ในฐานะผู้นำเคยสงสัยไหมว่า ทำไมลูกน้องเข้ามาทำงานไม่นานก็ลาออกไป คนในทีมเปลี่ยนหน้าเป็นว่าเล่น คนที่ยังอยู่ก็ทำงานไม่เคยถูกใจ ปัญหาเหล่านี้อาจไม่ได้เกิดจากลูกน้องเพียงอย่างเดียว แต่อาจเกิดจากหัวหน้าไม่สามารถ ‘นำทีม’ ให้บรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการได้
ในบทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักว่าหัวหน้าแบบไหนที่ลูกน้องไม่ต้องการ พร้อมกับช่วยหัวหน้ามือใหม่และหัวหน้ารุ่นใหญ่ปรับตัวให้ได้ใจลูกน้องด้วยหลัก 4ม: มั่นใจ ไม่ทอดทิ้ง มุ่งมั่น และไม่เกรงกลัว แนวทางพัฒนาหัวหน้าที่ดี
ความจริงแล้วการขึ้นมาเป็นหัวหน้านั้นไม่ใช่เรื่องง่าย มีพนักงานเก่ง ๆ มากมายที่หลังจากเลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าก็ทำงานได้ไม่ดีเหมือนเดิม ซึ่งหนึ่งในสาเหตุสำคัญ คือ การเป็นหัวหน้าที่ดีต้องใช้ทักษะที่แตกต่างจากการเป็นพนักงานที่ดี
สาเหตุดังกล่าวทำให้พนักงานที่เลื่อนขั้นขึ้นมาเพราะความเก่ง ต้องกลายเป็นหัวหน้าที่นำทีมไม่เป็นเพราะขาดทักษะด้านการสื่อสารและการจัดการทีม จนในบางครั้งกลายเป็นความ Toxic ที่ลูกทีมรู้สึกขยาด สำรวจจาก GoodHire บริษัทชั้นนำด้านการจ้างงานและคัดกรองภูมิหลังพบว่า พนักงานถึง 82% พร้อมลาออกหากต้องทำงานกับหัวหน้าที่ทำงานไม่เป็น
มันจึงสำคัญมากที่ผู้นำทั้งหลายควรรู้จักกับ ‘ประเภทของหัวหน้าที่ลูกน้องไม่ต้องการ’ อย่างน้อยก็เพื่อย้ำเตือนตัวเองว่าเราไม่ควรเป็นแบบนี้ โดยสามารถแยกได้ทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้
พนักงานที่เก่งและหัวหน้าที่เก่งย่อมมีจุดยืนที่ต่างกัน ทำให้การวางตัวและการแสดงออกจำเป็นต้องแตกต่างกันตามไปด้วย ในฐานะหัวหน้างานยิ่งแสดงออกถึงความไม่มั่นใจ ยิ่งส่งผลเสียต่อการควบคุมดูแลทีม เพราะความเชื่อมั่นในตัวเองนำมาสู่ทักษะสำคัญอย่าง การกล้าตัดสินใจ
เรื่องบางเรื่องลูกทีมไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง หากหัวหน้าก็ไม่กล้าที่จะตัดสินและโยนปัญหากลับมาให้ลูกทีมคิดต่อ ก็อาจก่อให้เกิดข้อผิดพลาด หรือบริษัทพลาดโอกาสที่สำคัญไป และที่แย่ไปกว่านั้น คือ ขาดความไว้วางใจและความเคารพจากคนในทีม
แม้แต่หัวหน้าก็มีโอกาสคิดผิด เป็นประโยคที่ผู้นำทุกคนควรท่องให้ขึ้นใจ เพราะหนึ่งในประเภทของหัวหน้าที่ลูกน้องเหนื่อยจะทำงานด้วยก็คือ คนที่ปิดกั้นทุกความเห็นและยึดเอาความคิดตัวเองถูกที่สุด หัวหน้าแบบนี้มักสร้างความอึดอัดใจให้กับคนในทีม
พฤติกรรมของหัวหน้าประเภทนี้มักมาในรูปแบบการขอความเห็นจากทีม แต่สุดท้ายก็แต่ไม่เคยใช้แนวทางที่ทีมนำเสนอไปเลย ซึ่งการกระทำแบบนี้นอกจากจะไม่ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมแล้ว ยังฉุดรั้งความก้าวหน้าของลูกทีมเพราะไม่ได้ฝึกฝนทักษะใหม่ ๆ และอาจทำให้ทีมหมดความสนใจและไม่อยากมีส่วนร่วมกับงานอีกด้วย
หัวหน้าประเภทนี้มักไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกด้านลบของตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด ความโกรธ หรือความหงุดหงิด และชอบกระจายความรู้สึกลบ ๆ เหล่านี้สู่ลูกทีมผ่านการสนทนาหรือท่าทางที่ดูไม่เป็นมิตร
พฤติกรรมเหล่านี้สร้างบรรยากาศการทำงานที่ Toxic และที่สำคัญคือเมื่อมันเกิดขึ้นจากตัวของผู้นำ ก็คล้ายกับว่าบริษัทสนับสนุนการกระทำลบ ๆ และยอมรับให้ Toxic Culture เป็นหนึ่งในวัฒนธรรมองค์กร คนส่วนใหญ่จึงอาจมองว่าถ้าหัวหน้าทำได้ พวกเขาเองก็อาจทำแบบนี้กับเพื่อนร่วมงานได้เช่นกัน
อย่างที่ได้กล่าวไปว่าการเป็นหัวหน้าไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็มีหลักการง่าย ๆ ที่หัวหน้าทุกคนสามารถนำไปยึดถือปฏิบัติเพื่อเป็นหัวหน้าที่ดีขึ้นได้อย่าง หลัก 4ม: มั่นใจ ไม่ทอดทิ้ง มุ่งมั่น และไม่เกรงกลัว
คงเห็นแล้วว่าการที่จะประสบความสำเร็จในฐานะของผู้นำ ไม่ได้พึ่งเพียงแค่ทักษะความสามารถในการทำงานเท่านั้น แต่ยังอาศัยความยืดหยุ่น (Resilience) เพื่อที่จะปรับตัวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีม และทำงานร่วมกับคนในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลัก 4ม จึงเป็นหนึ่งในแนวทางที่อาจช่วยหัวหน้าทุกคนในการปรับตัวเป็นหัวหน้าที่ดีขึ้นได้
อ้างอิง: zenbusiness, businesswire, forbes, hbr.org
Sign in to read unlimited free articles