฐานที่อุตสาหกรรมการเกษตรต้องการ ทั้งการวัดอุณหภูมิ ค่า pH การให้ความชื้น รวมไปถึงการควบคุมการใส่ปุ๋ย การร่วมมือสร้างแพลตฟอร์ม IoT ในโครงการ AIS School Van Clever รถตู้รับส่งนักเรียน ที่ผู้ปกครองสามารถสอดส่องดูแลบุตรหลานได้แบบเรียลไทม์ รวมถึงการเปิดให้บริการ AIS DigitALL Shop ช้อปดิจิทัลแห่งแรกของเมืองไทยที่ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบศูนย์การให้บริการโดยมีพนักงานเพียงสองท่าน มีหน้าที่เพียงคอยแก้ไขปัญหาของระบบเท่านั้น  และท้ายสุด ยังมีการร่วมพัฒนาสถาบันวิจัยและพัฒนาด้านดิจิทัล ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยจะมีการพัฒนาให้กลายเป็นศูนย์กลางของดิจิทัลที่ภาคใต้ โดยจะเปิดให้บริการราวช่วงปลายปี 2562

โดยพื้นที่ภาคใต้นับว่าเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ รวมถึงมีความพร้อมด้านบุคลากรในการพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรม ทางเอไอเอสได้มีการนำ Digital Infrastructure เข้ามาเสริมแกร่งให้กับคนในพื้นที่ และที่เป็นไฮไลท์ของงานในครั้งนี้ ทางเอไอเอสได้ แสดงศักยภาพของเทคโนโลยี 5G ในสภาพแวดล้อมจริง โดยแสดงสาธิตการควบคุมรถไร้คนขับข้ามภูมิภาค จาก  จ.กรุงเทพฯ ถึง จ.สงขลา บนคลื่นความถี่ 28 GHz ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการทดสอบ 5G ในภาคใต้ โดยมีการแสดง 5G Use Case ที่น่าสนใจ ดังนี้

การบังคับรถไร้คนขับข้ามภูมิภาค ผ่าน 5G 

การสาธิตการบังคับรถยนต์ข้ามภูมิภาค ระหว่างกรุงเทพฯ และสงขลาครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นระยะทางถึง 950 กิโลเมตร โดยการสั่งงานระยะไกลแบบเรียลไทม์ บนเครือข่าย 5G ที่มีการตอบสนองทันทีทันใด ไร้รอยต่อ ส่งผลให้รถสามารถเคลื่อนที่ไปยังเป้าหมายและหยุดได้แบบเรียลไทม์และปลอดภัย โดยข้อมูลต่างๆ จะถูกส่งต่อผ่านระบบ Video Analytics และสามารถ Streaming Video ที่มีความละเอียดสูง ผ่านเครือข่าย 5G กลับมาหาผู้ควบคุมรถได้ทันที ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการนำไปประยุกต์ใช้ในหลายๆ ส่วนของสังคมในอนาคต เช่น การสัญจรโดยสาร, การขนส่งสินค้าในภาคอุตสาหกรรม และโลจิสติกส์ ซึ่งวันนั้นได้รับเกียรติจาก ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการเป็นผู้ลงมือขับด้วยตัวเองจากกรุงเทพฯ

การสื่อสารระหว่างรถต่อรถ ผ่าน 5G

เป็นการสาธิตนวัตกรรมการสื่อสารระหว่างรถต่อรถ (Vehicle to Vehicle หรือ นวัตกรรม V2V) ผ่านเครือข่าย 5G ที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลความเร็วสูง มีการตอบสนองที่รวดเร็วและมีความเสถียรของระบบสูง ทำให้รถยนต์ 2 คัน สามารถสื่อสารข้อมูลการขับขี่ ข้อมูลความปลอดภัย และข้อมูลการจราจรไปมาระหว่างกันเองได้อย่างแม่นยำและปลอดภัย โดยรถจะทำการเบรคอัตโนมัติเมื่อเจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ซึ่งจะช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการจราจรในเส้นทาง

รถตรวจการณ์และรักษาความปลอดภัย

การแสดงนวัตกรรม Mobile Surveillance หรือ Object Detection โดยจะเป็นการส่งสัญญาณจาก Video Analytics และ AI ส่งผ่านเครือข่าย 5G ไปยังห้องควบคุมกลาง ทำให้สามารถทำการวิเคราะห์ภาพจำแนกวัตถุรอบคันรถ และตรวจจับลักษณะของรถ เช่น ป้ายทะเบียน, รุ่นของรถ, ยี่ห้อ, สีและลักษณะของรถ และการแจ้งเตือนความเสี่ยงในพื้นที่ต่างๆ ได้แบบเรียลไทม์และแม่นยำ โดยหากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องแจ้งข้อมูลรถต้องสงสัยเข้ามาในพื้นที่ ระบบก็จะสามารถแกะรอยดังกล่าวและแจ้งเตือนรถคันดังกล่าวทันทีที่ขับเข้ามาในพื้นที่ ซึ่งนี่จะเป็นการจะช่วยเฝ้าระวังในพื้นที่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

การทดสอบศักยภาพเทคโนโลยี 5G ของ AIS รายแรกในระดับภูมิภาคครั้งนี้ นับเป็นการตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมเครือข่ายและเทคโนโลยีตัวจริง โดยนอกจากจะเป็นการโชว์ความพร้อมด้านเทคโนโลยีแล้ว ยังมีการนำเสนอการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่หรือสภาพแวดล้อม ภายใต้ระบบต้นแบบเมืองอัจฉริยะ “Smart City”  ทั้งระบบ Smart Mobility การจัดการระบบเดินทางสัญจรอย่างชาญฉลาด, Smart street light ในการใช้ระบบไฟส่องสว่างถนน, การติดตั้งระบบสื่อสารข้อมูลดิจิทัลผ่านเครือข่ายคลาวน์และป้ายสื่อสารแบบดิจิทัล รวมถึงการพัฒนารถ EV อันเป็นต้นแบบของยานยนต์ไร้คนขับและการควบคุมรถระยะไกล เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องใน Ecosystem เห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากเทคโนโลยี 5G ในมิติต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ยังเห็นได้ว่าเอไอเอสไม่เพียงแต่มุ่งมั่นพัฒนาเครือข่ายและบริการดิจิทัลอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัล ด้วยการลงมาศึกษา ทดลอง ทดสอบ เทคโนโลยี 5G ร่วมกับภาครัฐและภาคการศึกษาในแต่ละภูมิภาคมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อบ่มเพาะองค์ความรู้ และเสริมขีดความสามารถของบุคลากรด้านดิจิทัลไปด้วยกัน เพื่อที่จะช่วยกันสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของภูมิภาค ตลอดจนช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และสร้างความแข็งแกร่งให้ประเทศเติบโตอย่างยั่งยืน

บทความนี้เป็น Advertorial

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

VC เผยวิธีมองสตาร์ทอัพให้ขาด ก่อน ORZON Ventures เข้าไปลงทุน

คุยกับ 'คุณณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล ผู้อำนวยการการลงทุน ORZON Ventures' เรื่องการทำงานระหว่าง OR กับ 500 TukTuks, เกณฑ์การพิจารณาสตาร์ทอัพที่น่าลงทุน, เหตุที่บางดีลเกิด/ไม่เกิด รวม...

Responsive image

ติววิชา Sustainability ก่อนมุ่งสู่ ‘ESG Report’ คอนเทนต์ที่สตาร์ทอัพควรอ่าน จากงาน ESG ESSENTIAL WORKSHOP

Key Messages เกี่ยวกับ Sustainability & ESG จากงานสัมมนา ESG ESSENTIAL WORKSHOP: Navigating Sustainability for Post-Revenue Startups ในโครงการ KATALYST by KBank โดย Beacon VC...

Responsive image

ปรับองค์กรสู่ Digital Future เริ่มที่ ‘คน’ หรือ ‘เทคโนโลยี’ ฟัง NTT DATA ผู้เชี่ยวชาญ Digital Transformation

บทความนี้ Techsauce จะพาไปหาคำตอบว่า…ทำไมทรัพยากรคนถึงมีผลต่อ Digital Transformation และองค์กรควรรับมืออย่างไร?...