ลองจินตนาการถึงโลกที่เราสามารถสั่งซื้อพลังงานไฟฟ้าได้แบบ On-demand ทั้งในปริมาณที่ต้องการ ได้ทุกที่ทุกเวลา แบบเดียวกับการสั่งซื้ออาหารแบบเดลิเวอรี่ดู ในอนาคตอันไม่ไกลนัก ภาพนี้อาจเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้จริงจากเทรนด์ของการเติบโตด้านพลังงานไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน
สำหรับประเทศไทยก็เริ่มมีความตื่นตัวในเรื่องของพลังงานไฟฟ้าไม่น้อยเช่นกัน ทั้งจากสภาวะโลกร้อนที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังเร่งแก้ไข และตัวนโยบายจากภาครัฐที่เปิดกว้างให้เอกชนสามารถเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานหมุนเวียนได้มากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ในช่วงหลายปีมานี้ ประเทศไทยมีผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าจำนวนมากขึ้น รวมถึงมีการพัฒนาด้านนวัตกรรมจากภาคเอกชนออกมาอย่างหลากหลาย เพื่อรองรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในยุค Digital Disruption ซึ่งก็คงไม่ใช่เรื่องเกินจริงไปนักที่จะกล่าวว่า ด้วยความเร็วระดับนี้ เราน่าจะได้เห็นบริการใหม่ๆ ด้านพลังงานแห่งอนาคตออกมาเร็วกว่าที่คาดในช่วง 2-3 ปีที่จะถึง เพื่อต่อยอดไปสู่ความฝันอย่างการเปลี่ยนรูปแบบการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าได้อย่างอิสระ
ในบทความนี้ GUNKUL SPECTRUM และ Techsauce จะพาไปดู 3 เมกะเทรนด์พลังงานที่จะเปลี่ยนภาพการใช้ไฟฟ้าไปในรูปแบบที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนกัน
ตั้งแต่ปี 1985 ญี่ปุ่นคือชาติแรกที่พัฒนาแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนเชิงพาณิชย์ที่สามารถชาร์จใหม่ได้ หรือ Rechargeable battery ที่หลายคนคุ้นเคยกันดีในอุปกรณ์ไฟฟ้าหลายอย่าง เช่น กล้องถ่ายรูป กล้องวีดีโอ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์พกพา และ ไฟฟ้าสำรองในรถยนต์ ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาทางนวัตกรรมอย่างรวดเร็วและกลายเป็นจุดขับเคลื่อนวงการอิเล็กทรอนิกส์ให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด
ปัจจุบันจึงมีการพัฒนาตัวแบตเตอรี่ให้สามารถชาร์จได้เร็วขึ้น ใช้ได้นานขึ้น มีน้ำหนักเบาลง และราคาถูก เพื่อให้ภาคเอกชนและบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งจะทำให้เราได้เห็นเทรนด์ต่างๆ เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้
Home Energy Storage
จากเทรนด์การตื่นตัวเรื่องพลังงานทดแทน ทุกวันนี้ เราจึงสามารถเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดย่อมเพื่อใช้เองได้ง่ายๆ ด้วยการติดตั้งโซลาร์รูฟท๊อปบนบ้านตัวเอง แต่ปัญหาหลักก็คือการที่เราสามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงแค่เวลากลางวัน และยังไม่สามารถกักเก็บเพื่อนำมาใช้ในเวลาที่ต้องการ อย่างเวลากลางคืนได้ ซึ่งหลายคนก็มองว่า แบตเตอรี่จะเป็นจุดเปลี่ยนที่จะทำให้ผู้ใช้ไฟสามารถพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น คล้ายกับเป็น Power bank สำรองสำหรับใช้ในบ้าน
รถยนต์ไฟฟ้าราคาถูก
แน่นอนว่าด้วยเทรนด์ประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนั่นทำให้ผู้คนหันมาสนใจรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV : Electric Vehicle กันมากขึ้น โดยค่ายรถยนต์ต่างๆ ก็มีการเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าที่พัฒนาขึ้นเองอย่างมากมาย แต่ความท้าทายอย่างหนึ่งก็คือเรื่องของ ราคา ที่หลายคนยังตั้งคำถามและมีข้อสงสัยว่าจะคุ้มค่าหรือไม่หากเทียบกับรถที่ใช้น้ำมัน
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้รถยนต์ไฟฟ้ายังราคาสูง นั่นก็คือราคาของแบตเตอรี่ ซึ่งหากมองย้อนกลับไปในปี 2010 ราคาแบตเตอรี่อยู่ที่ 36,000 บาท/kWh ขณะที่ในปี 2020 ราคาลดลงเหลือเพียงแค่ 4,119 บาท/kWh หรือลดลงกว่า 89% เลยทีเดียว และยังมีแนวโน้มว่าจะปรับลงไปอีกเรื่อยๆ ซึ่งอาจทำให้สามารถเทียบราคากับรถยนต์น้ำมันได้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้
TESLA หนึ่งในผู้นำแห่งนวัตกรรมยานยนต์ ก็เพิ่งประกาศถึงดีไซน์แบตเตอรี่ตัวใหม่ ที่จะช่วยเร่งกระบวนการผลิตให้เร็วขึ้น ซึ่งจะช่วยทำให้ราคาถูกลง แต่ทรงพลังขึ้นถึง 5 เท่า โดยสามารถจ่ายไฟได้เร็วขึ้นถึง 6 เท่าเลยทีเดียว ซึ่ง TESLA คาดว่าจะทำให้ราคารถยนต์ไฟฟ้าลงมาถูกกว่ารถใช้น้ำมัน หรือเทียบเท่ากับรถ Eco-car ที่ราคาประมาณ 755,000 บาท ภายในช่วง 3 ปีต่อจากนี้
พลังงานไฟฟ้ามีบทบาทสำคัญมากในการแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศ หรือ pm 2.5 หนึ่งในตัวอย่างที่เห็นเด่นชัดที่สุด คือ ประเทศจีนที่ประสบปัญหามลภาวะอย่างร้ายแรงในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แต่ก็ได้มีการออกมาตรการแก้ไขอย่างจริงจัง โดยหนึ่งในนโนบายเด่น คือการโละระบบขนส่งมวลชนที่เป็นของเก่าทั้งหมด และเปลี่ยนมาใช้ รถเมล์ไฟฟ้า รถยนต์ไฟฟ้า และ สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าแทน พร้อมกับออกมาตรการจูงใจด้านราคาและนโยบายด้านภาษีควบคู่ โดยเป้าหมายของจีนนั้น คือการเลิกจำหน่ายรถยนต์ที่ใช้น้ำมันทั่วประเทศให้ได้ในปี 2025
หลังจากมีการออกนโยบายนี้ ก็ทำให้จีนพิชิตมลพิษได้จริง ขณะที่ในประเทศไทยปัจจุบันมีรถยนต์ที่จดทะเบียนอยู่จำนวน 40 ล้านคัน หากเราสามารถออกนโยบายที่สนับสนุนให้ผู้ใช้รถในประเทศไทยเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้าได้ ก็อาจจะเป็นตัวแปรสำคัญที่ช่วยแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมและสร้างอากาศที่บริสุทธิ์ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นให้กับประชาชน
ด้วยแนวคิด Energy for Everyone ที่ต้องการให้ประชาชนสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด เช่น Solar Rooftop ที่ทั้งใช้เอง และสามารถขายไฟส่วนเกินระหว่างกันเองได้ จึงเกิดระบบ Peer-to-peer Energy Trading เปิดให้เกิดการซื้อขายไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนผ่านระบบอินเตอร์เนต ระหว่างผู้ใช้ไฟฟ้า (consumers) ผู้ขายไฟฟ้า (producers) และผู้ที่เป็นทั้งผู้ซื้อไฟฟ้าและผู้ขาย (prosumers) โดยสามารถกำหนดต้นทุนค่าไฟฟ้าตามความพึงพอใจ และแลกเปลี่ยนกันได้อย่างเสรี
ในอดีตตลาดไฟฟ้าจะบริหารจัดการเป็นแบบ Bundle ในมัดเดียวเป็นเส้นตรงจากต้นทาง คือ ผู้ผลิตไปสู่ผู้ใช้ แต่การที่จะส่งเสริมให้ประชาชนซื้อขายได้จึงต้อง ‘Un-bundle’ หรือกระจายออกเพื่อให้คนทั่วไปสามารถบริหารจัดการแหล่งพลังงานเองได้ เราจึงได้เห็นการใช้เทคโนโลยีอย่าง blockchain มาเป็นตัวกลางการกระจายด้วย
Peer-to-peer Energy Trading คือการทำให้พลังงานเข้าใกล้ความเป็น Commodity หรือความเป็นสินค้าปลีกที่ซื้อขายได้อิสระ ซึ่งจะนำไปสู่โครงสร้างราคาไฟฟ้าใหม่บน Demand - Supply ที่แท้จริง ทำให้มีความยืดหยุ่นกว่าเดิม และยังเปิดโอกาสให้เกิดธุรกิจด้านพลังงานอื่นๆ เข้ามาช่วยทำให้การซื้อขายยิ่งมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และรวดเร็วขึ้นถึงขั้น Real-time เลยทีเดียว
ตัวอย่างหนึ่งจากประเทศสิงคโปร์ คือ SOLARSHARE แพลตฟอร์มซื้อขายพลังงาน ที่อนุญาตให้ผู้ใช้ตั้งราคาซื้อขายได้ตลอดเวลา โดยอ้างอิงจากค่ามิเตอร์ไฟฟ้าทุกๆ 30 นาที และส่งคำสั่งซื้อขายไปไว้ในพื้นที่กลาง รอให้ระบบแมตช์ชิ่งกัน ซึ่งความพิเศษของ Peer-to-peer Energy Trading จะไม่ได้อยู่ที่มูลค่าตัวเงินที่อยู่ในตลาดซื้อขายเท่านั้นแต่นี่คือแนวคิดที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ไม่จำกัดการมีส่วนร่วมไม่ว่าคอมมูนิตี้ผู้ใช้ไฟฟ้านั้นจะเล็กแค่ไหน สามารถใช้งานจริงได้เช่นทั้งในระดับชุมชนหรือหมู่บ้านที่เป็น Microgrid เท่ากับเป็นการกระจายอำนาจให้กับทุกคนอย่างแท้จริง
หากมองมาในมุมของภาคธุรกิจ ที่มักเจอกับต้นทุนมหาศาลจากค่าไฟฟ้าทุกเดือน จึงทำให้ปัจจุบันเกิดธุรกิจบริการบริหารจัดการพลังงานอย่างครบวงจร หรือ Energy-as-a-Service (EaaS) มาเป็นตัวช่วยทำให้ทุกคนสามารถประหยัดค่าไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยบริการนี้จะช่วยจัดการพลังงานภายในบ้านอย่าง Smart home device ไปจนถึงการบริหารจัดการพลังงานในระดับประเทศหรือภูมิภาคอย่าง Microgrid ครอบคลุมตั้งแต่
ข้อดีมากๆ ของบริการรูปแบบนี้ คือ การชำระค่าบริการแบบระบบ Subscription model (ระบบสมาชิก) หรือ Pay for what you consume (จ่ายเท่าที่ใช้) ซึ่งแน่นอนว่าจะช่วยให้ทุกองค์กรสามารถคุมค่าใช้จ่ายได้ด้วยตัวเอง และสามารถลดค่าใช้จ่ายช่วง Peak-time ได้กว่า 3-10%
นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจ startup เกิดขึ้นจากธุรกิจนี้มากมาย เช่น BeeBryte startup สัญชาติฝรั่งเศสที่นำเทคโนโลยี AI มาใช้คาดคะเนความร้อนและความเย็น และช่วยสร้างอุณหภูมิที่เหมาะสมกับผู้ใช้ในอาคาร ทำให้สามารถลดค่าไฟลงได้ถึง 40% หรือ ENGIE จากสหรัฐอเมริกา ที่ทำบริการ Resource Management Program ด้วยการดึงข้อมูลจากมิเตอร์ไฟฟ้ามาประมวลผล และช่วยจัดการพลังงาน โดยตั้งแต่ปี 2012 จนถึงปี 2017 สามารถช่วยลูกค้าประหยัดค่าไฟไปได้ถึง 3.2 พันล้านบาท
ปัจจุบันในประเทศไทยเองได้มีการเสนอบริการ EaaS ในบางรูปแบบแล้ว เช่น โครงการ Private PPA (Power Purchase Agreement) โดยผู้ประกอบการเป็นผู้ลงทุนเข้าไปติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์แล้วเก็บค่าไฟจากผู้บริโภคโดยตรงแบบ Pay for what you consume ในราคาที่ถูกกว่า หรือรูปแบบธุรกิจ EaaS อื่นๆ ที่ช่วยลดภาระค่าไฟ ลดภาระการใช้งานไฟฟ้าให้กับธุรกิจต่างๆ หรือเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานไฟฟ้าให้คุ้มค่ายิ่งขึ้น
เมื่อมองจากเมกะเทรนด์ทั้ง 3 แล้ว เป็นที่น่าติดตามต่อไปมากๆ ว่าโลกที่พลังงานจะถูกแลกเปลี่ยนอย่างอิสระนั้นคงจะมาอีกไม่ไกล และการมีส่วนร่วมของ Stakeholder จากหลายภาคส่วนเพื่อทำให้เกิดภาพนั้นได้จริงคงไม่ใช่แค่องค์กรใหญ่เท่านั้นแต่คือส่วนรวมจากทั้งเจ้าของเทคโนโลยี startup และประชาชนผู้ใช้ไฟ
สำหรับท่านที่สนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีพลังงานและเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ หรือสนใจมีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมด้านพลังงาน สามารถเข้าไปดาวน์โหลด MEGATREND ที่สรุปอย่างละเอียดโดย GUNKUL SPECTRUM หรือ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.gunkulspectrum.co
บทความนี้เป็น Advertorial
Sign in to read unlimited free articles