6 ปัจจัยเริ่มต้น Startup ที่ทำให้มีโอกาสรุ่งหรือร่วง | Techsauce

6 ปัจจัยเริ่มต้น Startup ที่ทำให้มีโอกาสรุ่งหรือร่วง

กรุงศรี ฟินโนเวต บริษัทในเครือธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด ได้จัดงาน Krungsri Uni Startup KMITL 2018 งาน Hackathon สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งนอกจากกิจกรรม Hackathon หลักแล้ว ทางโครงการยังได้เชิญวิทยากรด้านต่างๆ มาแชร์ความรู้ให้กับน้องๆ ที่เข้าร่วมโครงการเป็นพิเศษอีกด้วย ซึ่งผู้ที่มาให้ความรู้เกี่ยวกับ Startup 101 และมาช่วย Conduct workshop ด้วยนั้น ก็คือ คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ Co-Founder และ CEO ของ Techsauce Media นั่นเอง และนี่คือ 6 Key Takeaway สำคัญสำหรับคนกำลังเริ่มต้นทำธุรกิจ Startup ควรรู้

6 ปัจจัยของการเริ่มต้นที่อาจทำให้ Startup ไปไม่ถึงฝัน

เราลองมาดู Checklist กันว่าธุรกิจ Startup ของคุณกำลังประสบปัญหาเพราะไม่ก้าวผ่านปัจจัยเหล่านี้หรือเปล่า

  1. แก้ปัญหาได้จริงไหม หรือดีกว่าวิธีที่มีอยู่เดิมในตลาด : โซลูชั่นของเรากำลังเป็นยารักษาโรค ของมันต้องมี” หรือ เป็นอาหารเสริม ที่มี Product ของเราอยู่หรือไม่ต้องมีอยู่ก็ได้ (Nice to Have) หรือถ้าเป็นปัญหาที่มีคนแก้อยู่แล้ว ก็ต้องสามารถแก้ได้ดีกว่า และดีกว่าเดิม 10เท่า! ของประสบการณ์ที่ผู้ใช้ปัจจุบันเผชิญอยู่ อย่างเช่น ระบบ Taxi ที่เราเห็นคนเข้ามาแก้ปัญหาอยู่อย่างในปัจจุบัน
  2. ถูกที่ถูกเวลา : เราไม่ได้พูดถึงเรื่องโชคแต่อย่างใด แต่เวลาที่ Startup พัฒนา Product นั้น คุณต้องดูรอบตัวด้วยว่าตลาดมีความพร้อมหรือไม่ Product ของคุณสอดคล้องกับ Technology Adoption ของผู้ใช้ไหม หรือคุณกำลังไปเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคมากเกินไป ลองนึกภาพว่าถ้า YouTube มาในช่วงเมื่อ 20  ก่อน ตอนที่โครงสร้างอินเทอร์เน็ตยังไม่ค่อยพร้อม อาจจะเป็นหนังคนละม้วนกับวันนี้เลยทีเดียว
  3. ทีมงานที่เข้าใจธุรกิจนั้นๆ : แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ Expertise : ความรู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในธุรกิจนั้นๆ หรือเทคโนโลยีนั้นๆ ในเชิงลึกย่อมได้เปรียบ Team : ทีมงานที่มีประสบการณ์และทักษะในการดำเนินธุรกิจแบบ Startup และ balance ระหว่าง ธุรกิจ เทคโนโลยี ทักษะการออกแบบ และการทำให้ไอเดียดังกล่าวเป็นจริงได้ เป็นเรื่องสำคัญ คุณอาจเคยได้ยินว่านักลงทุนในช่วงเริ่มต้น Startup ที่เค้าลงทุนนั้นจริงๆ แล้วเค้าเลือกลงทุนในทีมงานไม่ใช่ไอเดียเสมอไป เพราะทีมงานที่ดีจะช่วยผลักดันให้ธุรกิจนั้นเติบโตไปได้ในทึ่สุด
  4. จับตลาดที่ใหญ่พอไหม : เพราะ Startup คือธุรกิจที่เน้นการเติบโตอย่างรวดเร็ว การแก้ปัญหาเพื่อตลาดขนาดใหญ่ หมายถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นย่อมรุนแรงกว่า และสร้างโอกาสเติบโตได้รวดเร็วกว่านั่นเอง
  5. Unfair Advantage : ลองถามคำถามเหล่านี้ในใจดู นอกเหนือจากความเชี่ยวชาญแล้ว มีอะไรที่ทำให้ธุรกิจของคุณพิเศษกว่าคนอื่น? มี Connection ที่จะพาร์ทเนอร์กับองค์กรใหญ่เพื่อขยายฐานลูกค้า หรือรู้จักกับนักลงทุนที่จะกลายมาเป็น Strategic Investment ไหม เป็นต้น ถ้ายังเราจะทำอย่างไรได้บ้าง เราควรหาที่ปรึกษา หรือเข้าร่วมโครงการใดที่จะส่งเราไปยังจุดนั้น
  6. มีโครงสร้างและองค์ประกอบที่แข็งแกร่ง ลอกเลียนยาก : ลองถามคำถามเหล่านี้ในใจดูอีกเช่นกัน ทำอย่างไรว่าไอเดียของเรา ถ้าเกิดมี Tech Giant เข้ามาทำบ้าง จะไม่ได้กลายเป็นฟีเจอร์หนึ่งของพวกเขา หรือมีคู่แข่งที่สามารถทำเหมือนกันได้ในระยะเวลาไม่กี่เดือน โอกาสหลีกเลี่ยงการทำเหมือนกันคงเป็นไปไม่ได้ และมันจะย้อนกลับไปที่ว่า คุณจะ move fast ก้าวไปข้างหน้าได้เร็วพอ ครองตลาดจนไม่มีคนตามทันไหมมากกว่า

เมื่อคุณกำลังเริ่มต้นทำ Startup ลองพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ อะไรที่คุณยังขาด ยังต้องปรับปรุงเพิ่มเติมเพื่อให้ถึงเป้าหมายในแต่ละข้อนั้นๆ ต้องทำอย่างไร หรือต้อง Pivot หันมามองหาไอเดียใหม่หรือไม่

 

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

VC เผยวิธีมองสตาร์ทอัพให้ขาด ก่อน ORZON Ventures เข้าไปลงทุน

คุยกับ 'คุณณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล ผู้อำนวยการการลงทุน ORZON Ventures' เรื่องการทำงานระหว่าง OR กับ 500 TukTuks, เกณฑ์การพิจารณาสตาร์ทอัพที่น่าลงทุน, เหตุที่บางดีลเกิด/ไม่เกิด รวม...

Responsive image

ติววิชา Sustainability ก่อนมุ่งสู่ ‘ESG Report’ คอนเทนต์ที่สตาร์ทอัพควรอ่าน จากงาน ESG ESSENTIAL WORKSHOP

Key Messages เกี่ยวกับ Sustainability & ESG จากงานสัมมนา ESG ESSENTIAL WORKSHOP: Navigating Sustainability for Post-Revenue Startups ในโครงการ KATALYST by KBank โดย Beacon VC...

Responsive image

ปรับองค์กรสู่ Digital Future เริ่มที่ ‘คน’ หรือ ‘เทคโนโลยี’ ฟัง NTT DATA ผู้เชี่ยวชาญ Digital Transformation

บทความนี้ Techsauce จะพาไปหาคำตอบว่า…ทำไมทรัพยากรคนถึงมีผลต่อ Digital Transformation และองค์กรควรรับมืออย่างไร?...